“ปตท.สผ.” พบก๊าซธรรมชาติเพิ่มโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี ชี้มีโอกาสพัฒนาร่วมกับแหล่งใกล้เคียง นอกชายฝั่งรัฐซาราวัก สร้างการเติบโตของบริษัทในระยะยาว

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่าบริษัท พีทีทีอีพี เอชเค ออฟชอร์ จำกัด หรือ พีทีทีอีพี เอชเคโอ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. ได้เริ่มขุดเจาะหลุมสำรวจปาปริก้า-1 (Paprika-1) ในโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 โดยได้ค้นพบก๊าซธรรมชาติในชั้นหินตะกอนที่ระดับความลึก 3,348 เมตร 

ทั้งนี้ นับเป็นการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งที่ 2 ในโครงการดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้ ปตท.สผ. ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ บริษัท คูเวต ปิโตรเลียมฯ และปิโตรนาส ชาริกาลี ได้ค้นพบแหล่งลัง เลอบาห์ ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในโครงการเดียวกัน 

สำหรับหลุมสำรวจ ปาปริก้า-1 เป็นหลุมสำรวจแรกของ ปตท.สผ. ในปีนี้ในมาเลเซีย โดยได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีคุณภาพสูงซึ่งมีโอกาสที่จะสามารถพัฒนาร่วมกับแหล่งใกล้เคียง ทางตอนเหนือของนอกชายฝั่งรัฐซาราวัก (Northern Sarawak Clastic Hub) 

ปตท.สผ. พบก๊าซธรรมชาติเพิ่มโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี
ปตท.สผ. พบก๊าซธรรมชาติเพิ่มโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี

ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือของกลุ่มผู้ร่วมทุน รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของโครงสร้างทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาปิโตรเลียมแหล่งใหม่เพิ่มเติมในแปลง 

โครงการมาเลเซีย เอสเค410บี อยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองมีรี รัฐซาราวัก ประมาณ 90 กิโลเมตร และอยู่ติดกับโครงการมาเลเซีย เอสเค417 ซึ่ง ปตท.สผ. ได้สำรวจพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งในอนาคตสามารถใช้อุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ ร่วมกันได้ 

สำหรับผู้ร่วมทุนโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี  ประกอบด้วย พีทีทีอีพี เอชเคโอ ถือสัดส่วนการลงทุน 42.5% และเป็นผู้ดำเนินการ บริษัท คูเวต ปิโตรเลียมฯ มาเลเซีย (เอสเค-410 บี) จำกัด (KUFPEC) 42.5% และบริษัท ปิโตรนาส ชาริกาลี จำกัด (PCSB) 15%

นอกจากโครงการมาเลเซีย เอสเค410บี ปตท.สผ. ยังมีการลงทุนในประเทศมาเลเซียอีกหลายโครงการ ได้แก่ เอสเค405บี, เอสเค438, เอสเค314เอ, เอสเค417, พีเอ็ม407, พีเอ็ม415 และ เอสบี412 ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระยะสำรวจ และมีโครงการที่อยู่ในระยะผลิตได้แก่ แปลง เค, เอสเค309, เอสเค311, แหล่งโรตัน-บูลูห์ ในแปลง เอช และโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย กับพีซี เจดีเอ จำกัด

Source : ฐานเศรษฐกิจ

กรมเชื้อฯ เปิดชื่อ 12 ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม วางหลักประกันรื้อถอนแล้ว ชมแสดงออกถึงความรับผิดชอบ-ปฏิบัติตามกม.ไทย

บริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย พร้อมใจวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 80/1 และ 80/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า การวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบของผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ในการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายและหน้าที่รับผิดชอบการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม รวมทั้งทำให้รัฐมีความมั่นใจว่าผู้รับสัมปทานจะไม่ละทิ้งหน้าที่ตามกฎหมายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งภายหลังสิ้นสุดการใช้งาน

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้กำกับดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศให้ปฏิบัติตามกฎหมายปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งในเรื่องเกี่ยวกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมดังกล่าว ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้รับสัมปทานในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559

โดยที่ผ่านมามีผู้รับสัมปทาน จำนวน 12 ราย สำหรับแปลงสำรวจ จำนวน 8 แปลง ที่ได้ดำเนินการในการยื่นแผนงานการรื้อถอน และวางหลักประกันการรื้อถอนตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างถูกต้อง ประกอบด้วย

  1. ซิโน-ยู.เอส. ปิโตรเลียม อิงค์
  2. Central Place Company Ltd.
  3. Thai Offshore Petroleum Ltd.
  4. Sino Thai Energy Ltd.
  5. เอ็กซอน โมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์
  6. บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด
  7. บริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่ลแนล จำกัด
  8. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  9. เมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด
  10. เมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (อีแอนด์พี) ลิมิเต็ด
  11. บริษัท บุษราคัม มโนรา จำกัด
  12. บริษัท Tap Energy (Thailand) Pty Ltd.

