เราคงคุ้นเคยกับฉลากรักษ์โลกกันมาหลายแบบ ล่าสุดทาง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ก็ได้มีการเผยโฉม ฉลากรักษ์โลก สีเขียว EPD (Environmental Product Declaration) ออกมา ซึ่งเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 มาตรฐาน ISO 14025 ซึ่งมีความสำคัญสำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นเครื่องหมายยืนยันการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานที่ได้รับรองอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และตรวจสอบได้

ความเป็นมาขอฉลากเขียว
ฉลากเขียว เป็นโครงการระดับประเทศ ริเริ่มขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยความร่วมมือขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) และหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนราชการ ภาคเอกชนและองค์กรกลางดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโครงการฉลากเขียว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งของ กระทรวงอุตสาหกรรมโดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และมีสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการร่วมกัน
ฉลากเขียวมีภารกิจที่ส าคัญ 2 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการประเภท ต่างๆ รวมถึงให้การรับรองฉลากเขียวเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าและบริการที่คำนึงถึงการลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างทางเลือกและเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงสินค้าและบริการฉลากเขียว และ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านการเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการรับรองฉลากเขียวนี้ดำเนินการภายใต้หลักการ และข้อปฏิบัติของฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO 14024 Environmental Labels and Declarations—Type 1 Environmental Labelling ซึ่งเป็นภาคสมัครใจ และให้การรับรองโดยบุคคลที่ 3 มอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มี คุณสมบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมตรงตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฏจักรชีวิต เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการป้องกันและรักษาสภาพแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
โครงการนี้ยังสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ 21 ซึ่งเป็นแผนแม่บทโลกที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุม สหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Earth Summit) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 สำหรับการดำเนินงานที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานรับรองและงานพัฒนาข้อกำหนดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยมติคณะกรรมการโครงการฉลากเขียว ครั้งที่ 25-1/2551 จึงเห็นชอบให้ผู้อำนวยการสถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฉลากเขียว (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการนโยบายและบริหารงานฉลากเขียว) ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำในการนำนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์ในการดำเนินงานของฉลากเขียวฯ ไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงติดตามความก้าวหน้าในการบริหาร จัดการงานรับรองฉลากเขียว เพื่อรองรับความต้องการของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้สอดรับกับนโยบายจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐที่กำหนดให้มียุทธศาสตร์การสร้างตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรัฐเป็นผู้นำในการบริโภค ซึ่งมีกรมควบคุมมลพิษภายใต้กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนงานและกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว
ประโยชน์ของฉลากเขียว EPD
- รายงานข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้
- ช่วยให้ผู้บริโภคทราบส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน
- ช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อได้
- กระตุ้นศักยภาพการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ผ่านกลไกทางการตลาด
- ช่วยเพิ่มคะแนนในการขอมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design)
ขั้นตอนการขอรับรองฉลากเขียว
สำหรับขั้นตอนการขอรับรองฉลากเขียวนั้นหลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอนด้วยกัน
- สมัคร โดยดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://www.tei.or.th/greenlabel/name-list.html
- ยื่นเอกสารการสมัคร และชำระค่าธรรมเนียมการตรวจสอบเอกสาร และรับคำขอ
- การตรวจประเมินสถานประกอบการ
- การคิดค่าธรรมเนียมฉลากเขียว
- การตรวจติดตาม

สำหรับประโยชน์ของฉลาก EPD ที่นอกเหนือจากการรายงานข้อมูลต่างๆ ครบถ้วนและตรวจสอบได้แล้ว เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบแล้วฉลาก EPD ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นศักยภาพการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกทางการตลาด และช่วยเพิ่มคะแนนในการขอรับรองมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design)
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย