ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาพลังงานจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดถูกกระชับพื้นที่เข้ามาเร็วยิ่งขึ้นเพื่อแสวงหาพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความผันผวน ทิศทางของโลกจึงมุ่งสู่สังคมไร้คาร์บอน โดยประเทศไทยได้วางเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065

ในปี 2566 คาดการณ์ว่าสถานการณ์พลังงานจะยังคงผันผวนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว กระทรวงพลังงานต้องปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานดังกล่าว โดยนอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมๆ ไปกับติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่ๆ ตามเป้าหมาย

           ทั้งนี้ แผนงานสำคัญด้านพลังงานเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน ได้ถูกจัดวางผ่าน 4 มิติ ดังนี้

มิติที่ 1 พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

–> แผนพลังงานชาติและแผนพลังงานรายสาขาใหม่ (แผน PDP 2022/EEP2022/AEDP2022/Oil Plan 2022/Gas Plan 2022) เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด ตามเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050

–> แผนการลงทุน Grid Modernization ของประเทศฉบับแรก เร่งกำหนดแผนบูรณาการการลงทุนและการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดและโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง

–> ปลดล็อค ปรับปรุงกฎ กติกา เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าสะอาดเชิงพื้นที่

–> ส่งเสริมการลงทุนรถ EV และสถานีอัดประจุไฟฟ้า EV Charging Station

–> ศึกษาศักยภาพ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) 

มิติที่ 2 พลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ

–> กำหนดแนวทางจัดหาเชื้อเพลิงพลังงานที่ต้นทุนไม่สูง โดยการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการนำเข้า Spot LNG

–> เร่งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน

–> ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน อาทิ โรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ

–> การบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน (Building Energy Code : BEC)  

–> การใช้กลไกบริษัทจัดการพลังงาน (Energy service company : ESCO) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พลังงานในภาครัฐ

–> คาดว่ามิติด้านเศรษฐกิจจะเกิดเม็ดเงินลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 240,000 ล้านบาท

มิติที่ 3 พลังงานลดความเหลื่อมล้ำและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

–> ส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน 200 เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 20 ปีประมาณ 37,700 ล้านบาท ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 630,737 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

–> พัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล

–> มาตรการการช่วยเหลือด้านพลังงานแบบเฉพาะให้กับกลุ่มเปราะบาง

  • ตรึงราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ 408 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2566
  • ให้ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม (LPG) แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาทต่อคน
    ต่อ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
  • ปตท.ยังคงให้ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหารที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าครองชีพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566

มิติที่ 4 พลังงานกับการพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ 

–> เผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานรูปแบบ Interactive Dashboard แสดงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานผ่านการประมวลผลรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้สื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก

–> เพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลในการดำเนินงานด้านพลังงาน

–> ให้บริการศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ

–> พัฒนาระบบการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงาน

ขณะที่เรายังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านพลังงาน และกระแสการลดโลกร้อนกำลังทวีความสำคัญ ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินนโยบายด้านพลังงาน เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ผันผวนต่อเนื่องให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

Source : Energy News Center

งานเสวนาออนไลน์ “สร้างธุรกิจใหม่ ที่จริงใจ จากกรีนคาร์บอน”
วันเสาร์ที่ 17 ธ.ค. 65 ณ ร้านเขียวไข่กา ตลาดจริงใจ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ร่วมเสวนา

คุณพิชัย จิราธิวัฒน์
ประธานคณะทำงานด้านพลังงาน หอการค้าไทย (กล่าวเปิด)

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช
เลขาธิการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน

คุณภัทร์ ศาสตร์ขำ
ผู้จัดการอาวุโส ส่วนงานพัฒนาอย่างยั่งยืน
ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์
สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ

คุณธเนศ วรศรัณย์
กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้า แห่งประเทศไทย
และประธานคณะกรรมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง

คุณรองเพชร บุญช่วยดี
คณะทำงานย่อยกลุ่มสนับสนุนการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต
เพื่อรองรับกติกาพลังงานโลก หอการค้าไทย

คุณจุลนิตย์ วังวิวัฒน์
ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

ดร.ดิษฐา นนทิวรวงษ์
เลขานุการคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ด้านพลังงาน

หัวข้อเสวนา

  • ธุรกิจท่องเที่ยว Green Tourism จะ GO! ต้องปรับตัวอย่างไรให้กันกระแสกติกาโลกใหม่
  • ธุรกิจท่องเที่ยว จะถึง Carbon Neutrality ปี 2050 ภาครัฐควรสนับสนุนอะไร ภาคเอกชนควรปรับตัวอย่างไร
  • การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนแบบรักษ์โลก ตลาดนี้ใหญ่แค่ไหน มีแนวโน้มอย่างไร ต้องจ่ายค่าคาร์บอนเท่าไหร่ จ่ายยังไง
  • Carbon Credit เป็นกับดักหรือโอกาส ทางธุรกิจท่องเที่ยวสีเขียว ถ้าจะเดินไปสู่จุดนี้ต้องทำอย่างไร

อุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellets) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมในกลุ่ม BCG economy ที่มีแนวโน้มเติบโตตามกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐของทั่วโลกมากขึ้นในอนาคต หลังหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

ที่มีการใช้ Wood Pellets ในการผลิตไฟฟ้ามีเป้าหมายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets เป็นอุตสาหกรรมที่แปรรูปเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น เศษไม้ยางพารา ทะลายปาล์ม ฟางข้าว ให้เป็น Wood Pellets เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตพลังงานความร้อน และผลิตไฟฟ้า อีกทั้งยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตน้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงทั่วไป

