News & Update

TCMA จับมือนิคมฯ ขยายสมาร์ทปาร์ค ลดก๊าซเรือนกระจก

TCMA สนับสนุน กนอ ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน สอดคล้องเจตนารมณ์พัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมดึงดูดนักลงทุนอุตสาหกรรม New S-Curve

นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า จากการขับเคลื่อน ‘MISSION 2023’ ร่วมกับ 25 พันธมิตร โดยตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2566 ด้วยการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเข้าสู่การใช้งานในประเทศทั้งหมดแทนปูนซีเมนต์ชนิดเดิมโดยเร็วที่สุด

การขับเคลื่อนงานก่อสร้างของนิคมฯ สมาร์ทปาร์ค ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน ก็จะเป็น Smart Infrastructure และเป็นต้นแบบของการพัฒนานิคมฯ ที่เป็นกลางทางคาร์บอน TCMA พร้อมสนับสนุนขยายไปยังทุกนิคมฯ อันเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนองตอบต่อนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการ การนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า การประกาศเจตนารมณ์นิคมอุตสาหกรรม Smart Park มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เป็นการสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593

TCMA จับมือนิคมฯ ขยายสมาร์ทปาร์ค ลดก๊าซเรือนกระจก

กนอ. ยกระดับมาตรฐานการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่มาบตาพุด เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve ด้วยการเสริมสร้างความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ทันสมัย ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ภายใต้แนวคิด “นิคมอุตสาหกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือกับ TCMA ในการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรม Smart Park มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการให้งานก่อสร้างนิคมฯ Smart Park ใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก แทนปูนซีเมนต์ชนิดเดิม

ซึ่งจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะก่อสร้างได้ถึงประมาณ 2,000,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ประมาณ 200,000 ต้น

Source : ฐานเศรษฐกิจ

รถไฟ EV อีก 50 คัน เตรียม ให้บริการเพิ่มปี 2566

ข้อมูลจากโฆษกรัฐบาล ระบุว่า ตามนโยบายของรัฐบาล สำหรับรถจักรพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ต้นแบบคันนี้ ประเทศไทยประกอบ และติดตั้งระบบแบตเตอรี่สำหรับรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเสร็จเมื่อปี 2565 ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของโลก โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย…

ญี่ปุ่นปิ๊งไอเดียไฟฟ้าจากหิมะ พลังงานสะอาดสุดเซฟในเหมืองหนาว

ระหว่างธันวาคมนี้ไปจนถึงมีนาคมปีหน้า จะได้มีการทดสอบ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากหิมะ ในเมืองอาโอโมริ ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเมืองซึ่งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่าทั้งประหยัดและเหมาะสมกับเมืองอย่างมาก แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นโดยอาจารย์ภาควิชาด้านไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยโตเกียว ร่วมกับบริษัท Start-up ด้าน…

Leave a Reply