ปตท.ย้ำ การก้าวสู่ Net Zero เทคโนโลยี-นโยบายภาครัฐสำคัญ เพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำช้าไม่ได้ ทำเร็วก็ไม่ดี องค์กรต้องแข่งขัน ชี้ภายในปี 2030 กลุ่มปตท.ต้องมีรายได้จากธุรกิจใหม่ 30%

นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเสวนา “Special Forum Innovation Keeping The World : Rethink Recover นวัตกรรมรักษ์โลก” หัวข้อ “Rethink Recover คิดใหม่เพื่อโลก : Innovation for Zero Carbon” จัดโดย “สปริงนิวส์” และ “เนชั่น กรุ๊ป” ว่า ปตท. เติบโตมาจากอุตสาหกรรมพลังงาน โดยธุรกิจของปตท. ในอดีต เริ่มจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ระยะหลังเริ่มมีปิโตรเคมี

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมพลังงานถือว่ามีการปลดปล่อยคาร์บอนเยอะที่สุดในสัดส่วนกว่า 60% ของประเทศไทย เมื่อสังคมโลกได้เริ่มบีบคั้นเกี่ยวกับคาร์บอน โดยเฉพาะประเทศทางยุโรป น้ำแข็งกำลังละลายและท่วมบ้าน ภูมิอากาศเปลี่ยนไป แม้แต่กระทั่งประเทศไทย จะเห็นว่าเมื่อช่วงเดือนเม.ย. ช่วงปี 2 ปีที่ผ่านมา อากาศเย็นมาก ถือเป็นโอกาสให้เห็นว่าการปลดปล่อยคาร์บอนมีผลกับสภาพอากาศ ที่เรียกว่าสภาวะเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

อย่างไรก็ตาม ปตท. อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนว่าธุรกิจเดิมที่อยู่กับไฮโดรคาร์บอน มีบริษัทลูกที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาทิ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้า จากโซล่าเซลล์ และพลังงานลม ปรับรูปแบบดำเนินธุรกิจขายน้ำมันผ่านบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ซึ่งเมื่อจะมุ่งสู่พลังความสะอาดพลังงาน หรือ Go Green คนมาเติมน้ำมันในปั๊มปตท. จะลดลงหรือไม่ นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ EV Value Chain ปตท. ได้จัดตั้ง บริษัท อรุณพลัส เพื่อวัตถุประสงค์สนับสนุนทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กำลังจะเปลี่ยนไป โดยการสร้างโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)

อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจต้องปรับตัว ในการทำธุรกิจกับต่างประเทศประเทศที่เขาให้ความสำคัญโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกยุโรปหรืออเมริกาไม่ว่าองค์กรเดินเรือหรือการบินระหว่างประเทศคำนึงถึงปัญหาคาร์บอน ปตท.อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีคำถามเรื่องเป้าหมายเน็ตซีโร่ หรือแม้แต่การจะกู้เงินเพื่อลงทุนธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทใหญ่ ๆ จะถูกธนาคารถามเรื่องของเป้าหมายคาร์บอน หากไม่คำนึงอาจจะไม่ปล่อยเงินกู้หรือไม่ก็ดอกเบี้ยแพง เป็นต้น

ปตท. จากที่เคยทำน้ำมัน ก๊าซฯ ปิโตรเคมี เมื่อทุกคนให้ความสนใจมุ่งสู่ Go Green ดังนั้น ทุกอย่างต้องสะอาด รวมถึง Go Electric การผลิตไฟฟ้าจากเดิมที่เป็นน้ำมัน จะต้องเปลี่ยนไป ปตท. เป็นองค์กรขนาดใหญ่สำหรับประเทศไทยเกิดขึ้นจากที่ประเทศขาดแคลนน้ำมันปี 2521 ดำเนินธุรกิจรวม 44 ปี สร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ”

