Highlight & Knowledge

รู้จัก Urban-Act โครงการเปลี่ยนไทยสู่เมืองคาร์บอนต่ำ

วันนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับโครงการใหม่ล่าสุดที่เพิ่งมีการทำข้อตกลง เพื่อเปลี่ยนเมืองไทยสู่เมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจาก องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) องค์การเมืองและรัฐบาลท้องถิ่นแห่งเอเชียแปซิฟิก (UCLG ASPAC) มหาวิทยาลัยชตุทการ์ท และมหาวิทยาลัยดอร์ทมุนท์ ประเทศเยอรมนี และ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (สป.มท.) กระทรวงมหาดไทย ที่จะเป็นหน่วยงานหลักในดำเนินการโครงการ Urban-Act ในประเทศไทย

Urban-Act เป็นโครงการในระดับภูมิภาคที่ดำเนินการใน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ประเทศพันธมิตรเหล่านี้มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) และนโยบายเมืองระดับชาติของแต่ละประเทศพันธมิตร ปัจจุบันยังคงมีอุปสรรคและความท้าทายมากมายในการเปลี่ยนผ่านการจัดการเมือง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศที่จำกัด และทักษะในการหาแนวทางแก้ไขไม่เพียงพอ การเตรียมการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงิน

ที่มาของโครงการ Urban-Act

โครงการ Urban-Act หรือ โครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำและการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาเมืองแบบคาร์บอนต่ำและฟื้นตัวได้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย

เป้าหมายหลักของโครงการ Urban-Act

  1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งเน้นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเมือง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. เพิ่มความสามารถในการปรับตัว เสริมสร้างความสามารถของเมืองในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  3. ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน สนับสนุนการพัฒนาเมืองที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจอย่างสมดุล

โครงการ Urban-Act ในประเทศไทย

ในประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (สป.มท.) กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินงานหลักในบ้านเรา ซึ่งได้มีการลงนามกับทาง GIZ เพื่อร่วมดำเนินการโครงการ Urban-Act โดยจะเริ่มที่ 3 จังหวัดก่อน ประกอบไปด้วย เชียงใหม่ ภูเก็ต และขอนแก่น ซึ่งจะมีการดูแลปรับปรุงในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เข้ากับแผนและงบประมาณที่มีอยู่ของจังหวัด รวมถึงการกำหนดมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับปรุลในเรื่องของสภาพแวดล้อมในเมือง อาคาร บ้านเรือนต่างๆ

สาเหตุที่มีการเริ่มดำเนินโครงการ Urban-Act ในไทย เป็นเพราะว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกนั่นเอง หากไม่รีบริเริ่มโครงการ อาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้ในระยะทาง สำหรับโครงการนี้ได้รับงบประมาณจากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) มีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2570 

