News & Update

ปตท. ชู ‘พลังงานไฮโดรเจน’ สร้างโอกาสธุรกิจ สร้างความยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดภัยพิบัติทั่วโลก นานาประเทศต่างมุ่งเป้าลดสัดส่วนการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะถ่านหินและน้ำมัน เพราะมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก 

ดังนั้น “พลังงานไฮโดรเจน” ถือเป็นเชื้อเพลิงที่มีการเผาไหม้สะอาด ไม่ปล่อยมลพิษ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและยังนำไปใช้เป็นพลังงานที่หลากหลายจึงตอบโจทย์การ “ลดโลกร้อน” โดยปัจจุบันพลังงานไฮโดรเจนได้รับความสนใจจากทั่วโลก เชื่อว่าจะเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงาน (Energy Transition) จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ของประเทศไทยที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย

ทั้งนี้ ไฮโดรเจน (H2) มีการคิดค้นเพื่อใช้งานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยน้ำ (H2O) เป็นสารประกอบที่ประกอบสำคัญ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน ทั้งนี้ไฮโดรเจนมีคุณสมบัติอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ โดยจะเปลี่ยนสถานะไปตามอุณหภูมิและแรงดัน โดยสามารถผลิตได้จากหลายวิธีการ ซึ่งแต่ละกระบวนการผลิตปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่ต่างกัน จึงมีการเรียกชื่อไฮโดรเจนด้วยสีต่าง ๆ ตามวิธีการผลิต ดังนี้

  • ไฮโดรเจนสีชมพู (Pink Hydrogen) ผลิตโดยใช้กระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ (Water Electrolysis) ด้วยไฟฟ้าที่ใช้มีต้นกำเนิดมาจากพลังงานนิวเคลียร์
  • ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ผลิตจากกระบวนการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ (Water Electrolysis) โดยไฟฟ้ามาจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม 

“ไฮโดรเจนสีเขียวจึงเป็นพลังงานสะอาดที่สุด แต่ในปัจจุบันการผลิตไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำที่รวมทั้งไฮโดรเจนสีฟ้า ชมพู เละเขียว มีสัดส่วนเพียง 1% ของไฮโดรเจนที่ใช้งานทั่วโลก แต่คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทด้านพลังงานหลังปี 2573 ปัจจุบันมีการใช้งานเทคโนโลยีไฮโดรเจนกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในฝั่งยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง”

ปตท. ชู \'พลังงานไฮโดรเจน\' สร้างโอกาสธุรกิจ สร้างความยั่งยืน

ทั้งนี้ ประเทศไทยกำหนดการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน 3 ภาคส่วน คือ

  • ภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และการกลั่นน้ำมัน 
  • ภาคการผลิตไฟฟ้า นำไฮโดรเจนไปใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงหรือผสมกับก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้ากังหันก๊าซผ่านกระบวนการเผาไหม้โดยตรงหรือผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) 
  • ภาคการขนส่ง สามารถใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงรวมถึงรถโดยสารและรถบรรทุก

แม้ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนปัจจุบันจะยังสูง แต่จะเริ่มมีแนวโน้มลดลง จากค่าเฉลี่ยต้นทุนพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมลดลงกว่า 40-90% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (2553-2563) ทำให้ราคาไฮโดรเจนสีเขียวที่ผลิตได้ทั่วโลกอยู่ในช่วง $2 – $10 ต่อกิโลกรัม

ปตท. ชู \'พลังงานไฮโดรเจน\' สร้างโอกาสธุรกิจ สร้างความยั่งยืน

ตามแผนนโยบายภาครัฐได้วางแนวทางพัฒนาส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนของประเทศไทยสอดคล้อง 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจ 2. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรม 3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 4. ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ 