ทั้งนี้ ปัจจุบันปตท. ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม พลังงานไม่ขาดแคลน มีไฟฟ้าใช้ตลอด แม้ราคาจะแพง เพราะนำเข้าน้ำมันกว่า 90% แต่การขาดแคลนไม่เกิดขึ้นเหมือนบางประเทศที่ต้องรอคิว และไม่มีเงินซื้อน้ำมันมาให้ประชาชนในประเทศ ขณะเดียวกัน ด้วยสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป ปตท. จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดด้วย ไม่เช่นนั้นจะโดนบีบลงเรื่อย ๆ และอนาคตสัดส่วนของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สถานีบริการน้ำมันของโออาร์จึงเริ่มติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้า เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งาน

“ปัจจุบันลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น จำนวน 50% เข้ามาเติมน้ำมัน ส่วนอีก 50% มาใช้บริการด้านอื่น ๆ ซึ่งทางโออาร์มีร้านกาแฟ สะดวกซื้อ ร้านอาหาร บริการต่าง ๆ อีกมากมาย”

นายเทอดเกียรติ กล่าวว่า จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และ Net Zero ปี 2065 บนเวที COP26 นั้น การจะทำให้ทั้งประเทศเป็น Net Zero จะต้องใช้เงินค่อนข้างเยอะ ซึ่งต้องคิดดี ๆ ดังนั้น ปตท. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ และบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ต้องมีความรับผิดชอบจะต้องช่วยประเทศไทยให้ดีขึ้น และบรรลุเป้าหมายที่นายกฯ ประกาศ ซึ่งจะต้องทำเป้าหมายให้สำเร็จก่อนเป้าหมายประเทศให้ได้

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จ สิ่งสำคัญคือ เทคโนโลยี ปตท.มีสถาบันวิจัยที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันนวัตกรรม มีทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ภายในธุรกิจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีและเหมาะสมที่สุด จะเป็นการประหยัดงบประมาณได้ดี ปตท. อีกทั้งยังมีสถาบันวิทยสิริเมธีถือเป็นสถาบันการศึกษาทั้งชั้นนำตั้งอยู่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เป็นสถาบันที่มีผลการวิจัยสำคัญต่อนักศึกษาและอาจารย์ โดยผลการวิจัยหลาย ๆ อย่างได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย

“ในอดีตเราเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2544 ได้พัฒนาและประสบความสำเร็จ มีธุรกิจอยู่ในหลายประเทศทั้งในยุโรป มีออฟฟิศอยู่ในลอนดอน และอเมริกา ทำการค้ากับหลายประเทศในเอเซีย จนต้นปีที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ powering life with future energy and beyond หรือ ขับเคลื่อนทุกชีวิตด้วยพลังงานแห่งอนาคต ดังนั้น แผนธุรกิจก็ต้องเปลี่ยนไป”

อย่างไรก็ตาม กำไรจากการดำเนินธุรกิจในอดีตจากน้ำมันและก๊าซฯ แต่ตอนนี้ ปตท.มีบริษัทลูกกว่า 400 บริษัท ทำให้กำไรจากปตท. ดำเนินการเองอยู่ที่ 10-15% และ ปตท.ได้ตั้งกำไรจากธุรกิจใหม่ อาทิ ธุรกิจยา อาหารและสุขภาพ ธุรกิจพลังงานสะอาดต่างๆ เป็นต้น ในปี 2030 ต้องได้กำไรอย่างน้อย 30% ในปี 2030

“การจะก้าวสู่ Net Zero หรือ Go Green หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน นโยบายภาครัฐสำคัญ ด้วยเทรนด์ของ Carbon Zero เป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ โดยเฉพาะสังคมระดับสากล ค่าใช้จ่ายที่สูงไม่ใช่ของฟรีทำช้าคงไม่ได้ทำเร็วมากก็อาจจะไม่ดี ทุกคนต้องวิเคราะห์เพราะเป็นต้นทุนของเรา ต้องอย่าลืมว่าการทำธุรกิจสุดท้ายจะต้องแข่งขันได้ หากทำเรื่องสิ่งแวดล้อมแล้วใส่เงินเข้าไปเยอะในเวลาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันได้”

Source : กรุงเทพธุรกิจ

ยักษ์เอกชนแห่ใช้พลังงานทดแทนลดต้นทุนค่าไฟ “ศรีตรัง-CPF-WHA-S&P” เดินหน้าขยายลงทุน “โซลาร์รูฟ” เคแบงก์-SCB อัดแคมเปญดอกเบี้ยหนุนสินเชื่อธุรกิจ-บ้านติดตั้ง “solar roof” ชี้ประหยัดได้กว่า 60% พร้อมเดินหน้าเข้าสู่ net zero

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันภาคเอกชนโรงงานและภาคธุรกิจ ตื่นตัวติดตั้งแผงโซลาร์รูฟบนหลังคาโรงงานมากถึง 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากคุ้มค่าต่อการลงทุนที่ต้องใช้ไฟตอนกลางวัน ซึ่งโซลาร์รูฟท็อปช่วยประหยัดค่าไฟได้ 3-4 บาทต่อหน่วย ล่าสุดรัฐก็มีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือ หากโรงงานมีขนาดหลังคาใหญ่ก็จะสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ได้คุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น

จากที่ราคา LNG ปรับสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า กกพ.จึงประกาศรับซื้อไฟฟ้าคืน โดยโรงงานที่ติดตั้งโซลาร์ต้องการขายไฟส่วนที่เหลือใช้ หรือส่วนที่เก็บไว้ช่วงออฟพีกคืนกลับระบบของ 3 การไฟฟ้า เพียงแต่ระดับราคารับซื้ออาจไม่สูง ซึ่งรัฐต้องบริหารจัดการต่อภาระต้นทุน ขณะที่ภาคประชาชนก็ได้รับการส่งเสริมตาม “โครงการโซลาร์ประชาชน” โดยปี 2562-2564 มีผู้ติดตั้งโซลาร์รูฟรวม 1,290 ราย กำลังการผลิตรวม 7.1 MW

เอกชนแห่ติดโซลาร์รูฟ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การที่โรงงานเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดแผงโซลาร์รูฟท็อป เป็นส่วนที่ช่วยลดต้นทุนได้ เพราะตอนนี้ทั้งราคาและคุณภาพของแผงโซลาร์ก็ดีขึ้น ธนาคารหลายแห่งก็ให้สินเชื่อพิเศษสำหรับการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าหากภาครัฐมีการสนับสนุนเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงาน green ก็จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ

นายภาณุพงศ์ สิรโยภาส ผู้จัดการกลุ่มฝ่ายความยั่งยืนองค์กร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาโรงงาน และโรงงานที่มุกดาหารก็ทำโซลาร์โฟลตติ้ง อีกทั้งพยายามใช้พลังงานจากไฟฟ้าชีวมวล (ไบโอแมส) ร่วมคู่ขนาน ทำให้ที่ผ่านมาซื้อไฟจากภายนอกลดลง และมีแผนจะขยายลงทุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงานอื่น ๆ พร้อมกับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกนำพลังงานสะอาดมาชดเชย ซึ่งหลายบริษัทก็สามารถผลิตไฟฟ้าและขายคืนสู่ระบบได้

CPF-WHA ขยายลงทุนโซลาร์

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการสำรวจข้อมูลพบว่าภาคธุรกิจตื่นตัวติดตั้งแผงโซลาร์ในหลังคาอย่างมาก เช่น บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) มีนโยบายยกเลิกใช้ถ่านหินในปี 2565 “CPF Coal Free 2022” โดยเสริมโครงการฟาร์มและโรงงานใช้พลังงานหมุนเวียน โดยมีการได้ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนักงานไปแล้ว 23 แห่ง โซลาร์ฟาร์ม 4 แห่ง และโซลาร์ลอยน้ำ 2 แห่ง และกำลังจะเดินหน้าโครงการนี้ระยะ 3

คาดว่าจะติดตั้งโซลาร์รูฟ โซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์ลอยน้ำอีกไม่น้อยกว่า 60 แห่ง ในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 43 เมกะวัตต์ เทียบเท่าการใช้ไฟฟ้า 62 ล้านหน่วยต่อปี

ขณะที่ บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) จัดทำโครงการโซลาร์รูฟท็อปขนาด 820 KWp พ่วงระบบกักเก็บพลังงานขนาด 550 KWh เมื่อปี 2564 เพื่อจ่ายไฟให้ระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานได้4 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 10,500 ตัน

