Highlight & Knowledge

รู้จัก NanoFlowCell เทคโนโลยีรถไฟฟ้า วิ่งไกล 2,000 กม. ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่

วันนี้ขอนำเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟฟ้ามาแนะนำให้รู้จักกัน ซึ่งมีชื่อว่า NanoFlowCell จริงๆ เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนามาค่อนข้างนานแล้ว จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความน่าสนใจของเทคโนโลยีตัวนี้หลักๆ เลยก็คือ วิ่งได้ไกลมากถึง 2,000 กิโลเมตร และที่สำคัญไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เหมือนรถไฟฟ้าทั่วๆ ไป จะเป็นยังไงมาติดตามอ่านกันได้เลยครับ

เทคโนโลยี NanoFlowCell

เทคโนโลยีของ NanoFlowCell นั้นคล้ายกับเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง การเติมเชื้อเพลิงนั้นทำได้รวดเร็วเช่นเดียวกัน แต่ NanoFlowCell นั้นจะมีความปลอดภัยมากกว่าเนื่องจากเป็นสารที่ไม่ติดไฟและไม่จำเป็นต้องเก็บในถังแรงดันสูง เทคโนโลยีนี้ทำงานโดยอาศัยหลักการของเซลล์เชื้อเพลิงแบบหนึ่ง โดยใช้สารละลายพิเศษสองชนิดที่เรียกว่า ไบไอออน (bi-ion) เมื่อสารละลายทั้งสองชนิดสัมผัสกันผ่านแผ่นเมมเบรนพิเศษ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมา ซึ่งกระแสไฟฟ้านี้จะถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนมอเตอร์ของรถยนต์

ในส่วนของสถานีเติมเชื้อเพลิงของ NanoFlowCell สามารถใช้สถานีเติมน้ำมันเดิมได้เลย โดยจำเป็นต้องมีการดัดแปลงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ประหยัดต้นทุนในการจัดทำสถานีเติมเชื้อเพลิงไปได้ค่อนข้าง ซึ่งถ้าพูดโดยสรุปแล้ว หลักการก็จะคล้ายๆ การใช้สารละลายมาผ่านกระบวนการแล้วเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่อยู่ในรถเพื่อเก็บพลังงานแต่อย่างใด ซึ่งสารละลายที่ใช้นั้นก็ต้องบอกว่า มันก็หมดไปเช่นเดียวกัน และต้องเติมกลับเข้าไปแบบเดียวกับรถน้ำมัน

ข้อดีของเทคโนโลยี NanoFlowCell

  • ระยะทางในการขับขี่ที่ยาวนาน รถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้สามารถวิ่งได้ไกลกว่า 2,000 กิโลเมตรต่อการเติมสารละลายหนึ่งครั้ง ซึ่งมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้แบตเตอรี่มาก
  • การเติมพลังงานที่รวดเร็ว การเติมสารละลายใหม่นั้นทำได้รวดเร็วคล้ายกับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
  • ความปลอดภัย สารละลายที่ใช้ไม่ติดไฟและไม่เป็นพิษ ทำให้มีความปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่แบบดั้งเดิม
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้สร้างมลพิษน้อยกว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

ข้อจำกัดต่างๆ

  • เทคโนโลยียังอยู่ในขั้นพัฒนา เทคโนโลยี NanoFlowCell ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นและยังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ปัญหาเรื่องความเสถียรของสารละลาย และต้นทุนการผลิตที่สูง
  • โครงสร้างพื้นฐาน การขาดแคลนสถานีบริการเติมสารละลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานในวงกว้าง
  • ความหนาแน่นของพลังงาน แม้ว่าระยะทางในการขับขี่จะยาวนาน แต่ความหนาแน่นของพลังงานของสารละลายอาจยังไม่สูงเท่ากับแบตเตอรี่บางชนิด