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล ระบุบถึงสถานการณ์ตลาด Wood Pelletในเกาหลีใต้ (ปี2561) ราคาการส่งออก Wood Pellet ในปี 2017 ราคาเฉลี่ยในการส่งออกเชื้อเพลิง Wood Pellet อยู่ที่ 115 เหรียญสหรัฐ และราคาที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศส่งออก คือประเทศเวียดนาม อยู่ที่ 113 ดอลลาร์สหรัฐ 

โดยเกาหลีใต้นำเข้าจากประเทศแคนาดา ในราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 129 เหรียญสหรัฐ และจากประเทศไทย อยู่ที่ราคา 116 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือสูงกว่าประเทศส่งออกประเทศอื่นในอาเซียน ในบรรดาประเทศผู้ส่งออก เวียดนามส่งออกเชื้อเพลิง Wood Pellet 1,515,203 เมตริกตันคิดเป็นมูลค่า 171 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็น 61% ของตลาดพลังงาน Wood Pellet  ตามด้วยมาเลเซีย 405,431 ตันคิดเป็นมูลค่า 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็น 17% ของไทยที่ส่งออก 94,597 เมตริกตัน มูลค่า 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคิดเป็น 4% ของตลาด Wood Pellet ทั้งหมดในปี 2017

ซึ่งสอดคล้องกับข้อของมูลค่าอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 17% CAGR จาก 1.4 พันล้านบาทในปี 2564 เป็น 2.4 พันล้านบาทในปี 2568 ตามความต้องการจากกลุ่มโรงงานและโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้งในประเทศและตลาดส่งออกหลัก โดย พงษ์ประภา นภาพฤกษ์ชาติ Krungthai COMPASS กล่าวว่ากลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตมากที่สุดในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets คือ กลุ่มธุรกิจผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นเครือข่ายของบริษัทที่มี By-product เป็นวัตถุดิบโดยในช่วงปี 2561-64 มียอดขายเติบโตเฉลี่ยถึง 25% CAGR ในอนาคตยอดขายมีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการ Wood Pellets อีกทั้งยังสามารถจะขายโดยตรงกับผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งอาจแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากกลุ่มผู้จัดจำหน่าย Wood Pellets ได้ในอนาคต

 อย่างไรก็ดี ธุรกิจผลิต Wood Pellets บางรายมีผลประกอบการที่ไม่ดีนัก จึงควรมีการปรับตัว ดังนี้ 1. ควรลงทุนเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในทุกขั้นตอนของการผลิต 2. ควรได้รับการรับรองจาก FSC และ 3. ควรหันมาผลิต Torrefied Pellets มากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ในไทยโดย Krungthai COMPASS ประเมินว่า มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ของไทยมีแนวโน้มขยายตัวเป็น 2.6 พันล้านบาทในปี 2568 จาก 1.4 พันล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ยที่เร่งขึ้น 17%CAGR โดยปัจจัยหนุนมาจากการขาย Wood Pellets ภายในประเทศและการส่งออกดังนี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ในไทยโดย Krungthai COMPASS ประเมินว่า มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ของไทยมีแนวโน้มขยายตัวเป็น 2.6 พันล้านบาทในปี 2568 จาก 1.4 พันล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ยที่เร่งขึ้น 17%CAGR โดยปัจจัยหนุนมาจากการขาย Wood Pellets ภายในประเทศและการส่งออกดังนี้

1. ยอดขายในประเทศคาดว่าจะเติบโตเป็น 1.8 พันล้านบาทในปี 2568 จาก 1.3 พันล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 7.8%CAGR ตามความต้องการ Wood Pellets จากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร และเคมีภัณฑ์ รวมทั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยรายละเอียดสามารถอ่านได้ในบทความเรื่อง “Wood Pellets ตัวช่วยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality”

Wood Pellets  พลังงานใหม่ ตัวช่วยเข้าใกล้เป้าหมาย Carbon Neutrality

2.ยอดส่งออก Wood Pellets ของไทย คาดว่าจะขยายตัวเป็น 872 ล้านบาทในปี 2568 จาก 104 ล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ย 70.2% CAGR แม้ว่ายอดส่งออก Wood Pellets ของไทยลดลงเฉลี่ย 59% CAGR ในช่วงปี 2562-64 เนื่องจากผู้ผลิต Wood Pellets ไม่สามารถส่งออก Wood Pellets ที่ตรงตามมาตรฐานของลูกค้าต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ได้เต็มที่นัก ซึ่งเกิดจากคุณภาพเชื้อเพลิงและการได้รับใบรับรองจาก Forest Stewardship Council (FSC) ที่รับรองว่าวัตถุดิบของสินค้าดังกล่าวมาจากป่าที่มีการจัดการดูแลอย่างรับผิดชอบ แต่คาดว่ายอดส่งออกจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง เพราะนอกเหนือจากผู้ประกอบการบางรายของไทยในอุตสาหกรรมนี้ได้เริ่มปรับตัวในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการขอใบรับรอง FSC แล้ว ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติม 

ความต้องการ Wood Pellets ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่สุดของไทย ซึ่งคิดสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 80% คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 3.3 ล้านตันในปี 2564 เป็น 4.6 ล้านตันในปี 2568 ตามกำลังการขยายกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งรวมถึง Wood Pellets นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 500 เมกะวัตต์ ต้องผลิตไฟฟ้าจาก

จะเห็นได้ว่าความยอดส่งออก  Wood Pellets ของไทยมีการเติมโตมากยิ่งขึ้นนับเป็นเรื่องที่ดีที่มีเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Source : กรุงเทพธุรกิจ