News & Update

เปิดต้นไม้ไทย 38 ชนิด ที่มีโอกาสส่งออกตลาดซาอุดิอาระเบีย

ก่อนหน้านี้กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แนะปลูกต้นไม้ 58 ชนิด ได้คาร์บอนเครดิตแถมช่วยโลก ซึ่งต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ได้เฉลี่ย 9 – 15 กิโลกรัม แต่…ล่าสุดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผย เปิดลิสต์ 38 ต้นไม้ไทย โอกาสส่งออกตลาดซาอุฯ

ต้นไม้มีประโยชน์มากมายให้กับโลกใบนี้ ก่อนหน้านี้มีการนำเสนอข้อมูลการปลูกต้นไม้ 58 ชนิด ได้คาร์บอนเครดิตแถมช่วยโลก โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แนะปลูกต้นไม้ 58 ชนิด ได้คาร์บอนเครดิต แถมช่วยโลก ซึ่งต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ได้เฉลี่ย 9 – 15 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี แต่มีต้นไม้บางชนิดที่สามารถนำปริมาณการดูดซับคาร์บอนมาคำนวณแลกเปลี่ยนเป็น “คาร์บอนเครดิต” และนำมาซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ ปัจจุบันราคา “คาร์บอนเครดิต” อยู่ที่ 120 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์

สำหรับต้นไม้ 58 ชนิดในไทยที่นำมาคำนวณแลกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิต ได้ ประกอบด้วย 1.ตะเคียนทอง 2.ตะเคียนหิน 3.ตะเคียนชันตาแมว 4.ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา) 5.สะเดา 6.สะเดาเทียม 7.ตะกู 8.ยมหิน 9.ยมหอม 10.นางพญาเสือโคร่ง 11.นนทรี 12.สัตบรรณ 13.ตีนเป็ดทะเล 14.พฤกษ์ 15.ปีบ 16.ตะแบกนา 17.เสลา 18.อินทนิลน้ำ19.ตะแบกเลือด 20.นากบุด 21.ไม้สัก 22.พะยูง 23.ชิงชัน 24.กระซิก 25.กระพี้เขาควาย 26.สาธร 27.แดง 28.ประดู่ป่า 29.ประดู่บ้าน 30.มะค่าโมง

31.มะค่าแต้ 32.เคี่ยม 33.เคี่ยมคะนอง 34.เต็ง 35.รัง 36.พะยอม 37.ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธรจำปีป่าจำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร) 38.แคนา 39.กัลปพฤกษ์ 40.ราชพฤกษ์ 41.สุพรรณิการ์ 42.เหลืองปรีดียาธร 43.มะหาด 44.มะขามป้อม 45.หว้า 46.จามจุรี 47.พลับพลา 48.กันเกรา 49.กะทังใบใหญ่ 50.หลุมพอ 51.กฤษณา 52.ไม้หอม 53.เทพทาโร 54.ฝาง 55.ไผ่ทุกชนิด 56.ไม้สกุลมะม่วง 57.ไม้สกุลทุเรียน 58.มะขาม

นอกจากต้นไม้ 58 ชนิดในไทยที่นำมาคำนวณแลกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิต และยังมีต้นไม้ไทย 38 ชนิด ที่มีโอกาสส่งออกตลาดซาอุดิอาระเบีย โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผย เปิดลิสต์ 38 ต้นไม้ไทย โอกาสส่งออกตลาดซาอุฯ 1.ชมพูพันธุ์ทิพย์ (Tabebuia rosea) 2.นนทรี (Peltophorum pterocarpum, Yellow poinciana) 3.พุทราจีน (Ziziphus jujuba) 4.ศรีตรัง (Jacaranda mimosifolia) 5.หูกวาง (Terminalia catappa) 6.อรชุน (Terminalia arjuna, Arjuna Tree) 7.ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina, Weeping fig)

เปิดต้นไม้ไทย 38 ชนิด ที่มีโอกาสส่งออกตลาดซาอุดิอาระเบีย

8.พฤกษ์ (Albizia lebbeck) 9.ยี่เข่ง (Lagerstroemia indica)  10.งิ้ว (Bombax cebia, Red kapok tree) 11.หางนกยูงฝรั่ง (Delonix regia) 12.มัลเบอร์รี (Morus nigra, Blackberry) 13.มะรุม (Moringa oleifera) 14.เลี่ยน (Melia azedarach) 15.มะเดื่อ (Ficus carica, Fig) 16.เลมอน (Citrus limon)   17.ส้มซ่า (Citrus aurantium) 18.คารอบ (Ceratonia siliqua, Carob Tree) 19.ส้มแมนดาริน (Citrus reticulata, Mandarin orange)  20.มะตูมซาอุ (Schinus terebinthifolius)

เปิดต้นไม้ไทย 38 ชนิด ที่มีโอกาสส่งออกตลาดซาอุดิอาระเบีย

21.กระถินเทพา (Acacia mangium) 22.หยีน้ำ (Millettia pinnata) 23.นิโครธ (Ficus benghalensis) 24.ชัยพฤกษ์ (Cassia javanica) 25.ก้ามปู (Albizia saman) 26.ปีบ (Millingtonia hortensis, Tree jasmine) 27.เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegate)   28.ชงโค (Bauhinia purpurea)  29.ราชพฤกษ์ (Cassia fistula) 30.มะขามเทศ (Pithecellobium dulce) 31.มะกอกโอลีฟ (Olea europaea, Olive) 32.โพ (Ficus religiosa, Sacred fig)

เปิดต้นไม้ไทย 38 ชนิด ที่มีโอกาสส่งออกตลาดซาอุดิอาระเบีย

33.สะเดา (Azadirachta indica)  34.มะขาม (Tamarindus indica) 35.โพทะเล (Thespesia populnea) 36.กร่าง (Ficus altissima) 37.ปอทะเล (Hibiscus tiliaceus, Seacoast mallow) 38.ทามาริสก์ (Tamarix aphylla, Athel pine)

Source : Spring News

งบประมาณคาร์บอนคืออะไร? ช่วยให้บรรลุเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างไร?

โดยสร้างความสมดุลที่เท่ากันระหว่างคาร์บอนที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศและคาร์บอนที่ถูกกำจัดออกจากบรรยากาศ แต่เนื่องจากคาร์บอนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ จึงต้องคำนวนงบประมาณใหม่บ่อยกว่าที่คาดไว้ งบประมาณคาร์บอนทำงานอย่างไร ข้อมูลจาก World Economic Forum ระบุว่า งบประมาณคาร์บอนพยายามสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนหนึ่ง เช่น ภาคการเกษตร กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกันในอีกภาคส่วนหนึ่ง สามารถช่วยจำกัดภาวะโลกร้อนได้เนื่องจากงบประมาณคาร์บอนเชื่อมโยงอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพิ่มเติม และสามารถเสนอแนวทางที่เป็นขั้นตอนในการบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศ…

มทร.กรุงเทพ จับมือ กฟน. ลงนาม MOU โครงการให้บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ฯ

รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จันทร์มณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ คุณวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการให้บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาและระบบบริหารจัดการพลังงาน

กลุ่มเซ็นทรัล สาน 6 กลยุทธ์ เพื่อความยั่งยืน ผ่านแคมเปญ THAMsformation

ปณิธานตลอด 77 ปี ของ “กลุ่มเซ็นทรัล” ดำเนินธุรกิจควบคู่การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วนให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทํา”-ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ…

Leave a Reply