ทั้งนี้ การวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมนอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศว่าผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมจะสามารถดำเนินการรื้อถอน ฟื้นฟู ปรับปรุงสภาพพื้นที่ และจัดการสิ่งติดตั้งในการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่เลิกใช้งานแล้วอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายที่จะให้พื้นที่เหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ยังเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้รับสัมปทานในการดำเนินธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Source : มติชนออนไลน์

เอเอฟพี – บริษัทปิโตรนาสของมาเลเซียและบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ของไทย ประกาศวานนี้ (29) ว่า พวกเขาจะถอนตัวจากโครงการแหล่งก๊าซเยตากุน (Yetagun) ในพม่า

บริษัทพลังงานระดับโลกต่างถอนตัวออกจากพม่า ที่รวมถึงบริษัทเชฟรอน และโททาลเอเนอร์ยีส์ หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อปีก่อนและมีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ

กลุ่มสังเกตการณ์ท้องถิ่นระบุว่า มีพลเรือนเสียชีวิตมากกว่า 1,800 คน ระหว่างการปราบปรามของทหาร และมีผู้ถูกจับกุมตัวมากกว่า 13,000 คน 

บริษัทชาริกาลี ที่เป็นบริษัทย่อยของปิโตรนาส ถือหุ้นราว 41% ในโครงการเยตากุน ขณะที่บริษัท ปตท.สผ. ถืออยู่ 19.31%

“การถอนตัวเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการพอร์ตโฟลิโอของบริษัทเพื่อมุ่งเน้นไปยังโครงการที่สนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานสำหรับประเทศ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท.สผ.ระบุ

ปตท.สผ. ระบุว่า สัดส่วนหุ้นที่บริษัทถือครองอยู่จะได้รับการจัดสรรอย่างเหมาะสมให้ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่โดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะมีผลหลังจากได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบ

ด้านบริษัทปิโตรนาส ที่ดำเนินการโครงการมาตั้งแต่ปี 2546 ระบุในคำแถลงว่าการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการทบทวนและเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่เร็วขึ้น

แหล่งก๊าซเยตากุนในอ่าวเมาะตะมะผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท โดยบริษัทสำรวจ เจเอ็กซ์ นิปปอน ออยล์ แอนด์ ก๊าซ ที่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเอเนออส จากญี่ปุ่น และบรษัทเมียนมาร์ ออยล์ แอนด์ ก๊าซ (MOGE) ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลทหารพม่า ถือหุ้นที่เหลือในโครงการนี้

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ ปตท.สผ. ครั้งนี้ไม่ใช่การยุติการมีส่วนร่วมกับพม่า

ในเดือน มี.ค. บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่าบริษัทจะเข้าควบคุมการดำเนินงานของแหล่งก๊าซยาดานา ที่เป็นแหล่งก๊าซสำคัญของพม่า หลังการถอนตัวของบริษัทเชฟรอน และบริษัทโททาลเอเนอร์ยีส์ ในเดือน ม.ค.

บริษัทสัญชาติอเมริกันและฝรั่งเศสระบุว่าพวกเขาจะถอนตัวจากพม่า หลังแรงกดดันจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ตัดความสัมพันธ์ทางการเงินกับรัฐบาลทหารพม่าเพิ่มสูงขึ้น

แหล่งก๊าซยาดานาในทะเลอันดามันจ่ายกระแสไฟฟ้าให้พม่าและไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการก๊าซจากหลายโครงการที่ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่า เป็นแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของเนปีดอ ที่สร้างรายได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี.

Source : MGROnline

ปตท.สผ. เข้าสู่การเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) โครงการจี 1/61 (แหล่งเอราวัณ, ปลาทอง, สตูล, ฟูนาน) และโครงการจี 2/61 (แหล่งบงกช) ภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต พร้อมเร่งดำเนินงานตามแผนเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติในจี1/61ให้ได้ตามสัญญาที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันภายในเม.ย.67 จากอัตราการผลิตในโครงการจี 1/61 ที่ ปตท.สผ. รับช่วงต่อจากผู้รับสัมปทานเดิมผลิตอยู่ที่ 376 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานของคนไทย รวมถึงสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ 

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)( PTTEP)หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปตท.สผ. ได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการในโครงการจี 1/61 และโครงการจี 2/61 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันแรกของการเริ่มสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract หรือ PSC) ขณะที่ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการในแหล่งบงกช หรือโครงการจี 2/61 อยู่แล้ว โดยในส่วนของการเปลี่ยนผ่านผู้ดำเนินการโครงการจี 1/61 นั้น ปตท.สผ. ได้ตั้งทีมปฏิบัติการ (วอร์รูม) ที่ ปตท.สผ. สำนักงานใหญ่ และที่แท่นผลิตก๊าซฯ รวมทั้งประสานงานกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และผู้ดำเนินการรายเดิมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านการผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย และสามารถดำเนินการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง 

