เหมืองทะเลลึก หรือ การทำเหมืองเพื่อขุดโลหะและแร่จากพื้นก้นทะเล แม้มีการระบุว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแร่ธาตุที่สำคัญทั่วโลกได้ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
มีแร่ธาตุสำคัญมูลค่าหลายพันล้านตันและหลายพันล้านดอลลาร์ รวมถึง นิกเกิล ทองแดง โคบอลต์ และแมงกานีสที่อยู่ใต้ก้นทะเล ที่ก่อตัวอยู่ใต้พื้นมหาสมุทรเป็นเวลาหลายล้านปี โลหะเหล่านี้ถูกระบุว่า มีความสำคัญต่อ “แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า” และการเปลี่ยนผ่านของ “พลังงานสะอาด” พบได้มากมายในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่า พื้นที่สำหรับสำรวจแหล่งแร่ใต้ทะเล หรือ the Clarion-Clipperton Zone (CCZ)
นิกเกิล ทองแดง โคบอลต์ และแมงกานีสพบอยู่มากมายบนพื้นทะเล ในรูปของก้อนโพลีเมทัลลิก ซึ่งเป็นความเข้มข้นของแร่ธาตุทรงกลมที่ครอบคลุมถึง 70% ของพื้นทะเลในบางพื้นที่ โดยในเขต Clarion-Clipperton Zone ประเมินว่ามีก้อนแร่มากกว่า 2 หมื่นล้านตันในพื้นที่ เจอราร์ด บาร์รอน ซีอีโอของ The Metals Company กล่าว
ปี 2020 – 2030 ความต้องการแบตเตอรี่สำหรับนิกเกิลถูกกำหนดให้เพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า ความต้องการแมงกานีส คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 8 เท่า และความต้องการแบตเตอรี่โคบอลต์ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4 เท่า ตามรายงานของ Benchmark Mineral Intelligence ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นติดตาม โลหะเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ข้อมูลจาก CNBC อ้างอิงข้อมูลของ The Metals Company ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจแร่ใต้ทะเลลึกที่มุ่งเน้นการรวบรวม แปรรูป และการกลั่นก้อนโลหะโพลีเมทัลลิกที่พบบนพื้นทะเลของเขต Clarion Clipperton ของมหาสมุทรแปซิฟิก (CCZ) พบว่า โลกผลิตนิกเกิลประมาณ 3.3 ล้านตันในปีที่แล้ว เเละคาดว่าตลาดนิกเกิลจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการขุดในทะเลลึก เนื่องจากแร่ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และการขุดนิกเกิลในอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าครั้งใหญ่ในป่าฝนของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ
พื้นที่แห่งหนึ่งที่ The Metals Company ถือใบอนุญาตการสำรวจที่เรียกว่า NORI ได้รับการจัดอันดับว่ามีแหล่งสะสมนิกเกิลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และครอบคลุมพื้นทะเลเกือบ 29,000 ตารางไมล์
แม้ว่าจะเป็นเพียงประมาณ 0.02% ของก้นทะเลทั้งหมด แต่บริษัทกล่าวว่าทรัพยากรนี้เมื่อรวมกับพื้นที่โครงการอื่นที่บริษัทมีสัญญาสำรวจ มีนิกเกิล ทองแดง โคบอลต์ และแมงกานีส เพียงพอที่จะให้พลังงานประมาณ 280 ล้านคัน (EVs) ซึ่งเป็นปริมาณทั้งหมดของจำนวนรถยนต์ (แก๊สและไฟฟ้า) ที่ใช้งานในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
เหมืองใต้ทะเลลึก ยังมีอุปสรรค
การขุดโลหะเหล่านี้ด้วยการขุดใต้ทะเลลึกกลายเป็นประเด็นถกเถียงระดับโลก เพราะหลายคนกลัวว่าอาจเกิดการหยุดชะงักทางระบบนิเวศขึ้นกับส่วนหนึ่งของโลกที่ยังไม่มีการสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น กฎระเบียบระหว่างประเทศสำหรับการทำเหมืองใต้ทะเลลึกยังไม่ได้รับการสรุป
ข้อมูลจาก กรีนพีช ระบุว่า องค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (The International Seabed Authority : ISA) ออกสัมปทาน 31 ฉบับในการสำรวจพื้นที่เพื่อทำโครงการ ซึ่งกินพื้นที่มากกว่า 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่กว่าพื้นที่เยอรมนีถึง 4 เท่า
สัมปทานส่วนใหญ่ครอบคลุมการสำรวจพื้นที่พื้นที่ใต้ทะเลลึกใน พื้นที่สำหรับสำรวจแหล่งแร่ใต้ทะเล ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกซึ่งตั้งอยู่ข้ามเส้นศูนย์สูตร ระหว่างฮาวายและเม็กซิโก โดยพื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยสินแร่ ไม่ว่าจะเป็น ทองแดง นิกเกิล แมงกานีส และแร่ชนิดอื่น ๆ
หลายประเทศรวมถึง เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน ชิลี นิวซีแลนด์ และอีกหลายรัฐในหมู่เกาะแปซิฟิก ลงความเห็นว่าโครงการเหมืองทะเลลึกเสี่ยงเป็นภัยคุกคามต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยผู้คัดค้านเรียกร้องให้โครงการหยุดการดำเนิการขอใบอนุญาตชั่วคราว และพยายามเรียกร้องไม่ให้รัฐบาลออกใบอนุญาตการทำเหมือง เเละยังมีเสียงเรียกร้องจากนักรณรงค์อีกหลายประเทศรวมถึงในอังกฤษที่นักรณรงค์เรียกร้องให้อังกฤษเข้าร่วมกับรัฐบาลจากประเทศอื่นและสนับสนุนการระงับการดำเนินการชั่วคราวนี้
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ระงับการทำเหมืองในทะเลลึกชั่วคราว บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง Google และ Samsung รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ BMW, Volkswagen, Volvo, Renault และ Rivian ได้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าวแล้ว
แต่ก็มีการจะโต้แย้งว่า the Clarion-Clipperton Zone (CCZ) ซึ่งเป็นที่ที่ The Metals Company วางแผนจะทำเหมืองมีการสำรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากกว่าพื้นที่ใต้ทะเลลึกอื่นๆ
ไม่ว่าธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองใต้ทะเลลึกจะทำให้อุตสาหกรรมโลหะทั่วโลกมีความยั่งยืนมากขึ้นหรือน้อยลง และผลกระทบต่อระบบนิเวศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เเละจะพิสูจน์ว่าคุ้มค่าสำหรับผลตอบแทนจากพลังงานสะอาดหรือไม่ ก็ยังคงเป็นประเด็นของการถกเถียง มุมมอง และการซักถามทางวิทยาศาสตร์
ข้อมูล
Source : ฐานเศรษฐกิจ