ทางด้าน บมจ.เอส แอนด์ พี ซินดิเคท ผู้ผลิตเบเกอรี่ S&P ได้ขยายพื้นที่โครงการโซลาร์รูฟโรงงานเบเกอรี่ เฟส 2 เมื่อปี 2564 ส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าได้รวม 997.5 กิโลวัตต์ โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1.35 ล้านหน่วย ทำให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตเบเกอรี่ของบริษัทมีสัดส่วนถึง 35-40%

SCB-KBANK หนุนปล่อยกู้

นางสาวอรรัตน์ ชุติมิต รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจรายย่อยและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารได้ร่วมมือกับบริษัท กันกุล โซลาร์ คอมมูนิตี้ จำกัด ทำแคมเปญพิเศษให้ลูกค้าสินเชื่อบ้านที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟ “ร้อนนี้ ติดโซลาร์หั่นค่าไฟ” โดยลูกค้าที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟกับกันกุลฯ ตั้งแต่ 1 มี.ค.-30 เม.ย. 2565 รับส่วนลดสูงสุด 59,900 บาท รับประกันการติดตั้ง 2 ปี ทั้งยังเป็นการตอบโจทย์วิถีชีวิตใหม่ที่คนทำงานที่บ้านมากขึ้น รวมถึงผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจกับการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

“เราคาดว่ากลุ่มลูกค้าที่มีค่าใช้จ่ายค่าไฟต่อเดือน 3,000 บาทขึ้นไป จะให้ความสนใจโซลูชั่นนี้ เพราะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงสุด 60% ต่อเดือน และยังช่วยลูกค้าเพิ่มรายได้อีกทาง โดยกรณีลูกค้ามีไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้สามารถนำมาขายไฟให้แก่ภาครัฐ โดยกันกุลฯจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับภาครัฐให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการดังกล่าวอีกด้วย”

นางชลารัตน์ พินิจเบญจพล รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังเปิดตัวโครงการสินเชื่อ GREEN ZERO ช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้ายื่นขอสินเชื่อบ้าน “Solar Roof” แล้ว 5 ราย วงเงินกู้ประมาณ 31 ล้านบาท ซึ่งธนาคารกำลังเร่งประชาสัมพันธ์และหาพันธมิตรทั้งในส่วนบริษัทอสังหาฯและผู้ประกอบการโซลาร์รูฟ

ขณะเดียวกัน ธนาคารได้ร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ที่ออกแบบโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟพร้อมขาย ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในการลดค่าไฟที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดเมื่อสองปีก่อน จึงมองว่าสินเชื่อบ้านโซลาร์รูฟจะมีแนวโน้มที่ดี สอดคล้องกับที่ทั่วโลกมีการตื่นตัวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กระแสการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) ในส่วนของประเทศไทย ภาครัฐประกาศ Net Zero ในปี 2065 ซึ่งในส่วนของธนาคารก็ให้ความสำคัญเรื่อง ESG มาอย่างต่อเนื่อง

Source : ประชาชาติธุรกิจ

“ปตท.” เปิดแผน 3P ขอเป็นหนึ่งองค์กรร่วมนำพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero คาดในปีนี้ประกาศเป้า Net Zero ใหม่ ไวกว่าเป้าหมายประเทศ

การก้าวสู่ “Net Zero” ถือเป็นแนวทางหลักที่องค์กรใหญ่ระดับนานาชาติต่างทยอยประกาศเป้าหมาย เพื่อร่วมขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวเพื่อโลกที่ดีกว่าเดิม

เช่นเดียวกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ล่าสุด นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเวทีเสวนา “ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” (Better Thailand Open Dialogue) หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ” ว่า การเดินหน้าในการลดคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อตอบโจทย์ประชากรทั่วโลกนั้น ปตท. ได้มีการจัดตั้ง G-Net (PTT Group Net Zero Task Force) ขึ้นมาตั้งแต่ที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย

สำหรับเป้าหมายของ ปตท. คือ จะทำให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ โดยภายในปีนี้ ปตท. จะประกาศเป้าหมายที่ชัดเจนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรลุเป้าหมายในครั้งนี้ ปตท. จึงได้ใช้กลยุทธ์ “3P” สู่ความสำเร็จ ได้แก่

