เรากำลังเข้าสู่ในยุคของการใช้พลังงานสะอาด ที่ส่งผลกระทบต่อโลกให้น้อยที่สุด ซึ่งหนึ่งในพลังงานที่เป็นพลังงานสะอาดที่กำลังมาแรงนั่นก็คือ “ไฮโดรเจน” พลังงานที่ผลิตได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาติหลายหลายประเภท ซึ่งจะได้น้ำและออกซิเจน ที่เป็นพลังงานสะอาดและมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ และช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน

ไฮโดรเจนคืออะไร?

ไฮโดรเจนเป็นธาตุเคมี สัญลักษณ์ธาตุคือ H เป็นธาตุที่เบาที่สุดและเป็นองค์ประกอบของน้ำ (H2O) คุณสมบัติทั่วไปของไฮโดรเจน คือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เชื้อเพลิงในรถยนต์ไฮโดรเจน ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอื่นๆ เช่น อะมโมเนีย กรดไฮโดรคลอริก และกรดซัลฟิวริก เป็นต้น ใช้เป็นสารหล่อเย็น และ ใช้เป็นสารป้องกันการกัดกร่อน

photo : freepik

วิธีผลิตไฮโดรเจน ในปัจจุบัน

สำหรับพลังงานไฮโดรเจนนั้น สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลักๆ ดังนี้

  1. เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม
  2. พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล น้ำ
  3. พลังงานนิวเคลียร์

ซึ่งการเลือกใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันนั้นก็ทำให้ได้ไฮโดรเจนที่มีความแตกต่างกันอีกด้วย โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตจะมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ซึ่งสามารถสรุปได้ประมาณ 3 รูปแบบ ได้แก่ กระบวนการให้ความร้อนเคมี กระบวนการไฟฟ้าเคมี และ กระบวนการสังเคราะห์แสง

ไฮโดรเจนมีกี่ประเภท

พลังงานไฮโดรเจนสามารถสังเคราะห์ได้จากเชื้อเพลิงตามธรรมชาติหลากหลายประเภท ซึ่งเราสามารถจำแนกจากชนิดของแหล่งพลังงานและวิธีในการผลิตไฮโดรเจน โดยกำหนดเป็นสีต่าง ๆ ดังนี้

  1. ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) คือ ไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นโดยใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (electrolysis) ซึ่งไฮโดรเจนสีเขียวถือเป็นไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำหรือเป็นศูนย์ เนื่องจากใช้แหล่งพลังงานสะอาด เช่น ลมหรือแสงอาทิตย์ จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอิเล็กโทรไลซิสในกระบวนการแยกน้ำ (H2O) เป็นไฮโดรเจน (H2) และออกซิเจน (O2)
  2. ไฮโดรเจนสีเหลือง (Yellow Hydrogen) คือ ไฮโดรเจนที่ผลิตจากพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานทดแทน ร่วมกับกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งกระบวนการนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ซึ่งความแตกต่างระหว่างไฮโดเจนสีเหลือง กับไฮโดรเจนสีเขียว ก็อยู่ที่พลังงานที่นำมาใช้ผลิตจะมีส่วนของเชื้อเพลิงฟอสซิลเข้ามาร่วมด้วยนั่นเอง
  3. ไฮโดรเจนสีชมพู (Pink Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ ร่วมกับกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ซึ่งกระบวนการนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ อย่างไรก็ตาม ไฮโดรเจนสีชมพูยังมีข้อจำกัดบางประการ คือ ต้นทุนการผลิตยังสูง และยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  4. ไฮโดรเจนสีฟ้าน้ำทะเล (Turquoise Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นโดยใช้กระบวนการ pyrolysi คือ การนำก๊าซธรรมชาติมาผ่านการแยกสลายด้วยความร้อนสูง ซึ่งสิ่งที่จะได้ออกมาจะเป็นไฮโดรเจน และผงคาร์บอน
  5. ไฮโดรเจนสีฟ้าน้ำเงิน (Blue Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่สามารถผลิตได้จากก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยการผลิตจากก๊าซธรรมชาตินั้นจะใช้กระบวนการ steam reforming ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 800-1,000 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปสารไฮโดรคาร์บอนในก๊าซธรรมชาติด้วยไอน้ำ ควบคู่กับการกักเก็บ Co2 ส่วนการใช้ถ่านหินนั้นจะมีการใช้กระบวนการที่มีชื่อว่า Gasification เป็นการเผาไหม้ด้วยความร้อนสูง ควบคู่กับการกักเก็บ Co2
  6. ไฮโดรเจนสีเทา (Grey Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตจากกระบวนการทางเคมีโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ โดยจะแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยใช้กระบวนการทางเคมี เช่น กระบวนการ steam reforming หรือกระบวนการ partial oxidation และมีการปล่อย Co2 สู่บรรยากาศออกมาในปริมาณมาก เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล จึงทำให้ไฮโดรเจนสีเทาเป็นไฮโดรเจนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในปัจจุบัน ไฮโดรเจนสีเทาเป็นไฮโดรเจนที่ผลิตได้ง่ายและราคาถูกที่สุดในปัจจุบัน จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเหล็กกล้า เป็นต้น
  7. ไฮโดรเจนสีน้ำตาล (Brown Hydrogen) เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นโดยใช้กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน (Gasification) ของถ่านหิน โดยใช้ความร้อนสูง ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไฮโดรเจน และก๊าซอื่นๆ ไฮโดรเจนสีน้ำตาลเป็นไฮโดรเจนที่สะอาดน้อยกว่าไฮโดรเจนสีฟ้าหรือไฮโดรเจนสีเหลือง เนื่องจากกระบวนการผลิตปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา ซึ่งต้นทุนที่ใช้ในการผลิตนั้นค่อนข้างต่ำมาก จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต่างๆ มากมาย

