News & Update

‘ปิโตรนาส-ปตท.สผ.’ ถอนตัวจากโครงการแหล่งก๊าซเยตากุนในพม่า

เอเอฟพี – บริษัทปิโตรนาสของมาเลเซียและบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ของไทย ประกาศวานนี้ (29) ว่า พวกเขาจะถอนตัวจากโครงการแหล่งก๊าซเยตากุน (Yetagun) ในพม่า

บริษัทพลังงานระดับโลกต่างถอนตัวออกจากพม่า ที่รวมถึงบริษัทเชฟรอน และโททาลเอเนอร์ยีส์ หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อปีก่อนและมีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ

กลุ่มสังเกตการณ์ท้องถิ่นระบุว่า มีพลเรือนเสียชีวิตมากกว่า 1,800 คน ระหว่างการปราบปรามของทหาร และมีผู้ถูกจับกุมตัวมากกว่า 13,000 คน 

บริษัทชาริกาลี ที่เป็นบริษัทย่อยของปิโตรนาส ถือหุ้นราว 41% ในโครงการเยตากุน ขณะที่บริษัท ปตท.สผ. ถืออยู่ 19.31%

“การถอนตัวเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการพอร์ตโฟลิโอของบริษัทเพื่อมุ่งเน้นไปยังโครงการที่สนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานสำหรับประเทศ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปตท.สผ.ระบุ

ปตท.สผ. ระบุว่า สัดส่วนหุ้นที่บริษัทถือครองอยู่จะได้รับการจัดสรรอย่างเหมาะสมให้ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่โดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะมีผลหลังจากได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบ

ด้านบริษัทปิโตรนาส ที่ดำเนินการโครงการมาตั้งแต่ปี 2546 ระบุในคำแถลงว่าการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการทบทวนและเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานที่เร็วขึ้น

แหล่งก๊าซเยตากุนในอ่าวเมาะตะมะผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท โดยบริษัทสำรวจ เจเอ็กซ์ นิปปอน ออยล์ แอนด์ ก๊าซ ที่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทเอเนออส จากญี่ปุ่น และบรษัทเมียนมาร์ ออยล์ แอนด์ ก๊าซ (MOGE) ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลทหารพม่า ถือหุ้นที่เหลือในโครงการนี้

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ ปตท.สผ. ครั้งนี้ไม่ใช่การยุติการมีส่วนร่วมกับพม่า

ในเดือน มี.ค. บริษัท ปตท.สผ. กล่าวว่าบริษัทจะเข้าควบคุมการดำเนินงานของแหล่งก๊าซยาดานา ที่เป็นแหล่งก๊าซสำคัญของพม่า หลังการถอนตัวของบริษัทเชฟรอน และบริษัทโททาลเอเนอร์ยีส์ ในเดือน ม.ค.

บริษัทสัญชาติอเมริกันและฝรั่งเศสระบุว่าพวกเขาจะถอนตัวจากพม่า หลังแรงกดดันจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ ตัดความสัมพันธ์ทางการเงินกับรัฐบาลทหารพม่าเพิ่มสูงขึ้น

แหล่งก๊าซยาดานาในทะเลอันดามันจ่ายกระแสไฟฟ้าให้พม่าและไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการก๊าซจากหลายโครงการที่ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่า เป็นแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของเนปีดอ ที่สร้างรายได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี.

Source : MGROnline

ม.วลัยลักษณ์ดัน‘กระบี่’ ท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์วลัยลักษณ์ (มวล.) และ คณะ กำลังร่วมกันขับเคลื่อนแผนงานวิจัย เรื่อง“การพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดกระบี่และพื้นที่เชื่อมโยง” ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว…

กยท. ร่วม ธกส. ผุดโฉนดต้นยางพารา ค้ำประกันเงินกู้เคลื่อน Carbon Credit

กระทรวงเกษตรฯ ผนึกกำลัง ธ.ก.ส. คลอดโฉนดต้นยางพารา แปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ต่อยอดอาชีพชาวสวนยางได้อย่างยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนโครงการ Carbon Credit ในสวนยางพารา…

ทิศทางนโยบายพลังงาน​จาก​ ​4​ พรรค​ หลังเปิดตัวทีมเศรษฐกิจ

4​ พรรคการเมืองเปิดตัวทีมเศรษฐกิจ​ให้เห็นโฉมหน้ากันแล้ว​ทั้ง​ เพื่อไทย​ ก้าวไกล​ รวมไทยสร้างชาติ​ และพลังประชารัฐ​ ถ้าจับประเด็นเฉพาะเรื่องพลังงาน​ มี​ 3​ รายชื่อที่มีประสบการณ์​ในการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน​…

Leave a Reply