1. Pursuit of Lower Emissions

สิ่งที่จะทำปีแรก คือ ลดการปลดปล่อยคาร์บอน และสร้างธุรกิจที่ช่วยพาไปสู่เป้าหมายโดยเร็ว โดยในขณะนี้ ปตท. เน้นการใช้พลังงานให้คุ้มค่ามากที่สุด รวมถึงใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (CCS) ที่ปล่อยมาจากหน่วยผลิตกลับมาเก็บไว้ใต้ดิน โดยแหล่งที่ดีที่สุด คือแหล่งก๊าซธรรมชาติและแหล่งน้ำมัน เพื่อไม่ให้ของเสียออกมาทำลายโลก โดยเริ่มดำเนินงานไปแล้วที่แหล่งอาทิตย์ โดยจะเก็บได้ประมาณ 400,000 ตันต่อปี ซึ่งดูแลโดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. 

ทั้งนี้ เมื่อมองไปข้างหน้า ศักยภาพของแหล่งต่างๆ ในประเทศไทยสามารถเก็บได้ถึง 40 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะเป็นโปรเจกต์ที่ ปตท.สผ. ลงมาทำอย่างจริงจัง ส่วนการนำคาร์บอนที่เก็บไว้มาใช้ประโยชน์ (CCUS) ปตท. ยังมีโปรเจกต์ที่กำลังศึกษาอยู่หลายชิ้น โดยโปรเจกต์เหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจและดึงตัวคาร์บอนที่ปล่อยออกมาได้ประมาณ 3 แสนตันต่อปี นอกจากนี้ ยังได้นำพลังงานทดแทน (Renewable Energy) มาใช้ในหน่วยปฏิบัติการของ ปตท. อาทิ การติดตั้งพลังงานโซลาร์ ในสถานที่ตั้งอาคารและหน่วยงานต่างๆ 

ไม่เพียงเท่านี้ นายอรรถพลยังได้เผยอีกว่า ปตท. ได้เริ่มซื้อขาย คาร์บอนเครดิต โดย ปตท. ทดลองเป็นผู้ซื้อก่อน และซื้อคาร์บอนมาชดเชยเรือที่ต้องเติมน้ำมันในรอบการขนส่ง ดังนั้น ดังนั้น การขนส่งน้ำมันในรอบดังกล่าวจึงถือว่าเป็น Green Shipment 

อีกทั้ง ยังได้ทดลองใช้ไฮโดรเจน เพราะเป็นพลังงานที่ไม่มีมลพิษ หากสำเร็จประเทศไทยจะมีสถานีบริการน้ำมันไฮโดรเจนแห่งแรกเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ที่พัทยา รวมถึงนำน้ำมันไฮโดรเจนมาผสมในเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมลพิษได้ดี

2. Portfolio Transformation

สิ่งที่ ปตท. ตั้งมั่นไว้เสมอมา คือ การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ  และเมื่อสถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงไป ปตท. ก็พร้อมที่จะขยับตัว ปรับพอร์ตธุรกิจ เพื่อลดฟอสซิลลง และจะงดการทำธุรกิจถ่านหินทั้งหมดภายในปี 2565 นี้ และจไม่ขยายโรงกลั่นน้ำมัน แต่จะพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การผลิตน้ำมันสู่มาตรฐานยูโร

ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังถือเป็นเชื้อเพลิงที่ปล่อยมลพิษน้อยที่สุด และเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทน โดย ปตท. ตั้งเป้าหมายที่จะลงทุนในพลังงานทดแทนมากขึ้น โดยตั้งในปี 2573 จะมีพลังงานทดแทนเข้ามาในพอร์ตกว่า 12,000 เมกะวัตต์

3. Partnership with Nature and Society

ปตท. ไม่สามารถดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จได้ หากขาดความร่วมมือที่ดีจากหลายๆ ภาคส่วน หลายปีที่ผ่านมา ปตท. ได้ปลูกป่า 1 ล้านไร่ ที่สามารถดูดซับคาร์บอนได้ 2.1 ล้านตันต่อปี  และปล่อยออกซิเจนสู่บรรยากาศ 1.7 ล้านตันต่อปี ซึ่งสถิติเหล่านี้ ปตท. ไม่ได้จัดทำขึ้นเอง แต่มหาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ยืนยันความสำเร็จดังกล่าว

