News & Update

เจ๋ง! หนุน AI ช่วยธุรกิจทำ ESG วัดคาร์บอนองค์กร ตรวจน้ำเสียแบบเรียลไทม์

องค์กรธุรกิจยุคใหม่ต้องใช้นวัตกรรมช่วยในการทำธุรกิจ เพื่อความสะดวก และลดต้นทุน วันนี้จะพามาดูการนำเอา AI ช่วยธุรกิจทำ ESG สามารถช่วยวัดคาร์บอน ตรวจน้ำเสียแบบเรียลไทม์ ตรวจจับความร้อน และมีโซลูชั่นอื่นๆ ที่ทันสมัยมากมาย ผลักดันสมาร์ทนิคม เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเปลี่ยนโลกของเราไปมาก หากมองในแง่ดีก็จะช่วยให้คนเรา ภาคธุรกิจทำอะไรได้เร็ว สะดวกสบาย สามารถช่วยลดต้นทุนได้ แม้ว่าการนำนวัตกรรมมาปรับใช้ในชีวิต และธุรกิจช่วยแรกๆ อาจมีต้นทุนที่สูงพอสมควร โดยธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เผยข้อมูลว่า การใช้ประโยชน์ AI เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจขยายวงกว้างมากขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่หรือแบรนด์ชั้นนำที่ตบเท้าเข้ามาใช้ประโยชน์ AI กันทั้งนั้น เพราะกระบวนการทำงานของ AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยอดขาย ลดต้นทุนการดำเนินงาน ประหยัดเวลา ที่สำคัญยังช่วยสร้างengagement และค้นหา insight ของลูกค้า เพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อสินค้าและใช้บริการที่โดนใจลูกค้าได้

ปัจจุบันมีการพัฒนา AI หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สอดรับกับความต้องการใช้งานเฉพาะของแต่ละองค์กรมากขึ้น เช่น Fuzzy Logic, Artificial Neural Networks, Expert Systems, Genetic Algorithms, Machine Learning, และ Swarm Intelligence-based Algorithms เป็นต้นแม้ AI จะมีหลายแบบแต่หลักการพื้นฐานนั้นเหมือนกัน คือ มีความตรงไปตรงมา ยืดหยุ่น สามารถปรับตัวและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์กับลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจได้อย่างแม่นยำ จากการศึกษา Teradata ในหัวข้อ State of Artificial Intelligence for Enterprises เปิดเผยว่า 80% ของบริษัทที่ทำการสำรวจมีการใช้งานเทคโนโลยี AI แล้ว ด้วยเหตุนี้ ความต้องการนำ AI มาใช้ในภาคธุรกิจจึง

จากข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า AI สำคัญในการทำธุรกิจในยุคนี้ โดยเฉพาะเรื่องของการนำ AI มาปรับใช้ในเรื่องของความยั่งยืน หรือการทำ ESG ในยุคนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ และผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต้องทำรับเทรนด์โลก วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูความร่วมมือครั้งแรกของประเทศไทยระหว่าง “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม” ได้ชู INDUSTRIAL TECH เพื่อผลักดันสมาร์ทนิคม พร้อมเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย โดย นางสาวนิรมล ดิเรกมหามงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท LIV-24 จำกัด (ลีฟ ทเวนตี้โฟร์) เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ  ก่อให้เกิดการจ้างงานในหลากหลายกลุ่ม

เจ๋ง! หนุน AI ช่วยธุรกิจทำ ESG วัดคาร์บอนองค์กร ตรวจน้ำเสียแบบเรียลไทม์

ตลอดจนผลักดันให้เกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยีของประเทศ วันนี้เราทำธุรกิจโดยใช้ AI เข้ามาช่วย สิ่งสำคัญคือ AI ไม่ใช่สิ่งที่ต้องรับมือ แต่เป็นเครื่องมือที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลก ซึ่งผู้ประกอบการไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตั้งแต่ต้นน้ำ (การวิจัยและพัฒนา การออกแบบ และการจัดหาวัตถุดิบ) กลางน้ำ (การผลิต การจัดการของเสีย) จนถึงปลายน้ำ (การขนส่ง กระจายสินค้า และบริการหลังการขาย) เพื่อให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่น รับมือต่อความเสี่ยงและปัจจัยภายนอก สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

โดย “นิรมล” ได้ชูความล้ำของ AI ของ LIV-24 ว่ามีความทันสมัยมากมาย ดังนี้

  • รู้ทุกเหตุการณ์ที่ผิดปกติขององค์กรธุรกิจ
  • รู้ว่าไฟกำลังรั่ว อาจเกิดไฟไหม้ได้
  • รู้ว่าน้ำที่เข้ามาในองค์กรมีคุณภาพหรือไม่
  • รู้ว่าน้ำที่ปล่อยจากโรงงานของเราปลอดภัยตามมาตรฐานหรือไม่
  • รู้ว่าโรงงานของเราปลอดคาร์บอนไปแล้วเท่าไหร่
  • รู้ว่าใครผ่านเข้ามาในอาคารบ้าง รู้ว่ารถคันนี้กำลังไปไหน ออกนอกเส้นทางหรือไม่ เพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่ง
  • รู้ว่าคนบุกรุกแบบไหนอันตราย แบบไหนไม่อันตราย
  • วิเคราะห์ประสานงานแก้ไขปัญหาทันที
  • แจ้งเตือนทุกปัญหาด้วยเทคโนโลยี
  • ตรวจจับความร้อน ระงับเหตุก่อนจะลุกลาม
  • บริหารจัดการพลังงานได้ดี ตรวจวัดน้ำเสียได้แบบเรียลไทม์

“เราได้ออกแบบ AI มาให้ภาคธุรกิจอย่างคุมค่าครอบคลุมทุกธุรกิจ ทุกขนาดธุรกิจไม่ว่าจะเป็น เล็ก กลาง ใหญ่ พร้อมทั้งเรายังมรผู้เชี่ยวชาญในการทำงานด้วย รับมือแบบทุกเหตุการณ์แบบเรียลไทม์ ปกป้องทุกคนเสี่ยง ช่วยเหลือทุกชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน พร้อมพาธุรกิจให้ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี”

อย่างไรก็ตามล่าสุด บริษัท LIV-24 จำกัด ได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมด้วย จัดงานใหญ่แห่งปี งานสัมมนา LIV-24 Industrial Tech Revolution: ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ Industrial Tech โดยมีผู้นำจากภาคธุรกิจต่างๆ เข้าร่วมกว่า 200 บริษัท ทั้งนี้ได้นำ INDUSTRIAL TECHNOLOGY ที่ใช้เทคโนโลยี AI ผสานเข้ากับประสบการณ์ของมนุษย์ ที่ออกแบบมาให้ตอบโจย์กับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย กล้องอัจฉริยะตรวจจับความผิดปกติ การดูแลระบบ เครื่องจักรต่างๆ ระบบขนส่ง การจัดการน้ำเสีย และการจัดการพลังงาน

เจ๋ง! หนุน AI ช่วยธุรกิจทำ ESG วัดคาร์บอนองค์กร ตรวจน้ำเสียแบบเรียลไทม์

โดยมีการเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์ควบคุมส่วนกลาง (Command Centre) ที่สามารถดูแลแบบ Real-Time 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้โรงงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดเวลาที่เสียไปและเพิ่มผลผลิต  เพิ่มความปลอดภัย ด้วยระบบตรวจจับและเตือนภัยอัจฉริยะ 24 ชั่วโมง ป้องกันความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ลดต้นทุนในการใช้พลังงานช่วยดูแลรักษาอุปกรณ์ และลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชุมชน ส่งผลให้ลดต้นทุนรวมของธุรกิจได้มากถึง 20 %  ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลัก ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม มิกซ์ยูสโครงการอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มอาคารสำนักงาน มีมูลค่าทรัพย์สินที่ดูแลรวมกันกว่า 300,000 ล้านบาท

“ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย ห่วงโซ่การผลิต เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่ง ความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ เงินทุน และความพร้อมด้านวัตถุดิบมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และ LIV-24 จะเป็นอีกหนึ่ง key driver สำคัญในการสร้างโซลูชันที่สมบูรณ์แบบ เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่มนุษย์จะเข้ามาช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งความร่วมมือครั้งสำคัญในวันนี้  จะช่วยสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมไทยมีความแข็งแกร่ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญเพื่อยกระดับประเทศสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมในภูมิภาคต่อไป” นางสาวนิรมล กล่าว

ด้าน รศ. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ.ในฐานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมขับเคลื่อนแผนขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง-กนอ. ตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนของภาคเอกชนต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในปีนี้ กนอ. ได้กำหนดแผนฟื้นฟูการลงทุน โดยลดบทบาทการเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (regulator) มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) ที่มุ่งเน้นอำนวยความสะดวกและสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกด้าน

เนื้อหาน่าสนใจ :  ทิศทางนโยบายพลังงาน​จาก​ ​4​ พรรค​ หลังเปิดตัวทีมเศรษฐกิจ

ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนอย่างเต็มที่ควบคู่ไปกับการนำนิคมอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากลด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วย ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town), ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  มุ่งเน้นจัดการกากของเสียให้มีประสิทธิภาพ และเชื่อมั่นว่าภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยยังคงเป็นอีกหนึ่ง sector ที่แข็งแกร่ง แม้จะเผชิญกับความท้าทายต่างๆ และ LIV-24 จะเป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่สำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยี AI อัจฉริยะ และเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันสมาร์ทนิคม พร้อมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้เทียบชั้นกับนานาชาติ”

นับว่าเป็นเรื่องราวที่ดีที่ได้มีการนำเทคโนโลยี “INDUSTRIAL TECHNOLOGY” โซลูชันอัจฉริยะ ที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมไทย เทียบชั้นนานาชาติ ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้ 300 ล้านบาท ภายในปี 2568  สัดส่วนลูกค้า แบ่งเป็น กลุ่มคอมเมอร์เชียล และโรงงานอุตสาหกรรม 30% และ 70% กลุ่มที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงาน

Source : Spring News

โอกาสของโซลาร์รูฟท็อป! “พพ.” ปลดล็อกขั้นตอนพิจารณาให้เร็วขึ้น

พพ.หนุนกระแสติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมาแรง ปรับลดกระบวนการให้ความเห็นอนุญาตให้ผลิตไฟฟ้ารวดเร็วยิ่งขึ้นจากเดิมขั้นตอนกว่า 60 วันเหลือไม่เกิน 30 วัน หวังเอื้อให้ประชาชนรับมือค่าไฟแพง นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน…

รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้ามาแรงแซงไฮโดรเจน

ณ ชานเมืองทรอนด์ไฮม์ทางภาคตะวันตกของนอร์เวย์ บริษัทค้าส่งอาหารแอสโกทดลองใช้รถบรรทุกเซลไฮโดรเจนจากผู้ผลิตรถบรรทุกสวีเดน “สแกนเนีย” จำนวนสี่คันมาตั้งแต่ปี 2563 ผลการทดลองมีทั้งบวกและลบ ต่อมาเกิดปัญหาการบูรณาการ ชิ้นส่วนชำรุด จนจำเป็นต้องหยุดใช้หลังเกิดเหตุสถานีชาร์จแห่งหนึ่งใกล้กรุงออสโลระเบิดเท่ากับว่ารถบรรทุกไฮโดรเจนได้ใช้งานแค่…

“บีไอจี-วิศวะ จุฬา” รุกใช้ Climate Technology ยกระดับลดปล่อยคาร์บอน

“บีไอจี-วิศวะ จุฬา” รุกใช้ Climate Technology ยกระดับลดปล่อยคาร์บอน เดินหน้าบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืน และช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากกการใช้พลังงานในอาคารตภายในคณะจากการใช้งานและการบำรุงรักษาพลังงาน  คุณปิยบุตร จารุเพ็ญ…

Leave a Reply