News & Update

หลอดกระดาษอาจไม่เป็นมิตรกับโลกอย่างที่คิด และอาจมีสารอันตรายพ่วงมาด้วย

ปัจจุบันมีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกครั้งเดียวแล้วทิ้งกัยอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น การลดการใช้หลอดพลาสติกเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษกันมากขึ้น ล่าสุดนักวิจัยยุโรปได้ออกมาเตือนว่าหลอดกระดาษอาจเป็นอันตรายและอาจไม่ได้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าหลอดพลาสติก

งานศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Additives and Contaminants เผยเกี่ยวกับสารพิษ forever chemicals หรือสารเคมีอมตะ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม โดยนักวิจัยยุโรปได้ทำการศึกษาและพบว่า มีการพบสารชนิดนี้ในหลอดกระดาษ 18-20 แบรนด์ในท้องตลอด

หลอดกระดาษอาจไม่เป็นมิตรกับโลกอย่างที่คิด และอาจมีสารอันตรายพ่วงมาด้วย

Dr. Thimo Groffen นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจาก University of Antwerp กล่าวว่า บ่อยครั้งที่เราจะเห็นโฆษณาเกี่ยวกับหลอดที่ทำจากวัสดุที่เป็น plant-based อย่าง หลอดกระดาษ หรือหลอดไม้ไผ่ ว่ามันเป็นหลอดดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าหลอดพลาสติก ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป

นักวิจัยได้ทดลดงสุ่มเก็บตัวอย่างหลอดที่ขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชำ และหลอดที่ใช้ตามร้านอาหาร ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำหลอดจะมีความแตกต่างกัน มีทั้งหลอดที่ทำจากกระดาษ ไม่ไผ่ stainless steel แก้ว และหลอดพลาสติกจาการตรวจหาสาร PFAS ซึ่งเป็นหนึ่งในสารเคมีอมตะ โดยสารเคมี PFAS พบได้ตามวัตถุต่างๆ ตั้งแต่เครื่องแต่งการไปจนถึงเครื่องครัว และสารชนิดนี้ก็เป็นอันตรายกับทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ในการทดสอบหาสาร PFAS พบว่าในหลอดกระดาษมีมากถึง 90% หลอดไม้ไผ่พบ 80% หลอดพลาสติกพบ 75% หลอดที่ทำจากแก้วพบ 40% และหลอดที่ทำจากสแตนเลสไม่พบสารชนิดนี้

ที่มา : The Weather Network

Source : Spring News

รมว.พลังงาน เผยแผนปี 2567 เร่งปรับโครงสร้างน้ำมัน หลังปี 2566 ใช้เงิน 1 แสนล้านบาทแก้วิกฤติราคาพลังงาน

พลังงาน ประกาศนโยบายปี 2567 เร่งปรับโครงสร้างน้ำมันทุกส่วน สร้างความเป็นธรรมด้านราคา รัฐมนตรีพลังงานระบุกำลังพิจารณาทั้งมาตรการภาษีน้ำมันกลุ่มเบนซินที่จะสิ้นสุด 31 ม.ค. 2567, มาตรการยกร่างกฎหมายราคาน้ำมันเพื่อเกษตรกร…

“พลังงาน” เร่งปตท.สผ.ผลิตก๊าซฯ อ่าวไทยเพิ่ม 800 ล.ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กดค่าไฟ

"พลังงาน" เร่งปตท.สผ.ผลิตก๊าซฯอ่าวไทยเพิ่ม 800 ล.ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กดค่าไฟ ตามแผนเพิ่มกำลังการผลิตโครงการจี 1/61 วันที่ 1 เมษายน…

Leave a Reply