"อรรถพล" เปิดแผน ปตท. 3P หนุนเป้าหมายไทย Net Zero

นอกจากนี้ มหาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้ประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของป่า 1 ล้านไร่ พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 280 ล้านบาท ซึ่งประโยชน์ไม่ได้แค่ก่อให้เกิดพื้นที่สีเขียวเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบอีกด้วย รวมทั้ง ปตท. ยังได้นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง และศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง กรุงเทพฯ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการรักษาผืนป่าให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ 

“จากความสำเร็จเหล่านั้น แสดงให้เห็นเลยว่าการปลูกป่าช่วยสร้างประโยชน์มากมาย กลุ่ม ปตท. จึงมีแผนจะปลูกป่าเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 4 ล้านตันต่อปี” นายอรรถพล กล่าวย้ำ 

ปตท. ถือเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีความมุ่งมั่นดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมด้วยดีเสมอมา และด้วยเป้าหมายที่ท้าทายครั้งนี้เอง ยิ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงและการเสนอแนวทางที่ชัดเจน ที่จะทำให้พวกสามารถก้าวเดินไปสู่เป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ ไปจนถึง Net Zero ได้อย่างแน่นอน  

Source : กรุงเทพธุรกิจ

การลดปริมาณและแยกประเภทขยะอินทรีย์ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของชุมชนและองค์กรต่อไป อันจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและนำไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดมลพิษของประเทศ ซึ่ง ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เห็นว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะพลาสติกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพไทย เพื่อตอบรับเทรนด์รักษ์โลก

ซึ่ง พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ตลาดพลาสติกชีวภาพโลกยังเติบโตได้อีกมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

หรือ Single-use Plastics, ความตื่นตัวของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการเร่งปรับตัวของภาคธุรกิจตอบรับกับกระแสการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ Environment, Social และ Governance (ESG) และลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในอนาคต

ขณะที่ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพทำให้สามารถนำขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรที่มีมูลค่าน้อย มา Upcycle เป็นพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid หรือ PLA และ Polyhydroxyalkanoate หรือ PHA ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติกทั่วไปที่ผลิตจากปิโตรเคมี

อย่างไรก็ตาม หากจะผลักดันอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ PLA และ PHA ของไทยให้สามารถผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกได้มากขึ้น การนำขยะอาหารและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นวัตถุดิบ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการขยายศักยภาพการผลิต เพราะนอกจากสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรได้มากถึง 3-12 เท่าแล้ว ยังเพิ่มโอกาสในการขยายศักยภาพการผลิตโดยไม่สร้างภาระให้กับภาคเกษตรเพิ่มขึ้น คาดมูลค่าตลาด PLA และ PHA ของไทยมีโอกาสเติบโตสูงเฉลี่ยปีละ 40% หรือแตะระดับ 1.9 หมื่นล้านบาทในปี 2026

นอกจากนี้ การนำขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่เกิดจากการฝังกลบขยะอินทรีย์และการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งช่วยสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ของประเทศ และเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy สอดรับกับเทรนด์ ESG

ด้านนักวิเคราะห์อย่าง ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะอินทรีย์จำพวกขยะอาหารจำนวนกว่า 12 ล้านตันต่อปี และมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากถึง 160 ล้านตันต่อปี นับเป็นแหล่งคาร์บอนที่น่าสนใจ หากจะนำมาแปรรูปเป็นสารสำคัญสำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA และ PHA อีกทั้งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับพืชอาหารต่างๆ ที่นิยมใช้กัน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย

นอกจากจะช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบ ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาพืชอาหารจำนวนมากเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปริมาณผลผลิตของพืชอาหารเหล่านั้นค่อนข้างผันแปร มีความไม่แน่นอนสูงเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนในแต่ละปี และที่สำคัญช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น การใช้ขยะอินทรีย์จำพวกเศษผักและผลไม้มาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ PLA อาจเพิ่มมูลค่าได้ราว 3-12 เท่าเทียบกับการขายเป็นอาหารสัตว์

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความพร้อมด้านวัตถุดิบทางเลือก แต่ผู้ประกอบการในธุรกิจพลาสติกชีวภาพไทยจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเติบโตธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือ มุ่งเน้นทำการวิจัยและพัฒนา กับการหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตให้แข่งขันกับพลาสติกทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น

รวมทั้งค้นหานวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ที่สำคัญสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เร็วและใช้ได้จริง ตลอดจนสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในห่วงโซ่การผลิตทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบและตลาดที่มีศักยภาพรองรับ รวมไปถึงการทดสอบและการขอรับรองมาตรฐานสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค.