QUANTiNO 25 รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี NanoFlowCell

QUANTiNO 25 รถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถวิ่งได้ระยะทางสูงสุดถึง 2,000 กิโลเมตร ด้วยเทคโนโลยี NamoFlowCell ซึ่งออกแบบมาเป็นรอสปอร์ตไฟฟ้า 2 ที่นั่ง ติดตั้งมอเตอร์ 48 โวลต์จำนวน 4 ตัว ให้กำลังสูงสุด 79 แรงม้าต่อมอเตอร์ 1 ตัว ทำให้รถคันนี้มีแรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 316 แรงม้า ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถทำอัตราเร่ง 0 – 100 ได้ภายในเวลาเพียง 3 วินาทีเท่านั้น ตัวรถมีการติดตั้งถังสำหรับใส่เชื้อเพลิงจำนวน 2 ถัง มีความจุ 125 ลิตร สำหรับแยกสารละลาย 2 ชนิด เมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มถังจะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 2,000 กม โดยไม่ต้องจอดเติมเชื้อเพลิง ตัวโครงสร้างและวัสดุของรถถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษทำให้สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลและประหยัดเชื้อเพลงมากยิ่งขึ้น

สำหรับระยะทางการวิ่งขอบรถคันนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณความเข้มข้นของสารละลายด้วย โดยทางผู้คิดค้นนั้นบอกเอาไว้ว่า เราสามารถเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายให้มากขึ้นได้เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้ไกลขึ้น ส่วนการเติมเชื้อเพลิงหรือการรีชาร์จพลังงานใหม่นั้นเป็นการเติมรูปแบบเดียวกันกับการเติมน้ำมันในยุคปัจจุบัน โดยจุดเด่นของสารละลายไบไอออนนั้นคือไม่อันตราย ไม่ติดไฟ ไม่เป็นพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้การขับขี่ที่ปลอดภัยทั้งบุคคลและสิ่งแวดล้อม ส่วนระยะเวลาในการเติมพลังงานนั้นใกล้เคียงกับการเติมน้ำมันในยุคปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรีชาร์จพลังงานลงไปได้เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่

บทสรุปของ เทคโนโลยี NanoFlowCell

เทคโนโลยี NanoFlowCell มีจุดเด่นและข้อดีต่างๆ มากมาย น่าจะสามารถจะปฏิวัติวงการยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการแก้ปัญหาเรื่องระยะทางในการขับขี่ และเวลาในการชาร์จพลังงาน อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขก่อน โดยเฉพาะเรื่องของราคาพลังงานนั้นยังมีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันและพลังงานไฟฟ้า ในอนาคตเทคโนโลยีนี้คาดว่าจะกลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมยานยนต์ และต้องมีการพัฒนาและวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้เทคโนโลยีนี้มีความพร้อมสำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย

Photo : NanoFlowCell

เนื้อหาน่าสนใจ :  เทคโนโลยี CCS (Carbon Capture and Storage) คืออะไร? ดีต่อเรา ดีต่อโลกอย่างไรบ้าง

วารสาร Green Energy Review ฉบับ 02 มกราคม – มีนาคม 2566

เนื้อหาที่น่าสนใจ 3 ธุรกิจเทรนใหม่มาแรง ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่ากำไร 5 ไอเดียลดโลกร้อน ที่คุณช่วยได้ เมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ พลังงานสะอาด ธีมการลงทุนรักษ์โลกทางเลือกใหม่…

มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร ? วิธีสร้างรายได้ ทำอย่างไร ?

มีพื้นที่ปลูกต้นไม้จะขายคาร์บอนเครดิตอย่างไร? สำหรับ ผู้ที่สนใจอยากจะเข้าเทรนด์ รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อมและ Keep The World ในประเด็น การขายคาร์บอนเครดิต…

7 แอพสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า + 1 แอพเช่ารถยนต์ไฟฟ้า โหลดใส่มือถือไว้เลย

สำหรับคนที่ใช้รถไฟฟ้า หรือไปจองรถไฟฟ้าในงาน MotorExpo 2023 มาเรียบร้อยแล้ว แนะนำว่าให้ดาวน์โหลดแอพสถานทีชาร์จรถไฟฟ้าใส่มือถือกันไว้เลย เพราะหลังจากนี้เชื่อได้ว่า ทุกท่านจะมีโอกาสได้ใช้แอพใดแอพหนึ่ง หรือบางท่านที่เดินทางบ่อยๆ อาจจะต้องใช้ทุกแอพเลยก็ว่าได้…

Leave a Reply