“ภารกิจสำคัญที่ ปตท.สผ. ตระหนักและมุ่งมั่นดำเนินการมาโดยตลอดก็คือ การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ การเข้าเป็นผู้ดำเนินการแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ทั้ง 2 แหล่ง ซึ่งเป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ทางพลังงาน ที่มีศักยภาพการผลิตก๊าซฯ รวมกันถึง 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือประมาณร้อยละ 60 ของประเทศ จึงถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของ ปตท.สผ. ในฐานะที่เป็นบริษัทพลังงานของไทย ซึ่งเราจะมุ่งมั่นดำเนินภารกิจด้านพลังงานเพื่อประเทศและคนไทยอย่างเต็มความสามารถ” นายมนตรีกล่าว

ในการดำเนินการผลิตก๊าซธรรมชาติของโครงการจี 1/61 นั้น ถึงแม้จะเป็นการเปลี่ยนผ่านผู้ดำเนินการ (Operatorship Transfer) แต่บุคลากรส่วนใหญ่ยังคงเป็นบุคลากรชุดเดิมที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งได้เข้ามาร่วมปฏิบัติภารกิจเพื่อเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศร่วมกัน 

สำหรับอัตราการผลิตในโครงการจี 1/61 ที่ ปตท.สผ. รับช่วงต่อจากผู้รับสัมปทานเดิมผลิตไว้ในวันสิ้นสุดสัมปทานอยู่ที่ 376 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาแหล่งก๊าซนี้ไม่มีการพัฒนาและเจาะหลุมผลิตเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อัตราการผลิตจะลดลงเป็นลำดับต่อไปได้อีก ประกอบกับการที่ ปตท.สผ. ไม่ได้รับความยินยอมให้เข้าพื้นที่โครงการจี 1/61 เพื่อเตรียมการพัฒนาและเจาะหลุมผลิตล่วงหน้าได้ตามแผนงาน แม้ภายหลังจะสามารถเข้าพื้นที่ได้ แต่ถือว่าล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 2 ปี ปตท.สผ. จึงจำเป็นต้องผลิตตามศักยภาพที่คงเหลือ ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงความปลอดภัยของระบบการผลิตก๊าซฯ ทั้งหมด ทำให้อัตราการผลิตในช่วงแรกจะอยู่ที่ประมาณ 250-300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 

Xอย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ ปตท.สผ. จะดำเนินงานตามแผนเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตของโครงการจี 1/61 มากขึ้นตามลำดับ ให้ได้ถึง 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะเร่งติดตั้งแท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform) จำนวน 8 แท่น วางท่อใต้ทะเล เจาะหลุมผลิตอีกประมาณ 183 หลุม และจัดหาแท่นเจาะเพิ่มอีก 2 แท่น เพื่อเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติมจากแผนพัฒนาเดิมที่วางไว้อีก 52 หลุม รวมทั้ง ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์การผลิตและระบบต่าง ๆ วางแผนการบำรุงรักษา เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความพร้อมและปลอดภัยสำหรับการผลิต  

ส่วนแผนการดำเนินงานของโครงการจี 2/61 ซึ่ง ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการอยู่แล้วนั้น สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องตามแผนงาน โดยผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชได้ในอัตรา 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

สำหรับแผนรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในช่วงที่โครงการจี 1/61 อยู่ระหว่างการเพิ่มกำลังการผลิตนั้น ปตท.สผ. ได้เตรียมแผนเพื่อเพิ่มการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งบงกชขึ้นอีกประมาณ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากโครงการอาทิตย์เพิ่มเติมอีกประมาณ 60 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJDA) เพิ่มขึ้นประมาณ 30-50 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รวมเป็นปริมาณการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 200-250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อประชาชนและประเทศ

Source : MGROnline

ตั้งวอร์รูม 10 วันทำงาน​ตลอด 24 ชม.เกาะติดช่วงเปลี่ยนผ่านสัมปทานแหล่งเอราวัณสู่ระบบแบ่งปันผลผลิตตลอด24 ชม.ตั้งแต่ 23 เม.ย.-2 พ.ค. 2565 เพื่อให้การผลิตก๊าซฯไม่สะดุด ด้าน ปตท.สผ.โอเปอเรเตอร์รายใหม่ชี้ผลิตก๊าซไม่ได้ปริมาณ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตามตามที่ตกลงไว้กับรัฐ ต้องเพิ่มการผลิต ก๊าซฯจากแหล่งบงกชและอาทิตย์มาเสริม รวมทั้งให้ปตท.นำเข้า LNG มาช่วยทดแทนอีกทาง