Highlight & Knowledge

ร่างแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิง OIL PLAN 2024

เนื้อหาในวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับร่างแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงของ กรมธุรกิจพลังงาน ซึ่งได้จัดทำร่างแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2567–2580 (Oil Plan 2024) ออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยเป็น 1 ใน แผนพลังงานชาติ ที่ประกอบไปด้วย

  1. แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 (PDP 2024)
  2. แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ.2567-2580 (Gas Plan 2024)
  3. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2567-2580 (Oil Plan 2024)
  4. แผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2567-2580 (AEDP2024)
  5. แผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2567-2580 (EEP2024)

รวมทั้งหมด 5 แผน ซึ่งในครั้งที่แล้ว เราได้ทำเนื้อหาเกี่ยวกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 (PDP 2024) กันไปเรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านได้โดยคลิกที่นี่เลยครับ คราวนี้เราก็จะนำ แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan 2024) มาให้ทุกท่านได้รับทราบรายละเอียดกันบ้าง ซึ่งแผนนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เพราะจะเกี่ยวของกับเรื่องของการจัดการพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันที่เราใช้อยู่กันในทุกวันนี้

เป้าหมาย แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan 2024)

  1. มีความสามารถในการรับมือกับภาวะวิกฤต ด้านน้ำมันสูงขึ้น
  2. การจัดหาและการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง สอดคล้องความต้องการตามเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนไป
  3. การผลิตและการขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพ
  4. ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

กรอบดำเนินงาน 4 ด้าน

  1. การบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อความมั่นคง ศึกษาความเหมาะสมการจัดทำ Strategic Petroleum Reserve (SPR) และรูปที่เหมาะสมกับไทย และมีการปรับปรุงวิธีการคำนวณอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฏหมายให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากลไกการเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤติด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
  2. การบริหารจัดการน้ำมันภาคขนส่ง มีการสนับสนุนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการผลิต การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงสะอาดจากวัตถุดิบที่มีในประเทศ รวมถึงกำกับดูแลน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีราคาที่เหมาะสม ไม่เป็นภาระกับประชาชน
  3. การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและขนส่ง เริ่มจากในส่วนของโรงกลั่น มีการกำกับดูแลการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่นให้มีเพียงพอ และสอดคล้องกับความต้องการใช้ ในส่วนของท่อขนส่งน้ำมัน มีการผลกดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากระบบขนส่งน้ำมันทางท่ออย่างเต็มประสิทธิภาพ และศึกษาแนวทางการปรับปรุงค่าขนส่งให้ราคาน้ำมันเท่ากันทุกภูมิภาค สำหรับสถานีบริการน้ำมัน จะมีการเพิ่มจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมัน และกำกับดูแลการติดตั้งและการใชงานสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมันให้มีควมปลอดภัย
  4. การส่งเสริมธุรกิจใหม่ในอนาคต ในธุรกิจปิโตรเคมีและไบโอพลาสติก จะมีการส่งเริ่มการลงทุนปิโตรเคมีขั้นปลาย และพลาสติกชีวภาพ ในส่วนของเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน ก็จะมีการสนับสนุนการลงทุนผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยื่น (SAF) เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก มีการส่งเสริมการลงทุนผลิต SAF ทั้งรูปแบบ Co-processed และ Stand Alone รวมถึงผลักดันการลงทุนผลิต SAF ในประเทศโดยใช้วัตถุดิบที่ไทยมีศักยภาพ และสุดท้ายในส่วนของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ จะสนับสนุนการลงทุนผลิตน้ำมันหม้อแปลไฟฟ้าชีวภาพอีกด้วย
source : กรมธุรกิจพลังงาน
source : กรมธุรกิจพลังงาน

source : กรมธุรกิจพลังงาน

source : กรมธุรกิจพลังงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านเศรษฐกิจ

  • ภาคการขนส่งทางบก โดยสร้างรายได้ให้ผู้ผลิตเอทานอล – ไบโอดีเซล 71,300 ล้านบาท / ปี
  • ประหยัดเงินจากการนำเข้าน้ำมันดิบ 59,000 ล้านบาท/ ปี
  • เกิดการลงทุนในธุรกิจใหม่ เม็ดเงินรวม 113,901 ล้านบาท

