News & Update

กรมเชื้อฯ เปิดชื่อ 12 ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม วางหลักประกันรื้อถอนแล้ว

กรมเชื้อฯ เปิดชื่อ 12 ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม วางหลักประกันรื้อถอนแล้ว ชมแสดงออกถึงความรับผิดชอบ-ปฏิบัติตามกม.ไทย

บริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย พร้อมใจวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมต่อกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 80/1 และ 80/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า การวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบของผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ในการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายและหน้าที่รับผิดชอบการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม รวมทั้งทำให้รัฐมีความมั่นใจว่าผู้รับสัมปทานจะไม่ละทิ้งหน้าที่ตามกฎหมายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งภายหลังสิ้นสุดการใช้งาน

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้กำกับดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศให้ปฏิบัติตามกฎหมายปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งในเรื่องเกี่ยวกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมดังกล่าว ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้รับสัมปทานในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559

โดยที่ผ่านมามีผู้รับสัมปทาน จำนวน 12 ราย สำหรับแปลงสำรวจ จำนวน 8 แปลง ที่ได้ดำเนินการในการยื่นแผนงานการรื้อถอน และวางหลักประกันการรื้อถอนตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างถูกต้อง ประกอบด้วย

  1. ซิโน-ยู.เอส. ปิโตรเลียม อิงค์
  2. Central Place Company Ltd.
  3. Thai Offshore Petroleum Ltd.
  4. Sino Thai Energy Ltd.
  5. เอ็กซอน โมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์
  6. บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด
  7. บริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่ลแนล จำกัด
  8. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  9. เมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด
  10. เมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (อีแอนด์พี) ลิมิเต็ด
  11. บริษัท บุษราคัม มโนรา จำกัด
  12. บริษัท Tap Energy (Thailand) Pty Ltd.

ทั้งนี้ การวางหลักประกันการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมนอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศว่าผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมจะสามารถดำเนินการรื้อถอน ฟื้นฟู ปรับปรุงสภาพพื้นที่ และจัดการสิ่งติดตั้งในการประกอบกิจการปิโตรเลียมที่เลิกใช้งานแล้วอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายที่จะให้พื้นที่เหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ยังเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้รับสัมปทานในการดำเนินธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Source : มติชนออนไลน์

เนื้อหาน่าสนใจ :  ไฮโดรเจน พลังงานสะอาดทางเลือกใหม่ เร่งไทยสู่เป้าหมาย Net Zero

การจัดหา “เงินทุนสีเขียว” สําหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ใน COP29

ความต้องการเงินทุนพลังงานสะอาดสําหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ได้รับการย้ําก่อน COP29 และเรื่องราวด้านพลังงานต่างๆที่น่าสนใจ 1. มุ่งเน้นไปที่การเงินสีเขียวสําหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ Fatih Birol ผู้อํานวยการบริหารของสํานักงานพลังงานระหว่างประเทศได้เน้นย้ําถึง "ความสําคัญของการส่งเสริมการจัดหาเงินทุนด้านพลังงานสะอาดในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่" และเขามองว่าเป็นหนึ่งในลําดับความสําคัญสําหรับวาระการประชุมในบากู…

สรุปสถานการณ์ “ตลาดคาร์บอนเครดิต” ทั่วโลก

ตลาดคาร์บอนทั่วโลกเติบโตรวดเร็ว แต่ปี 2022 เริ่มชะลอตัวลง จากกลไกตลาด ด้านอุปทาน (Supply) การรับรองเครดิตใหม่และด้านอุปสงค์ (Demand) ของผู้ใช้เครดิตที่ปรับลดลง…

“ดีป้า”ส่งนวัตกรรมปั้น36″สมาร์ทซิตี้” สู่เป้าหมายเมืองอัจฉริยะ 105 แห่ง

ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ”ว่า ดีป้า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมให้เกิดสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างฉลาด…

Leave a Reply