ข้อมูลจากประชุมคณะรัฐมนตรี ระบุว่า โดยจังหวัดเป้าหมายที่สามารถกำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตามตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)
โดยการลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวนทั้งสิ้น 39 จังหวัด และจังหวัดเป้าหมายที่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะนำมากำหนดเป็นค่าเป้าหมายเนื่องจากมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ1 ในระหว่างปี หรือยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ซึ่งจะนำมากำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 15 จังหวัด
โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รายงานว่า ได้พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดให้การลดหรือการควบคุมปริมาณการปล่อยมลพิษทางอากาศ PM 2.5 เป็นตัวชี้วัด (KPIs) ที่สำคัญของแต่ละจังหวัด โดยนำมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 ของ ทส. ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อ 19 ธันวาคม 2566 มาเป็นกรอบในการพิจารณา สรุปได้ ดังนี้
1. จังหวัดเป้าหมายตามมาตรการฯ ที่สามารถกำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตาม Joint KPIs ภายใต้ Agenda ประเด็นที่ 5 การลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 39 จังหวัด โดยแบ่งเป็น
1.1 จังหวัดเป้าหมายที่ดำเนินการกำหนดเป็นตัวชี้วัดอยู่แล้ว 2 จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม
1.2 จังหวัดเป้าหมายที่จะกำหนดให้มีตัวชี้วัดในการประเมินเพิ่มเติม 3 จำนวน 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ขอนแก่น นครราชสีมา เลย หนองคาย อุบลราชธานี นครพนม เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ลพบุรี บุรีรัมย์ มุกดาหาร สกลนคร และอุดรธานี
2. จังหวัดเป้าหมายที่จะนำมากำหนดให้มีการประเมินตัวชี้วัดดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 15 จังหวัด เนื่องจากมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในระหว่างปี 2567 ทำให้มีข้อมูลไม่ครบรอบปีที่จะนำมาใช้ในการประเมินตามตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยรายปีของปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) หรือยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ดังนี้
2.1 จังหวัดเป้าหมายที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแล้วแต่ข้อมูลยังไม่เพียงพอ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ สิงห์บุรี นครนายก บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
2.2 จังหวัดเป้าหมายที่ยังไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยนาท อ่างทอง เพชรบุรี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และหนองบัวลำภู
3. ข้อเสนอแนะให้กรมควบคุมมลพิษติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศสำหรับจังหวัดที่ยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดค่าเป้าหมายสำหรับใช้ประเมินในปีถัดไป
4. ประโยชน์ของการจัดการเพื่อดูแลปัญหาเรื่องฝุ่นพิษ PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดจะช่วยลดต้นทุนการสร้างความเสียหายต่อคุณภาพดิน น้ำ และการเติบโตของสิ่งมีชีวิตในป่า รวมทั้งความหลากหลายด้านชีวภาพ
ซึ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมาย IGNITE THAILAND4 ของรัฐบาลในวิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) ในการยกระดับเกษตรกรรมส่งเสริมเกษตรกรไทยให้มีรายได้มากขึ้น 3-4 เท่า พร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นครัวของโลก
รวมทั้งจะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาฝุ่น PM2.5 เช่น ค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยวที่เกิดจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย ค่าเสียโอกาสที่เกิดจากปัญหาสุขภาพจากการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ หรือค่าใช้จ่ายในการป้องกันมลพิษและการสวมใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งอาจสร้างความเสียหายโดยรวมถึง 5,500-10,000 ล้านบาทต่อปี
Source : กรุงเทพธุรกิจ