แนวทางการดำเนินงานโครงการ Urban-Act

  1. การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ: ให้การสนับสนุนการวางนโยบาย กฎระเบียบ และบริการที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายความยั่งยืนในการพัฒนาเมือง
  2. การถ่ายทอดความรู้และพัฒนาขีดความสามารถ: มุ่งเน้นการเพิ่มพูนความสามารถของผู้มีอำนาจตัดสินใจและเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค ผ่านการถ่ายทอดความรู้และการฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตของเมืองคาร์บอนต่ำและฟื้นตัวได้
  3. การบูรณาการในระดับท้องถิ่น: ร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐในระดับท้องถิ่นในการสนับสนุนเมืองนำร่อง 12 เมืองใน 5 ประเทศพันธมิตร เพื่อบูรณาการหลักฐานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับแผนพัฒนาเชิงพื้นที่และเมืองและการวางผังเมือง รวมทั้งการจัดทำงบประมาณท้องถิ่น
  4. การวางมาตรการเป้าหมาย: ส่งเสริมเมืองพันธมิตรในการระบุมาตรการที่มีผลกระทบสูงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเสริมสร้างความสามารถในการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ โดยเน้นที่การคมนาคมในเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางของผู้คน ยานพาหนะ และขนส่งมวลชน การสร้างพื้นที่สีสีฟ้า-เขียว, อาคารสีเขียว และเศรษฐกิจหมุนเวียน
  5. การใช้ประโยชน์จากกลไกการสนับสนุนทางการเงิน: สนับสนุนการบริหารเมืองให้ใช้กลไกสนับสนุนทางการเงินสำหรับการเตรียมโครงการและการดำเนินการตามมาตรการด้านสภาพอากาศในเมือง
  6. ความร่วมมือระหว่างประเทศ การสนับสนุนระดับภูมิภาค และการแบ่งปันความรู้: การมีส่วนร่วมกับ UNESCAP และ UCLG ASPAC ในระดับเอเชียแปซิฟิก อำนวยความสะดวกในการสนับสนุนระดับภูมิภาคผ่านการเจรจาระหว่างรัฐบาลและระหว่างเมือง รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้เกิดการแบ่งปันความรู้ การยกระดับขนายผลลัพธ์ของโครงการ และการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคนิคดอร์ทมุนด์ และมหาวิทยาลัยสตุตการ์ต พร้อมด้วยพันธมิตรด้านการดำเนินการระดับประเทศจากห้าประเทศพันธมิตร

หน่วยงานร่วมดำเนินงาน

  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (MNR) – จีน
  • กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (MEE) – จีน
  • กระทรวงการวางแผนพัฒนาแห่งชาติ (BAPPENAS) – อินโดนีเซีย
  • กระทรวงการเคหะและกิจการเมือง (MoHUA) – อินเดีย
  • กรมการภายในและรัฐบาลท้องถิ่น (DILG) – ฟิลิปปินส์
  • สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย (สป. มท.) – ไทย

โครงการ Urban-Act มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ การดำเนินโครงการนี้จะช่วยให้เมืองต่างๆ ในประเทศไทยมีความพร้อมในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต และสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นหลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก : องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)
Photo : freepik

เนื้อหาน่าสนใจ :  6 สิ่งต้องเช็ค ก่อนติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

การเสวนา “ขนส่งไทยฝ่าวิกฤตน้ำมันแพง รถไฟฟ้าคือทางรอดหรือทางร่วง”

หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน, สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี100), สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และ…

EcoFlow Power Hat หมวกโซลาร์เซลล์ เดินไปชาร์จมือถือไป

ECOFLOW ผู้ผลิตเครื่องจ่ายไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัว เครื่องผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ สำหรับการใช้งานกลางแจ้งและนอกสถานที่ชื่อดัง ได้เปิดตัวสินค้าใหม่ล่าสุดในชื่อ EcoFlow Power Hat หรือหมวกโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นการผสมผสานเอานวัตกรรมเรื่องพลังงานมาเข้ากับแฟชั่น…

โซล่าร์คอนเทนเนอร์ พับได้ กางได้ นวตกรรมใหม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เราอาจจะเคยเห็นตู้คอนเทนเนอร์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือจะเป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่นำมาดัดแปลงติดโซล่าร์เซลล์กันไปแล้ว ล่าสุดมีนวตกรรมใหม่เป็นโซล่าร์คอนเทนเนอร์ออกมาให้เราได้เห็นกัน ซึ่งความแตกต่างก็คือ จะไม่ใช่ตู้คอนเทนเนอร์แบบที่ใช้โซล่าร์เซลล์แบบเดิมๆ แต่จะเป็นการออกแบบแผงโซล่าร์เซลล์จำนวนมาก ให้สามารถพับเก็บและยืดออกได้ โดยในการพับเก็บนั้นจะประกบกันเข้าไปเป็นตู้คอนเทนเนอร์นั่นเอง โดยโซล่าร์คอนเทนเนอร์ จะรูปร่างหน้าตาเหมือนกับตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่…

Leave a Reply