News & Update

สรุปสถานการณ์ “ตลาดคาร์บอนเครดิต” ทั่วโลก

ตลาดคาร์บอนทั่วโลกเติบโตรวดเร็ว แต่ปี 2022 เริ่มชะลอตัวลง จากกลไกตลาด ด้านอุปทาน (Supply) การรับรองเครดิตใหม่และด้านอุปสงค์ (Demand) ของผู้ใช้เครดิตที่ปรับลดลง

ข้อมูลจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ อบก. สรุปภาพรวม ตลาดคาร์บอนเครดิต ทั่วโลก โดยพบว่า หลังจากปี 2020-2021 ตลาดคาร์บอนทั่วโลกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2022 ตลาดคาร์บอนเริ่มชะลอตัวลง เกิดจากกลไกตลาดทั้งด้านอุปทาน (Supply) การรับรองเครดิตใหม่และด้านอุปสงค์ (Demand) ของผู้ใช้เครดิตที่ปรับลดลง

ความต้องการส่วนใหญ่ยังคงมาจาก ภาคธุรกิจเอกชนแบบสมัครใจ ขณะที่ความต้องการจากภาคบังคับเริ่มมีความต้องการมากขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2022 มีการรับรองคาร์บอนเครดิตลดลงประมาณ 22% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาจากมาตรฐานอิสระ (Independent crediting mechanism) ซึ่งหน่วยงานที่ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตจะเป็นองค์กรอิสระ เช่น Verified Carbon Standard, Gold Standard มีจำนวน 275 MtCO2eq คิดเป็น 58% จากปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ถูกรับรองทั้งหมด 475 MtCO2eq

ขณะที่มาตรฐานระหว่างประเทศ (International crediting mechanism) ซึ่งหน่วยงานที่ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตคือ UNFCCC เช่น โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เติบโตขึ้น คิดเป็นประมาณ 30% ซึ่งคาร์บอนเครดิตของโครงการ CDM สามารถใช้เพื่อการชดเชยในเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ได้

นอกจากนี้มาตรฐานภายในประเทศ (Domestic crediting mechanism) ซึ่งหน่วยงานที่ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตจะเป็นภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นสัดส่วนประมาณ 10% เท่านั้น

มีหลายประเทศเริ่มพัฒนามาตรฐานการรับรองคาร์บอนเครดิตภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อการชดเชยในระบบซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาษีคาร์บอน แบบสมัครใจจากภาคเอกชน และภายใต้ความตกลงปารีส ข้อ 6 (Paris Agreement Article 6) ได้

คาร์บอนเครดิตที่ถูกรับรองส่วนใหญ่มาจากประเภทพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) สัดส่วนกว่า 55% ซึ่งปัจจุบันต้นทุนในการทำโครงการประเภทนี้เริ่มถูกลงในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้หลัก Financial additionality เพื่อดึงดูดให้ทำโครงการ ส่งผลให้โครงการที่ขึ้นทะเบียนใหม่ๆ ของประเภทพลังงานหมุนเวียนจะเริ่มลดลง ขณะที่สถิติการขึ้นทะเบียนโครงการใหม่ประเภทป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Forestry and land use) มีสัดส่วนกว่า 54% ส่งให้ผลการรับรองคาร์บอนเครดิตที่มาจากประเภทนี้มีมากขึ้นเป็นหลักในอนาคต เพราะผู้พัฒนาโครงการทราบดีว่าคาร์บอนเครดิตจากโครงการเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือโครงการที่สามารถกักเก็บไว้ได้ในระยะยาว สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ภาคธุรกิจเอกชนมุ่งสู่ง Net Zero ได้ ซึ่งในอนาคตจะมีความต้องการคาร์บอนเครดิตประเภทนี้สูง

ด้านอุปสงค์รายงานจาก Ecosystem Marketplace พบว่า มีการใช้คาร์บอนเครดิต (Retirement) ลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 1.3% แต่ยังคงสูงกว่าปี 2019 และ ปี 2020 กว่า 140% และ 70% ตามลำดับ โดยปี 2022 มีการใช้คาร์บอนเครดิตประมาณ 196 MtCO2eq ส่วนใหญ่มาจากการใช้ในภาคสมัครใจ และข้อมูลจากภาครัฐระบุว่าประมาณ 43 MtCO2eq ใช้ในภาคบังคับ

การใช้คาร์บอนเครดิตส่วนใหญ่มาจากโครงการประเภทพลังงานหมุนเวียน คิดเป็น 52% ซึ่งเป็นประเภทที่มีขายอยู่มากที่สุดในตลาดคาร์บอนและมีราคาถูก สัดส่วนอีกกว่า 30% มาจากโครงการประเภทเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานจากอุปกรณ์ในครัวเรือน (Household device) เช่น Clean cookstove เป็นผลมาจากผู้ซื้อคำนึงถึงผลประโชน์ร่วม (Co-benefit) ที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่าราคาเครดิตประเภทนี้จะสูงกว่าประเภทอื่นๆ ก็ตาม

นอกจากนี้ข้อมูลจาก Allied Offsets ระบุว่าผู้ซื้อ มีแนวโน้มที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตที่มี Vintage year หรือปีที่ได้รับการรับรองใหม่กว่า โดยเฉพาะกลุ่ม Vintage year หลังปี 2016 มีอัตราการใช้สูงขึ้นเรื่อยๆ

สรุปสถานการณ์ “ตลาดคาร์บอนเครดิต” ทั่วโลก

Source : ฐานเศรษฐกิจ

เนื้อหาน่าสนใจ :  โครงสร้างราคาน้ำมัน และการลดภาษี

อีวี มี พลัส เดินหน้าผลักดันประเทศไทยสู่สังคม EV อย่างเต็มรูปแบบ

บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเช่ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดกิจกรรมทดลองขับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ AION ที่ได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ…

พพ.เร่งโหมจัดกิจกรรม “ประหยัดพลังงาน” กระจายทั่วภูมิภาครับราคาพลังงานพุ่ง

พพ.รณรงค์ประหยัดพลังงานเข้มข้น ลงพื้นที่จัดกิจกรรม “รวมพลังคนไทย ลดใช้พลังงาน หาร 2” ระดับภูมิภาค ทั้งภาคกลาง อีสาน และใต้…

เนสท์เล่ฯ ผนึก กฟผ. นำร่องผลิตไอศกรีมด้วยพลังงานทดแทน 100% เป็นครั้งแรกในธุรกิจ FMCG

กลุ่มธุรกิจเนสท์เล่ ไอศกรีม ภายใต้บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด นำร่องผลิตไอศกรีมโดยใช้พลังงานทดแทน 100% ภายใต้โครงการนำร่องรูปแบบใหม่กับ กฟผ. ในปี 2023 นับเป็นรายแรกของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค…

Leave a Reply