  • ระยะสั้น (ปี 2568-2573) เตรียมความพร้อม โครงการสาธิตเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานรองรับเทคโนโลยีไฮโดรเจน และปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน
  • ระยะกลาง (ปี 2574-2583) พัฒนาไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงานผสมไฮโดรเจน 5-10% ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบท่อส่งก๊าซ การนำไฮโดรเจนมาใช้ในภาคขนส่งหรือในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขยายสถานีไฮโดรเจน ส่งเสริมการลงทุน และสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ติดตาม และปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ มาตรฐานคุณภาพก๊าซฯ และการจัดเก็บ
  • ระยะยาว (ปี 2584-2593) เพิ่มสัดส่วนผสมไฮโดรเจน 10-20% ในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ FCEV การกำหนดภาษีคาร์บอนในโครงสร้างราคา พัฒนาแพลตฟอร์มและการซื้อขายคาร์บอน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและขยายสถานีเติมไฮโดรเจน สร้างโครงข่ายไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน RE-power รองรับไฮโดรเจนสีเขียว และกำหนดมาตรฐานการขนส่ง FCEV และสถานีเติมไฮโดรเจน

ปตท. ในฐานะผู้นำทางด้านพลังงาน และบริษัทในกลุ่มเล็งเห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้ไฮโดรเจนเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ รวมถึงโอกาสในการสร้างธุรกิจ โดยที่ผ่านมาได้ติดตามความความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไฮโดรเจนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

โดยปี 2562 ได้จัดตั้ง Hydrogen Thailand Club (ปัจจุบันคือ Hydrogen Thailand Association) ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมและผลักดันในเรื่องเทคโนโลยีไฮโดรเจนให้กับประเทศไทย ปัจจุบันมีสมาชิก 77 บริษัท

ปี 2565 ร่วมกับ OR, TOYOTA และ BIG ติดตั้งสถานีนำร่อง Hydrogen Station สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง FCEV ทั้งสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถบรรทุกแห่งแรกของประเทศไทย ณ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อศึกษาการใช้ไฮโดรเจนในภาคขนส่งของประเทศ

ขณะที่ ปตท.สผ. ได้ชนะการประมูลการพัฒนาโครงการไฮโดรเจนสีเขียวในประเทศโอมาน นอกจากนี้สถาบันนวัตกรรมปตท. ยังได้ดำเนินการทดสอบการเผาไหม้เชื้อเพลิงก๊าซไฮโดรเจนผสมใน ก๊าซธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต

Source : กรุงเทพธุรกิจ

รมว.พลังงาน เผยแผนปี 2567 เร่งปรับโครงสร้างน้ำมัน หลังปี 2566 ใช้เงิน 1 แสนล้านบาทแก้วิกฤติราคาพลังงาน

พลังงาน ประกาศนโยบายปี 2567 เร่งปรับโครงสร้างน้ำมันทุกส่วน สร้างความเป็นธรรมด้านราคา รัฐมนตรีพลังงานระบุกำลังพิจารณาทั้งมาตรการภาษีน้ำมันกลุ่มเบนซินที่จะสิ้นสุด 31 ม.ค. 2567, มาตรการยกร่างกฎหมายราคาน้ำมันเพื่อเกษตรกร…

ราคาขายปลีกน้ำมันของไทย ถูก-แพง แค่ไหนในอาเซียน?

ตั้งแต่ต้นปี 2567 ถึงปัจจุบัน ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีการปรับขึ้น-ลง เฉลี่ยราว 4 – 6 ครั้งต่อเดือน ตามกลไกราคาในตลาดโลก…

ซาอุฯ รับซื้อต้นไม้ 5 หมื่นล้านต้น สอท.ชี้โอกาสสร้างรายได้เพิ่มให้คนไทย

สอท.เผยประเทศซาอุดีอาระเบีย มีเผนนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลก 5 หมื่นล้านต้น ชี้เป็นโอกาสไทยส่งออก ขณะกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดตัวเลข ผู้ขอนำไม้ยืนต้นมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว 1.4 แสนต้น…