บุญช่วย ค้ายาดี
Source : ไทยโพสต์
Photo : https://www.ccacoalition.org/

ยักษ์เอกชนแห่ใช้พลังงานทดแทนลดต้นทุนค่าไฟ “ศรีตรัง-CPF-WHA-S&P” เดินหน้าขยายลงทุน “โซลาร์รูฟ” เคแบงก์-SCB อัดแคมเปญดอกเบี้ยหนุนสินเชื่อธุรกิจ-บ้านติดตั้ง “solar roof” ชี้ประหยัดได้กว่า 60% พร้อมเดินหน้าเข้าสู่ net zero

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ให้สัมภาษณ์ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันภาคเอกชนโรงงานและภาคธุรกิจ ตื่นตัวติดตั้งแผงโซลาร์รูฟบนหลังคาโรงงานมากถึง 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากคุ้มค่าต่อการลงทุนที่ต้องใช้ไฟตอนกลางวัน ซึ่งโซลาร์รูฟท็อปช่วยประหยัดค่าไฟได้ 3-4 บาทต่อหน่วย ล่าสุดรัฐก็มีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือ หากโรงงานมีขนาดหลังคาใหญ่ก็จะสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ได้คุ้มค่าการลงทุนมากขึ้น

จากที่ราคา LNG ปรับสูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า กกพ.จึงประกาศรับซื้อไฟฟ้าคืน โดยโรงงานที่ติดตั้งโซลาร์ต้องการขายไฟส่วนที่เหลือใช้ หรือส่วนที่เก็บไว้ช่วงออฟพีกคืนกลับระบบของ 3 การไฟฟ้า เพียงแต่ระดับราคารับซื้ออาจไม่สูง ซึ่งรัฐต้องบริหารจัดการต่อภาระต้นทุน ขณะที่ภาคประชาชนก็ได้รับการส่งเสริมตาม “โครงการโซลาร์ประชาชน” โดยปี 2562-2564 มีผู้ติดตั้งโซลาร์รูฟรวม 1,290 ราย กำลังการผลิตรวม 7.1 MW

เอกชนแห่ติดโซลาร์รูฟ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การที่โรงงานเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดแผงโซลาร์รูฟท็อป เป็นส่วนที่ช่วยลดต้นทุนได้ เพราะตอนนี้ทั้งราคาและคุณภาพของแผงโซลาร์ก็ดีขึ้น ธนาคารหลายแห่งก็ให้สินเชื่อพิเศษสำหรับการลงทุนในส่วนนี้ เชื่อว่าหากภาครัฐมีการสนับสนุนเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงาน green ก็จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ

นายภาณุพงศ์ สิรโยภาส ผู้จัดการกลุ่มฝ่ายความยั่งยืนองค์กร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาโรงงาน และโรงงานที่มุกดาหารก็ทำโซลาร์โฟลตติ้ง อีกทั้งพยายามใช้พลังงานจากไฟฟ้าชีวมวล (ไบโอแมส) ร่วมคู่ขนาน ทำให้ที่ผ่านมาซื้อไฟจากภายนอกลดลง และมีแผนจะขยายลงทุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงานอื่น ๆ พร้อมกับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกนำพลังงานสะอาดมาชดเชย ซึ่งหลายบริษัทก็สามารถผลิตไฟฟ้าและขายคืนสู่ระบบได้