ไฮโดรเจนในประเทศไทย

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหน่วยงานที่ดูแลความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ได้ศึกษาการนำไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานพลังงานเพื่อให้บริการพลังงานสีเขียว

ในปี พ.ศ. 2559 กฟผ.ประสบความสำเร็จในการทดลองผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ที่ผลิตมาจากพลังงานลม โดยกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมในรูปของก๊าซไฮโดรเจน (Wind Hydrogen Hybrid System) จับคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) กำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ และเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จ.นครราชสีมา โครงการนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการนำไฮโดรเจนมาใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เนื่องจากสามารถผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจากพลังงานหมุนเวียนได้สำเร็จ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ กฟผ. ยังคงศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงในอนาคต

โดยมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (Green  Hydrogen) จากโครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคองระยะที่ 2 เต็มศักยภาพรวมถึงต่อยอดพัฒนาไปยังพื้นที่โครงการพลังงานทดแทนจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์แห่งอื่นๆของกฟผ. ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ และในปี พ.ศ. 2567 กฟผ. มีแผนศึกษาความเหมาะสมโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซสังเคราะห์จากถ่านหินที่มีแคลเซียมออกไซด์ (CaO) สูง ควบคู่กับเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการนำไปใช้ประโยชน์ (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางซึ่งได้เป็นไฮโดรเจนสีน้ำเงิน (Blue Hydrogen) และแผนศึกษาความเหมาะสมโครงการศึกษารูปแบบการผสมและการใช้งานไฮโดรเจนร่วมกับก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และโรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น

ไฮโดรเจนกับการนำมาใช้เป็นพลังงานในรถยนต์

ไฮโดรเจนถือเป็นพลังงานทางเลือกที่มีการพัฒนานำมาใช้ในรถยนต์อีกด้วย ซึ่งอาศัยหลักการของเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ซึ่งเซลล์เชื้อเพลิงจะทำหน้าที่แปลงพลังงานจากไฮโดรเจนและออกซิเจนให้เป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อนำไปขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า

ตัวอย่างรถยนต์ที่มีการพัฒนาไปใช้พลังงานไฮโดรเจน

Toyota Mirai เป็นรถไฮโดรเจนแบบบรรจุไฮโดรเจนเหลว ผลิตโดยบริษัทโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558 มีระยะทางในการขับขี่สูงสุด 647 กิโลเมตรต่อการเติมเชื้อเพลิงหนึ่งครั้ง

Hyundai Nexo เป็นรถไฮโดรเจนแบบบรรจุไฮโดรเจนเหลว ผลิตโดยบริษัทฮุนได ประเทศเกาหลีใต้ เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 มีระยะทางในการขับขี่สูงสุด 666 กิโลเมตรต่อการเติมเชื้อเพลิงหนึ่งครั้ง