ด้านสังคม

  • ได้สร้างรายได้ให้เกษตรกรจากการปลูกพืชพลังงาน 41,500 ล้านบาท/ปี

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • ลดการปล่อยก๊าซ CO2 7.1 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า/ปี

ปรับเปลี่ยนชนิดน้ำมันให้เหมาะสม

source : กรมธุรกิจพลังงาน

ในร่างแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2567–2580 (Oil Plan 2024) นี้ยังได้มีการวางแผนปรับเปลี่ยนชนิดน้ำมันพื้นฐานให้เหมาะสมใหม่ด้วย รวมถึงการปรับลดชนิดน้ำมันในประเทศลง โดยน้ำมันดีเซลจะกำหนดให้ไบโอดีเซล B7 และให้ดีเซล B20 เป็นน้ำมันทางเลือก และกำหนดสัดส่วนการผสมน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ระหว่าง 5-9.9% (จากปัจจุบันกำหนดสัดส่วนผสมน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ 6.6-7%) ในส่วนของน้ำมันเบนซินอยู่ระหว่างกำหนดให้น้ำมันชนิดใดเป็นน้ำมันพื้นฐาน ระหว่างแก๊สโซฮอล์ 95 หรือ แก๊สโซฮอล์ E20 หรือแก๊สโซฮอล์ 91 หรือ E10  ทั้งนี้จะยกเลิกการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 ออกไปภายในปี 2568 

source : กรมธุรกิจพลังงาน

อย่างไรก็ตามหลังจากรับฟังความคิดเห็นร่างแผน Oil Plan 2024 แล้ว กระทรวงพลังงานจะรวบรวมทั้ง 5 แผนดังกล่าวไว้ในแผนพลังงานชาติ ซึ่งคาดว่าจะจัดทำเสร็จในเดือน ก.ย. 2567 เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.), คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเห็นชอบและประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป และมีการคาดการณ์เอาไว้ว่า แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2567–2580 (Oil Plan 2024) นี้จะเกิดเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจใหม่ มากถึง 113,901 ล้านบาท

Source : กรมธุรกิจพลังงาน

เนื้อหาน่าสนใจ :  รู้จัก "ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก" ปูนซีเมนต์รักษ์โลก

งานเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “ภาษีคาร์บอน ใครต้องจ่าย จ่ายเมื่อไหร่”

https://youtu.be/g_5ZrNYvZJI หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน, สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี100), คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรมสรรพสามิต วันพุธที่…

หน้าร้อน ทำไมค่าไฟแพง?

ช่วงนี้มีแต่คนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าค่าไฟแพงมาก บางคนค่าไฟขึ้นจากเดิมเกือบเท่าตัว เรียกได้ว่า ทำงานหาเงินมาเพื่อจ่ายค่าไฟกันเลยทีเดียว วันนี้ทีมงานก็ได้ทำการหาข้อมูลเรื่องของค่าไฟแพงมา ซึ่งมาจากการให้ความรู้จากกูรูหลายท่าน รวมถึงการไฟฟ้าก็มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องค่าไฟแพงออกมาเช่นกัน โดยเราได้ทำการสรุปและรวบรวมเอาไว้ในบทความนี้เรียบร้อยแล้ว หน้าร้อน ทำไมค่าไฟแพง?…

11 เหตุผลที่ควรเปลี่ยนมาใช้ หลอดไฟ LED

บ้านไหนที่อยู่กันมายาวนาน แนะนำให้ลองสำรวจตรวจสอบหลอดไฟในบ้านดูครับว่าใช้หลอดไฟแบบไหนบ้าง ยังใช้หลอดไฟแบบไส้ หรือหลอดไฟธรรมดาอยู่หรือเปล่า ซึ่งหลอดไฟรุ่นเก่าเดิมๆ นั้นมีข้อเสียมากมาย บางคนอาจจะไม่เคยสนใจเลย เพราะหลอดไฟยังใช้ได้ปกติอยู่ แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีเวลาอยากให้ลองสำรวจกันดูครับ และถ้าเปลี่ยนได้…

Leave a Reply