CPF-WHA ขยายลงทุนโซลาร์

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการสำรวจข้อมูลพบว่าภาคธุรกิจตื่นตัวติดตั้งแผงโซลาร์ในหลังคาอย่างมาก เช่น บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) มีนโยบายยกเลิกใช้ถ่านหินในปี 2565 “CPF Coal Free 2022” โดยเสริมโครงการฟาร์มและโรงงานใช้พลังงานหมุนเวียน โดยมีการได้ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนักงานไปแล้ว 23 แห่ง โซลาร์ฟาร์ม 4 แห่ง และโซลาร์ลอยน้ำ 2 แห่ง และกำลังจะเดินหน้าโครงการนี้ระยะ 3

คาดว่าจะติดตั้งโซลาร์รูฟ โซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์ลอยน้ำอีกไม่น้อยกว่า 60 แห่ง ในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 43 เมกะวัตต์ เทียบเท่าการใช้ไฟฟ้า 62 ล้านหน่วยต่อปี

ขณะที่ บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) จัดทำโครงการโซลาร์รูฟท็อปขนาด 820 KWp พ่วงระบบกักเก็บพลังงานขนาด 550 KWh เมื่อปี 2564 เพื่อจ่ายไฟให้ระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานได้4 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 10,500 ตัน

ทางด้าน บมจ.เอส แอนด์ พี ซินดิเคท ผู้ผลิตเบเกอรี่ S&P ได้ขยายพื้นที่โครงการโซลาร์รูฟโรงงานเบเกอรี่ เฟส 2 เมื่อปี 2564 ส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าได้รวม 997.5 กิโลวัตต์ โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1.35 ล้านหน่วย ทำให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตเบเกอรี่ของบริษัทมีสัดส่วนถึง 35-40%

SCB-KBANK หนุนปล่อยกู้

นางสาวอรรัตน์ ชุติมิต รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจรายย่อยและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ก่อนหน้านี้ธนาคารได้ร่วมมือกับบริษัท กันกุล โซลาร์ คอมมูนิตี้ จำกัด ทำแคมเปญพิเศษให้ลูกค้าสินเชื่อบ้านที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟ “ร้อนนี้ ติดโซลาร์หั่นค่าไฟ” โดยลูกค้าที่สนใจติดตั้งโซลาร์รูฟกับกันกุลฯ ตั้งแต่ 1 มี.ค.-30 เม.ย. 2565 รับส่วนลดสูงสุด 59,900 บาท รับประกันการติดตั้ง 2 ปี ทั้งยังเป็นการตอบโจทย์วิถีชีวิตใหม่ที่คนทำงานที่บ้านมากขึ้น รวมถึงผู้บริโภคที่ให้ความใส่ใจกับการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดภาวะโลกร้อน

“เราคาดว่ากลุ่มลูกค้าที่มีค่าใช้จ่ายค่าไฟต่อเดือน 3,000 บาทขึ้นไป จะให้ความสนใจโซลูชั่นนี้ เพราะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้สูงสุด 60% ต่อเดือน และยังช่วยลูกค้าเพิ่มรายได้อีกทาง โดยกรณีลูกค้ามีไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้สามารถนำมาขายไฟให้แก่ภาครัฐ โดยกันกุลฯจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับภาครัฐให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการดังกล่าวอีกด้วย”

นางชลารัตน์ พินิจเบญจพล รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังเปิดตัวโครงการสินเชื่อ GREEN ZERO ช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีลูกค้ายื่นขอสินเชื่อบ้าน “Solar Roof” แล้ว 5 ราย วงเงินกู้ประมาณ 31 ล้านบาท ซึ่งธนาคารกำลังเร่งประชาสัมพันธ์และหาพันธมิตรทั้งในส่วนบริษัทอสังหาฯและผู้ประกอบการโซลาร์รูฟ

ขณะเดียวกัน ธนาคารได้ร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ที่ออกแบบโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟพร้อมขาย ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในการลดค่าไฟที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดเมื่อสองปีก่อน จึงมองว่าสินเชื่อบ้านโซลาร์รูฟจะมีแนวโน้มที่ดี สอดคล้องกับที่ทั่วโลกมีการตื่นตัวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กระแสการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) ในส่วนของประเทศไทย ภาครัฐประกาศ Net Zero ในปี 2065 ซึ่งในส่วนของธนาคารก็ให้ความสำคัญเรื่อง ESG มาอย่างต่อเนื่อง

Source : ประชาชาติธุรกิจ