News & Update

ชี้อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ EV “ถูกลง 90%” เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่แล้ว

รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถ EV มักมีประเด็นที่ถกเถียงกันบ่อยๆในเรื่องการลดราคา ข้อมูลล่าสุดได้เผยว่าแบตเตอรี่ EV มีราคาถูกลง 90% นับจากปี 2008 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเราอยากชวนมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้แบตเตอรี่ถูกลง

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญและเป็นต้นทุนหลักในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีข้อมูลล่าสุดพบว่า ราคาแบตเตอรี่ EV ถูกลงมากถึง 90% เมื่อเทียบจากปี 2008 ถึงปัจจุบัน 

การศึกษาวิจัยใหม่ของ Department of Energy สหรัฐฯ เผยว่า ต้นทุนแบตเตอรี่ EV ลดลงมากถึง 90% นับตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2023 ซึ่งแปลว่าราคาลดลงจาก 1,319 ยูโร ต่อ kW/h เหลือเพียง 130 ยูโรต่อ kW/h 

ชี้อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ EV \"ถูกลง 90%\" เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่แล้ว

โดยตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ในอนาคตว่าราคารถยนต์ไฟฟ้ากำลังจะถูกลงและผู้คนทั่วโลกจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าง่ายขึ้น

มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาแบตเตอรี่ EV ลดลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าในเทคโนโลยีกระบวนการผลิตที่ได้รับการปรับปรุง ประกอบกับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นล้วนมีส่วนทำให้ราคาลดลง

ชี้อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ EV \"ถูกลง 90%\" เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่แล้ว

บริษัทวิเคราะห์การตลาดอย่าง Gartner ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2027 “รถยนต์ไฟฟ้าจะมีต้นทุนการผลิตถูกกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน” ซึ่งจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นตัวเลือกแรกสำหรับลูกค้ารายใหม่ที่ต้องการซื้อรถ

ชี้อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ EV \"ถูกลง 90%\" เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่แล้ว

การลดลงของราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นจุดเปลี่ยนของตลาดยานยนต์ในหลายด้าน ดังนี้

ผลกระทบที่สำคัญที่สุดคือช่องว่างของราคาที่ลดลงระหว่างรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) เนื่องจากต้นทุนแบตเตอรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รถยนต์ไฟฟ้าจึงมีราคาถูกลงมากขึ้น ทำให้กลายเป็นคู่แข่งของรถยนต์สันดาปทั้งเบนซินและดีเซล

ชี้อนาคตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ EV \"ถูกลง 90%\" เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่แล้ว

ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นอาจเท่ากับรถยนต์สันดาป เร็วที่สุดในปี 2025 และรถยนต์ไฟฟ้าอาจมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ารถยนต์สันดาปภายในปี 2027 การเปลี่ยนแปลงนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการแข่งขันในตลาดยานยนต์ ผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์สร้างสรรค์นวัตกรรมและเสนอราคาที่แข่งขันได้มากขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภค

ต้นทุนที่ต่ำลงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการยอมรับรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเข้าถึงได้ทางการเงินมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคทั่วไป การเปลี่ยนผ่านสู่การเคลื่อนที่ด้วยไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะเร็วขึ้น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น สิทธิประโยชน์ของรัฐบาลสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น

ค่าเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษาที่ลดลง รถยนต์ไฟฟ้าจึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดมากขึ้นเรื่อยๆ การศึกษาเมื่อไม่นานนี้ของ JD Power พบว่าใน 48 จาก 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าในระยะเวลา 5 ปีนั้น ต่ำกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่เทียบเท่ากัน

อย่างไรก็ตามต้นทุนแบตเตอรี่ที่ลดลง ก็ยังไม่ได้แปลว่าคนจะหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งยังมีปัจจัยอื่นๆ ยกตัวอย่างในประเทศไทยที่ยังไม่มีโครงข่ายสถานีชาร์จมากนักในต่างจังหวัดหรือชานเมือง หรือคนส่วนใหญ่ยังคงชอบในความสะดวกสบายและความคุ้นเคยกับรถสันดาปมากกว่าอยู่ดี

สรุปได้ว่าแม้ว่าต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ EV จะถูกลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยอื่นๆที่คนอาจยังไม่มั่นใจในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคันมาใช้งานเป็นหลัก แต่ก็ถือเป็นข่าวสารที่ทำให้เราได้รู้อนาคตว่า “ในเร็วๆนี้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาเทียบเท่ารถสันดาป”

ที่มา : ArenaEV
Source : Spring News

เนื้อหาน่าสนใจ :  “ไทยอีสเทิร์น ชลบุรี”ผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียแทน LPG-ไฟฟ้า มุ่ง"Net Zero"

อัพเกรด ‘E-Bus’ เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสาธารณะ

จากการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายให้กับสังคมและผู้บริโภคที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจากช่องทางไหน ซึ่งแนวโน้นความต้องการในปัจจุบันเริ่มมีทิศทางชัดเจนมากขึ้นว่าต้องการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมแต่ยังได้รับความสะดวกสบายอยู่ หลายสินค้าจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบโจทย์ด้านนี้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการคมนาคมที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นจากเมื่อปีก่อนๆ ปี 2565 นี้ประเทศไทยเองก็มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นจากมาตรการการส่งเสริมของรัฐ

ผู้ใช้น้ำมันสะเทือน กบน. เรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเพิ่ม เสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ติดลบน้อยลง เหลือ 1.08 แสนล้านบาท

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติเรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเพื่อส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มอีก 50 สตางค์ต่อลิตร เป็น 1.76 บาทต่อลิตร ส่วนผู้ใช้ดีเซลเกรดพรีเมียมทำสถิติจ่ายสูงสุด…

“หุ่นยนต์กินขยะ” ในแม่น้ำ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่สร้างมลพิษ

Mr.Trash Wheel หุ่นยนต์กินขยะ หรือเครื่องจักรที่คอยเก็บขยะในแม่น้ำของบัลติมอร์ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะในแม่น้ำเป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมาอย่างยาวนาน ทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำในระยะยาว เมื่อไม่นานมานี้ที่อินเดีย และนิวซีแลนด์…

Leave a Reply