Honda Clarity Fuel Cell เป็นรถไฮโดรเจนแบบบรรจุไฮโดรเจนเหลว ผลิตโดยบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 มีระยะทางในการขับขี่สูงสุด 754 กิโลเมตรต่อการเติมเชื้อเพลิงหนึ่งครั้ง

Mercedes-Benz GLC F-Cell เป็นรถไฮโดรเจนแบบบรรจุไฮโดรเจนอัด ผลิตโดยบริษัทเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศเยอรมนี เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 มีระยะทางในการขับขี่สูงสุด 437 กิโลเมตรต่อการเติมเชื้อเพลิงหนึ่งครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีรถที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนอีกหลายรุ่นที่ผลิตโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก เช่น BMW iX5 Hydrogen, Audi e-tron GT quattro Hidrogen Fuel Cell, และ Porsche Taycan Sport Turismo Hydrogen Fuel Cell เป็นต้น

และทัั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้เกี่ยวกับไฮโดรเจน พลังงานสะอาดแห่งอนาคต แม้ว่าตอนนี้ยังไม่ใช้พลังงานหลัก แต่ก็ถือว่าเป็นพลังงานสะอาดที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งก็มีการคิดค้นและพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการทดลองใช้ในรถยนต์พลังงานสะอาด ที่ยังคงต้องรอติดตามดูว่า สุดท้ายแล้วผู้ผลิตรถยนต์ จะตัดสินใจผลิตรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนออกมาจำหน่ายหรือไม่ เพราะนอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดแล้ว ยังไม่ต้องเสียเวลาชาร์จไฟเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังนิยมในขณะนี้ด้วย รอติดตามกันครับ

photo : freepik

“กฟผ.” รุกผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน มุ่งยกระดับสู่พลังงานสีเขียว เดินหน้าร่วมมือพันธมิตรภาครัฐและเอกชน หน่วยงานด้านพลังงานออสเตรเลีย เผยมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เปิดเผยว่า กฟผ.ได้ดำเนินการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน และศึกษาพัฒนาการนำไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้าเป้าหมายเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานพลังงานเพื่อให้บริการพลังงานสีเขียว โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานด้านพลังงานของประเทศออสเตรเลีย ที่มีเป้าหมายมุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ล่าสุด กฟผ. ได้มีโอกาสดูงานแหล่งผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Latrobe Valley Hydrogen Facility โครงการระบบกักเก็บพลังงานจากแบตเตอรี่ Victorian Big Battery และนวัตกรรมพลังงานจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) และหน่วยงานพันธมิตรด้านพลังงานที่ ประเทศออสเตรเลีย Latrobe Valley Hydrogen Facility 

โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Hydrogen Energy Supply Chain (HESC) ที่นำร่องผลิตไฮโดรเจนจากถ่านหินและสารชีวมวล ด้วยขบวนการแปรสภาพเป็นก๊าซ และการกลั่นให้ก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์และขนส่งทางเรือไปยังญี่ปุ่น มีการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่กับกระบวนการดักจับคาร์บอนด้วยเทคโนโลยี CCS

สอดคล้องกับ กฟผ. ที่ผลิตไฮโดรเจนสีเขียวสำเร็จและใช้งานจริงตั้งแต่ปี 2559 โดยกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมในรูปของก๊าซไฮโดรเจนจับคู่กับเซลล์เชื้อเพลิง กำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ เปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้าจ่ายให้กับศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง

กฟผ. รุกผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน มุ่งยกระดับสู่พลังงานเสีเขียว
กฟผ. รุกผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน มุ่งยกระดับสู่พลังงานเสีเขียว

โดยมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้ากังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 พร้อมศึกษาแนวทางการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผสมกับก๊าซธรรมชาติ ทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ซึ่งคาดว่าจะนำร่องในโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องระหว่างปี 2574 – 2583และมีแผนศึกษาการนำถ่านหินมาผลิตไฮโดรเจนพร้อมพัฒนาเทคโนโลยี การดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่กฟผ. คือโรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น และ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง

ส่วน CSIRO ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติของออสเตรเลีย เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ร่วมมือกับ กฟผ.ศึกษาวิจัยระบบกักเก็บพลังงาน และเชื้อเพลิงไฮโดรเจนทั้งการผลิต การกักเก็บ การขนส่ง รวมถึงการนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

ขณะที่ระบบกักเก็บพลังงาน โครงการ Victorian Big Battery หนึ่งในโครงการกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย ขนาด 300 เมกะวัตต์ สร้างความมั่นคงให้ระบบไฟฟ้า ให้กับผู้ใช้ไฟในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย

เช่นเดียวกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ของ กฟผ. ที่มีโครงการนำร่อง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิจำนวน 16 เมกะวัตต์สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี จำนวน 21 เมกะวัตต์ รวม 37 เมกะวัตต์ ช่วยรักษาเสถียรภาพในระบบไฟฟ้า และโครงการพัฒนาสมาร์ทกริด จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด4 เมกะวัตต์ เสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน

Source : ฐานเศรษฐกิจ

ยุโรปและญี่ปุ่นเป็นผู้นําโลกในแง่ของการยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจน ตามรายงานฉบับใหม่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฮโดรเจนคิดเป็นสิทธิบัตรไฮโดรเจนจํานวนมากที่สุดในปี 2554-2563

ภาคยานยนต์เป็นพื้นที่ของการขนส่งที่มีการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่สุดในการยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนแต่แนวโน้มในการยื่นจดสิทธิบัตรนั้นไม่สม่ำเสมอ โดยความสนใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการผลิตไฮโดรเจนยังไม่เป็นไปตามความก้าวหน้าในการใช้งานที่อาจเกิดขึ้น

ไฮโดรเจนมีอะไรที่อาจทําไม่ได้บ้าง มันสามารถขับเคลื่อนรถยนต์ มันสามารถช่วยผลิตเหล็ก มันสามารถทําให้บ้านร้อนขึ้นได้  แต่การพูดคุยทั้งหมดนี้เป็นเพียงอากาศร้อนจํานวนมาก หรือเสียงกระหึ่มของไฮโดรเจนเป็นความก้าวหน้าจริงหรือ?

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการวัดนวัตกรรมคือการยื่นจดสิทธิบัตร และนั่นคือสิ่งที่รายงาน first of its kind จากสํานักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) และสํานักงานสิทธิบัตรยุโรป (EPO) ทํา ต้องใช้ข้อมูลการยื่นจดสิทธิบัตรทั่วโลกเพื่อแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาไฮโดรเจนประเภทใดที่เกิดขึ้นเร็วที่สุด เช่นเดียวกับจุดที่ฮอตสปอตไฮโดรเจนของโลกอยู่ยุโรปและญี่ปุ่นเป็นผู้นํากลุ่มในแง่ของจํานวนสิทธิบัตร รองลงมาคือสหรัฐฯ สิทธิบัตรไฮโดรเจนเพื่ออนาคตพลังงานสะอาดกล่าว สหภาพยุโรปยื่น 28% ของตระกูลสิทธิบัตรระหว่างประเทศทั้งหมด (IPFs) ในเทคโนโลยีไฮโดรเจนในปี 2011-2020 โดยญี่ปุ่นอยู่ที่ 24% และสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 20%

อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ เป็นภูมิภาคเดียวที่ตัวเลข IPF ลดลงเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตที่เร็วที่สุดคือในประเทศจีนที่ 15.2% และในเกาหลีใต้ที่ 12.2%

สหภาพยุโรปกําลังนําโดยกลุ่มหลักสามกลุ่ม  ในมิวนิกและพื้นที่ Ruhr ในเยอรมนี และในเมืองหลวงของปารีสของฝรั่งเศส ในพื้นที่ Ruhr บริษัทผลิตเหล็ก Thyssenkrupp เป็นผู้สมัครอันดับต้น ๆ สําหรับสิทธิบัตร hydrogen-linked มองว่าปี 2024 เป็นวันที่จะเริ่มต้นโรงงานอุตสาหกรรม scale แห่งแรกโดยใช้การผลิตเหล็ก direct reduced ซึ่งเป็นวิธีการทําเหล็กที่สร้างการปล่อยก๊าซคาร์บอนประมาณหนึ่งในสี่ของเตาหลอมแบบดั้งเดิม

