ปี 2020 โลกมีก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ที่ 37 GtCO2 หรือ 37,000 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า โดย GHG มาจากก๊าซ 3 ประเภทหลัก
บทความโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ปรึกษาบริษัท อินเทลลิเจนท์ รีเสิร์ช คอนซัลแตนท์ (ไออาร์ซี) จำกัด
ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 75% มีเทน (CH4) 16% และร้อยละ 6 จากไนตรัสออกไซด์ (N2O) แม้ว่า CH4 กับ N2O ปล่อยน้อยกว่า CO2 ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่า CO2 หลายเท่าตัว CH4 ทำให้เกิด GHG 25 เท่า และ N2O 300 เท่า
ภาคเกษตรกรรมปล่อย GHG ร้อยละ 20 หรือเท่ากับ 7,400 ล้านตันคาร์บอน เป็นอันดับสามรองจากอุตสาหกรรม สัดส่วน 29% (น้ำมัน&ก๊าซ เหล็ก ซิเมนต์ เคมี อุตสาหกรรมอื่น) และการทำไฟฟ้าสัดส่วน 29% (ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน)
สำหรับภาคเกษตรนั้น ปศุสัตว์และพืชทำให้เกิด GHG มากสุด โดยปศุสัตว์ปล่อย CH4 14.5% ของ GHG (วัว 1 ตัวปล่อย 220 ปอนด์ต่อปี) (Wikipedia) แต่ Breakthrough Institute ในรายงาน “Livestock Don’t Contribute 14.5% of Global GHG Emission)” เมื่อ MAR 20, 2023 บอกว่าปศุสัตว์ปล่อย CH4 มากถึง 11-19.6% และปล่อยไนตรัสออกไซด์ (N2O) 6% ของ GHG ในจำนวนพืชทั้งหมด
การทำข้าวปล่อย CH4 มากสุดสัดส่วน 1.5% ของ GHG (Innovation in Reducing Methane Emissions from the Food Sector : Side of Rice, hold the methane, Julia Kurnik, 12 April 2022)
“เวียดนาม” เป็น 1 ใน 10 ประเทศอาเซียนที่ปล่อย GHG เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเวียดนามปล่อย GHG เพิ่มจาก 220 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2019 เพิ่มเป็น 454.7 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และภายใต้การพัฒนาประเทศของเวียดนามปี 2021-2030 ตาม National Climate Change Policy โดยมีเป้าหมายลด Net Zero ในปี 2050 เหตุผลหนึ่งมาจาก FDI ที่เข้าไปในเวียดนามมาก รวมไปถึงการมี FTA กับยุโรปตามแผน Europe Green Deal
หนึ่งในกิจกรรมเศรษฐกิจที่เวียดนามต้องการลด GHG คือ “การปลูกข้าว” เวียดนามมีพื้นที่ปลูกข้าว 47 ล้านไร่ มีผลผลิตข้าวเปลือกปีละ 42 ล้านตัน ผลิตข้าวสารได้ 30 ล้านตัน (2022) ปล่อย GHG 44 ล้านตันคาร์บอน คิดเป็น 10% ของ GHG รวม
พื้นที่ปลูกข้าวของเวียดนาม 90% เป็นน้ำชลประทาน (“GHG mitigation potential in Vietnam’s rice sector through outscaling of water-saving technigue”, IRRI) ทำให้ข้าวเวียดนามในน้ำชลประทานจึงเป็นแหล่งที่มาจาก CH4 สอดคล้องกับ Ronald L. Sass (Department of Ecology and Evolutionary Biology, Rice University พบว่า CH4 ปล่อยมาจากการทำนาข้าวชลประทาน “irrigated rice ≥ continuously flooded rice > flood prone rainfed rice ≥ deepwater rice > drought prone rainfed rice > tidal rice”
ปี 2030 เวียดนามมีเป้าหมายลด GHG ในนาข้าวให้ต่ำกว่า 30 ล้านตันคาร์บอน ตามแผนปฎิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก (Nationally Determined Contribution :NDC) โดยมีพื้นที่เป้าหมาย 1.7 ล้านเฮกตาร์ หรือ 10.7 ล้านไร่ แบ่งออกเป็นรัฐบาลสนับสนุน 1.2 ล้านเฮกตาร์ และต่างประเทศสนับสนุน 5 แสนเฮกตาร์ ทำให้ในปี 2030 เวียดนามจะสามารถลด GHG ของข้าวลงไป 6.5 ล้านตันคาร์บอน
รัฐบาลเวียดนามผลักดันข้าวคาร์บอนต่ำด้วยเหตุผล 2 เรื่องคือ ตอบโจทย์โลกร้อน และปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวตามกระแสโลก โดยมีกิจกรรมคือ 1.นโยบายข้าวคาร์บอนต่ำชัดเจน ทั้งระดับชาติและแผน NDC (ไทย อินโดนีเซีย ไม่ได้ระบุเรื่องข้าวในแผน NDC)
2.ขับเคลี่อน 4 ฝ่าย โดยทำงานระหว่าง รัฐ เอกชน วิชาการ และชาวนา เช่น บริษัท Loc Troi group สำนักงานอยู่ในโฮจิมินห์เข้ามาทำฟางข้าวเป็นปุ๋ยออร์แกนิค ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ไปแทนปุ๋ยเคมีให้ข้าวมีผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น บริษัท My Lan Group ที่อยู่ในจังหวัด Tra Vinh จัดทำระบบการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าว ทำให้สามารถลดปุ๋ยไป 40 – 60% เพิ่มผลผลิต 10% และลด GHG ได้ 60%
3.พัฒนา “Alternative Wet and Dry (AWD)” นาข้าวลด GHG ได้ 40% 4. “Rice-Shrimp Model” เพื่อเลี้ยงกุ้งก่อนปลูกข้าว หลังจากนั้นปลูกข้าวในหน้าฝน วิธีนี้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี (ช่วยลด GHG) เพราะขี้กุ้งเป็นปุ๋ยแทน 5.พัฒนาพันธุ์ข้าวโลกร้อน เช่น พันธุ์ข้าวทนน้ำเค็ม (Salt-Tolerant Rice Varieties : STRVs) ได้แก่พันธุ์ Lua Soi, Mot Bui Hong, and Nang Quot Bien (Rice Breeding in Vietnam : Retrospects, Challenges and Prospects, Tran Dang Khan และทีม, 2021) และพันธุ์ OM576, OM 4900, OM5629, OM6377 เป็นต้น (Salt-tolerant rice variety adoption in the Mekong River Delta, SongYi Paik, July 9, 2019)
Source : ฐานเศรษฐกิจ