สิทธิบัตรการผลิตไฮโดรเจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฮโดรเจนคิดเป็นสิทธิบัตรไฮโดรเจนจํานวนมากที่สุดในปี 2554-2563 แนวโน้มหลักคือการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญไปสู่วิธีการผลิตที่ปล่อยมลพิษต่ำ

“เทคโนโลยีที่เกิดจากความกังวลเรื่องสภาพอากาศทําให้เกิด IPF เกือบ 80% ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฮโดรเจนในปี 2020” รายงานกล่าว “การเติบโตของพวกเขาส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากนวัตกรรมอิเล็กโทรไลซิสที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว”อิเล็กโทรไลซิสเป็นกระบวนการที่ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านน้ําเพื่อแยกออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน เป็นกระบวนการผลิตที่ปราศจากคาร์บอน ในขณะที่วิธีการผลิตไฮโดรเจนทั่วไปหลายวิธีเกี่ยวข้องกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหินและก๊าซ เพื่อแยกไฮโดรเจนออกจากอะตอมของคาร์บอนในมีเทน

คาดว่าขนาดตลาดของอิเล็กโทรไลเซอร์จะเพิ่มขึ้น 65 เท่าในทศวรรษนี้ เนื่องจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกมองหาการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการผลิตไฟฟ้า

ภาคยานยนต์เป็นพื้นที่ของการขนส่งที่มีการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่สุดในการยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนจุดสนใจหลักคือการสร้างเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่สามารถขับเคลื่อนยานพาหนะไปข้างหน้าได้ บริษัทยานยนต์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้กําลังครองพื้นที่นี้ โดยได้รับประโยชน์จากการทํางานร่วมกันอย่างชัดเจนกับงานของพวกเขาเกี่ยวกับเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลเซอร์ ในขณะเดียวกัน นวัตกรรมในเซลล์เชื้อเพลิงยานยนต์กําลังช่วยในการพัฒนาอิเล็กโทรไลซิส เนื่องจากเซลล์เชื้อเพลิงบางชนิดสามารถใช้ย้อนกลับสําหรับการอิเล็กโทรไลซิสได้อย่างยั่งยืน

Source : กรุงเทพธุรกิจ

วันศุกร์ (17 ก.พ.) บริษัท หย่งอันซิ่ง เทคโนโลยี จำกัด ผู้ผลิตจักรยานซึ่งมีฐานในเมืองฉางโจว มณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน เปิดเผยว่า ต้นแบบจักรยานพลังงานไฮโดรเจนแบบพับได้รุ่นใหม่ออกจากสายการผลิตในฉางโจวอย่างเป็นทางการแล้ว

จักรยานรุ่นใหม่นี้มีรูปร่างคล้ายจักรยานทั่วไป แต่มีการติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและอุปกรณ์กักเก็บไฮโดรเจนแรงดันต่ำ โดยเซลล์เชื้อเพลิงจะทำหน้าที่สร้างพลังงานขับเคลื่อนจักรยานเมื่อเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (proton exchange membrane) ได้รับไฮโดรเจนจากอุปกรณ์กักเก็บ

เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีข้อได้เปรียบหลายประการเมื่อเทียบกับจักรยานไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้แบตเตอรี่ลิเธียม เช่น อายุการใช้งานยาวนานกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากจะสร้างแค่น้ำเท่านั้นขณะทำงาน

บริษัทฯ ระบุว่าจักรยานพลังงานไฮโดรเจนรุ่นใหม่นี้จ่ายพลังงานตามความเร็วในการปั่นของผู้ขี่ โดยจะหยุดจ่ายพลังงานเพิ่มเมื่อความเร็วแตะที่ 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อนึ่ง จักรยานรุ่นใหม่ชุดแรกจะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตจำนวนมากช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยคาดว่าจะมีกำลังการผลิตแตะ 200,000 คันต่อปี ภายในปี 2025

ที่มา/ภาพสำนักข่าวซินหัว

Source : MGR Online

เมื่อไม่นานนี้ คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนและสหรัฐฯ เผยแพร่ผลการประเมินการใช้พลังงานไฮโดรเจนสะอาดของภาคอุตสาหกรรมหนักและการขนส่งหนักของจีนในอนาคต ซึ่งระบุว่าพลังงานไฮโดรเจนสะอาดสามารถลดการปล่อยคาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญ