“โครงการนำร่องการพัฒนาสมาร์ทกริดที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ซึ่งเป็นโครงการตามแผนพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศไทยในระยะสั้น พ.ศ. 2560 – 2564 เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพัฒนาระบบไฟฟ้าของจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

กกพ.เปิดรับฟังร่างหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาด 5,203 เมกะวัตต์ โหมซื้อไฟจาก Solar+BESS และโซลาร์ฟาร์ม ภายในปี 2573 พร้อมด้วยพลังงานลม ก๊าซชีวภาพ ตั้งเป้าออกประกาศรับซื้อภายในสิ้นปี 2565 นี้ คาดก่อให้เกิดการลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท

0นายคมกฤช  ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ช่วงวันที่ 30 มิถุนายน-6 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการสำคัญของร่างระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. … เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวจะเปิดรับซื้อไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จากเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายสูงสุดไม่เกิน 90 โครงการต่อโครงการจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ไม่บังคับให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายรับซื้อหรือไม่บังคับปริมาณซื้อขายไฟฟ้าหรือ Non-Firm  และจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) จากผู้ผลิตรายเล็ก ในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่กำหนดรูปแบบการผลิตและรับซื้อไฟฟ้าหรือ Partial-Firm ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายสูงสุด มากกว่า 10 เมกะวัตต์ และไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ต่อโครงการ อายุสัญญา 20 – 25 ปี รวมกำลังผลิตทั้งหมด 5,203 เมกะวัตต์

ลุ้น กกพ.คลอดรับซื้อไฟ จ่อสะพัด 2 แสนล้านพลังงานสะอาด

มีการกำหนดปริมาณรับซื้อและวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยในปี 2567 จะรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) ที่มีกำลังผลิตตามสัญญาตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ จะรับซื้อปริมาณ 100 เมกะวัตต์ ในอัตรา 2.8331 บาทต่อหน่วย ระยะเวลาสัญญา 25 ปี และจะทยอยรับซื้อเพิ่มขึ้นปีละ 100 เมกะวัตต์ระหว่างปี 2568-2570 และรับซื้อเพิ่มขึ้นปีละ 200 เมกะวัตต์ ระหว่างปี 2571-2573 รวมปริมาณรับซื้อ 1,000 เมกะวัตต์

ส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน กำลังผลิตตามสัญญาทุกขนาด จะเริ่มในปี 2567 ปริมาณ 190 เมกะวัตต์ ในอัตรา 2.1679 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 25 ปี และจะทยอยรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปีจนครบ 2,368 เมกะวัตต์ ในปี 2573

ขณะที่การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม กำลังผลิตตามสัญญาทุกขนาด จะเริ่มตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป โดยในแต่ละปีจะทยอยรับซื้อในปริมาณ 250 เมกะวัตต์ จนถึงปี 2573 รวมกำลังผลิต 1,500 เมกะวัตต์ อัตราค่าไฟฟ้า 3.1014 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 25 ปี  ส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย/ของเสีย กำลังผลิตตามสัญญาทุกขนาด จะเริ่มรับซื้อในปี 2569 เป็นต้นไป ปริมาณ 75 เมกะวัตต์ และจะทยอยรับซื้อเพิ่มขึ้นอีกปีละ 70-40 เมกะวัตต์ จนครบกำลังผลิต 335 เมกะวัตต์ ในปี 2573 ในอัตราค่าไฟฟ้า 2.0724 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 20 ปี 

ส่วนโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี) จะได้รับอัตรา FiT Premium 0.5 บาทต่อหน่วย ตลอดอายุโครงการ

นายคมกฤช  กล่าวอีกว่า  การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) จากผู้ผลิตรายเล็ก ในรูปแบบสัญญา Partial-Firm นั้น จะมีการกำหนดรูปแบบการรับซื้อไฟฟ้าไว้ โดยช่วงเวลา 9.00-16.00 น. จะต้องผลิตไฟฟ้าส่งจ่ายเข้าระบบและการไฟฟ้ารับซื้อในปริมาณ 100% ของปริมาณไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ช่วงเวลา 18.01-06.00 น. มีความพร้อมส่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปริมาณพลังงานเท่ากับ 60% ของปริมาณไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

โดยที่การไฟฟ้ารับซื้อทั้งหมดและสามารถสั่งจ่ายกำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ไม่เกิน 60% ของปริมาณไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และช่วงเวลา 06.01-09.00 น. และ 16.01-18.00 น. ผลิตไฟฟ้าสั่งจ่ายเข้าระบบและการไฟฟ้ารับซื้อในปริมาณไม่เกิน 100% ของปริมาณไฟฟ้าเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

ทั้งนี้ หลังจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว ทาง กกพ.จะรวบรวมความคิดเห็นเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวต่อไป ซึ่งอาจจะมีบางประเด็นที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติม และบางเรื่องอาจจะต้องขอมติ กพช.เพิ่มเติม ที่อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ก็มีเป้าหมายที่จะออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าได้ภายในสิ้นปี 2565 นี้

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า หากประกาศหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าออกมาแล้ว เชื่อว่านักลงทุนจะให้ความสนใจยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนราว 2 แสนล้านบาท (ยังไม่รวมค่าที่ดิน)โดยประเมินจากเม็ดเงินลงทุนของ Solar+BESS อยู่ที่ 46 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ โซลาร์ฟาร์ม 24 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ พลังงานลม 50-60 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ และก๊าซชีวภาพ 55-60 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์

Source : ฐานเศรษฐกิจ

TPIPP กางแผนลงทุน 5 ปี ตั้งงบกว่า 1 หมื่นล้านบาท เลิกใช้ถ่านหิน ดันกำลังผลิตไฟฟ้าจากขยะ และโซลาร์ฟาร์ม ปี 2569 อยู่ที่ 606 เมกะวัตต์ บรรลุเป้าหมาย Net Zero ลดการปล่อยคาร์บอนฯได้ 12 ล้านตัน

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีนี้ (2565-2569) บริษัทมีแผนการใช้เงินที่แน่นอนแล้วประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยจะนำมาใช้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย  การปรับปรุงประสิทธิของหม้อต้มนํ้าของโรงไฟฟ้าโรงที่ 7 ขนาดกำลังผลิต 70 เมกะวัตต์ ที่ยังใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า เปลี่ยนมาใช้ขยะอาร์ดีเอฟเป็นเชื้อเพลิงได้ โดยใช้เงินลงทุนราว 800 ล้านบาท ระยะแรกจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปีนี้  และระยะที่ 2 จะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งจะส่งผลให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้เปลี่ยนมาใช้ขยะอาร์ดีเอฟ 100%

ภัคพล  เลี่ยวไพรัตน์

ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์

อีกทั้ง จะลงทุนเปลี่ยนเชื้อเพลิงถ่านหินของโรงไฟฟ้าที่ 8 กำลังผลิตขนาด 150 เมกะวัตต์ มาเป็นขยะอาร์ดีเอฟ ใช้เงินลงทุนราว 3,000 ล้านบาท จะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งการดำเนินงานทั้ง 2 โครงการนี้ จะส่งผลให้โรงไฟฟ้าของบริษัทเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงขยะอาร์ดีเอฟทั้งหมด

ทั้งนี้ จากการเปลี่ยนถ่านหินมาใช้เชื้อเพลิงขยะ ทำให้บริษัทต้องลงทุนในการจัดหาขยะอาร์ดีเอฟเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องสร้างโรงงานขยะอาร์ดีเอฟอีก 5 สายผลิต กำลังผลิต ประมาณ 4,500 ตันต่อวัน ซึ่งจะใช้เงินลงทุนในส่วนนี้อีกราว 1,000 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2566

TPIPP กำหมื่นล้าน ลุยโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม สู่ Net Zero ปี 69

บริษัทยังได้งานประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ จังหวัดสงขลา กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ ที่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว จะก่อสร้างและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ภายในปี 2568 ใช้เงินลงราว 1,745 ล้านบาท รวมถึงงานประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ จังหวัดนครราชสีมา กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนราว 1,830 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2568 เช่นกัน 

นอกจากนี้ บริษัท ยังได้ลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์ฟาร์ม) ในจังหวัดสระบุรี ขนาดกำลังผลิต 42 เมกะวัตต์ ที่จะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ เพื่อป้อนไฟฟ้าให้กับบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) หรือTPIPL ใช้ในกิจการในปี 2566 ใช้เงินลงทุนอีกราว 1,400 ล้านบาท

“ปัจจุบันบริษัทยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 1.5 ล้านตันต่อปี จากโรงไฟฟ้ที่ใช้ถ่านหิน กำลังการผลิต 220 เมกะวัตต์ และมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากขยะอีก 220 เมกะวัตต์ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ราว 7.5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี หักลบแล้วกับว่าบริษัทลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แล้ว 6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และเมื่อเปลี่ยนถ่านหินมาใช้ขยะอาร์ดีเอฟทั้งหมดแล้ว และกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ที่จะเข้ามา ที่มีเป้าหมายกำลังผลิตรวมทั้งหมดจะเพิ่มเป็น 606 เมกะวัตต์ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 12 ล้านตันต่อปี เท่ากับว่าการดำเนินงานของบริษัทบรรลุเป้าหมาย NetZero Carbon  ในปี 2569 แล้ว”

นายภัคพล กล่าวอีกว่า ส่วนการพัฒนาหรือลงทุนโครงการในอนาคตนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) รวม 34 โครงการ ปริมาณรับซื้อไฟฟ้ารวม 282.98 เมกะวัตต์ ระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในปี 2568-2569

ภายใต้มตินี้ บริษัท มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลอีก 8 โครงการ เป็นขนาดกำลังผลิต 8 เมกะวัตต์ 7 โครงการ และเป็นเอสพีพีอีก 1 โครงการ กำลังผลิต 70 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างรอการออกหลักเกณฑ์รับซื้อไฟฟ้าของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในช่วงเร็ว ๆ นี้

 อีกทั้ง กพช.เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564-2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยมีกำลังผลิตตามสัญญาจากพลังงานสะอาดรวมทั้งสิ้น 9,996 เมกะวัตต์ เป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์ฟาร์ม 3,368 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทมีความสนใจเข้าดำเนินงาน โดยได้มีการหารือกับทางพันธมิตรแล้ว เนื่องจากในกลุ่มของทีพีไอ มีพื้นที่ราว 1.5 หมื่นไร่ อยู่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ระยอง และสระบุรี รองรับการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มได้กว่า 1,500 เมกะวัตต์ ซึ่งเร็วๆ คาดว่าจะสรุปแผนการลงทุนได้ว่าจะยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เท่าใด

รวมถึงการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม 200 เมกะวัตต์ และพลังงานลม 1,500 เมกะวัต์ บริษัท ก็มีความสนใจเข้าไปลงทุน โดยอยู่ระหว่างขั้นการศึกษาในรายละเอียด

นอกจากนี้ บริษัทยังมีความสนใจที่จะเข้าไปลงทุนตั้งสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่จะเริ่มต้นจากการติดตั้งให้บริการกับรถบรรทุกในเหมือง ปูนซีเมนต์ของบริษัท TPIPL จำนวน 26 คันที่จะเปลี่ยนเป็นอีวีในสิ้นปีนี้ และภายในปี 2568 รถที่อยู่ในเหมืองทั้งหมด ต้องเป็นอีวี ที่จะต้องลงทุนตั้งสถานีชาร์จรองรับไว้ 40 สถานี

Source : ฐานเศรษฐกิจ

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( กพอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 ที่ได้เห็นชอบหลักการโครงการจัดหาพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ขนาดกำลังผลิต 500 เมกะวัตต์

โครงการดังกล่าวเป็นไปตามการเสนอของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่จะผลักดันอีอีซี มุ่งสู่การเป็น Zero Carbon City และพื้นที่สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) และบรรลุเป้าหมายสัดส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิล ต่อพลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้าเป็น 70 : 30% จากปัจจุบันที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าอยู่ราว 4,475 เมกกะวัตต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานไฟฟ้าที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยคาดว่าปี 2580 ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ ทำให้ต้องผลักดันการไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึงราว 3,000 เมกะวัตต์

หลักการดังกล่าวส่งผลให้ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ กฟภ. ร่วมกับบริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) จัดตั้งบริษัท เซท เอนเนอยี จำกัด (SET ENERGY) ขึ้นมาดำเนินการโดยถือหุ้นในสัดส่วน 20% และ 80 % ตามลำดับ เพื่อทยอยก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์ฟาร์ม ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในพื้นที่

จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ที่ส่งผลต่อการลงทุนในพื้นที่อีอีซีเกิดการชะลอตัว ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ประกอบกับนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนของกระทรวงพลังงาน ก่อนหน้านี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ว่าโครงการดังกล่าวจะอยู่ในแผนพัฒนาพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีของประเทศหรือไม่ จึงส่งผลให้การดำเนินงานเวลานี้ ยังไม่มีความคืบหน้าด้านการก่อสร้าง

SET ENERGY ลุ้นโซลาร์ฟาร์มอีอีซี 500 MW เดินหน้าต่อ

นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยในฐานะผู้ร่วมทุนว่า โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างนัดหารือกับทางอีอีซี ว่าจะยังอยู่ภายใต้นโยบายของอีอีซีหรือไม่ หลังคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564-2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยมีกำลังผลิตตามสัญญาจากพลังงานสะอาดรวมทั้งสิ้น 9,996 เมกะวัตต์

รวมทั้ง เห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและข้อเสนออัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff สำหรับปี พ.ศ. 2565-2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง กำลังผลิตตามสัญญาไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Ground-mounted) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) ซึ่งจะดำเนินการเปิดรับซื้อไฟฟ้าด้วยวิธีการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่พิจารณาถึงความพร้อมด้านราคา คุณสมบัติ และเทคนิคร่วมกัน มีระยะเวลาสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าเป็นเวลา 20-25 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm

“ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มาจากโซลาร์ฟาร์ม ยังไม่เกิดขึ้นจากการติดปัญหานักลงทุนยังไม่เข้ามาช่วงโควิด ทำให้ยังไม่มีลูกค้าอยู่ในมือที่จะป้อนไฟฟ้าได้ ประกอบกับยังไม่มีความชัดเจนของกระทรวงพลังงาน ที่จะนำโครงการดังกล่าวเข้าไปบรรจุอยู่ในแผนพีดีพี หรือรับซื้อขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ ส่งผลให้โครงการนี้ต้องชะลอออกไปจากแผนที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2565”

นายเขมรัตน์ กล่วอีกว่า อย่างไรก็ตาม หากมีความชัดเจนด้านนโยบายจากอีอีซีแล้ว ว่าโครงการจะยังอยู่ภายใต้นโยบายอีอีซี หรือจะให้เข้าร่วมประมูลขายไฟฟ้าตามนโยบายของ กพช. ทางบริษัท เซท เอนเนอยี ก็พร้อมจะเข้าไปลงทุนหรือยื่นข้อเสนอประมูลขายไฟฟ้าได้ทันที เพราะที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินรวมเนื้อที่ 3,111 ไร่ 2.7 ตารางวา มูลค่าที่ดินรวม 2,093,166,683 บาท เพื่อติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนดินหรือโซลาร์ฟาร์ม จำนวน 23 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตรวมราว 316 เมกะวัตต์

อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา กำลังผลิตรวม 125 เมกะวัตต์ ใน 9 พื้นที่ จำนวน 1,142 ไร่ ใน 4 อำเภอ ได้แก่ สนามชัยเขต พนมสารคาม ราชสาส์น และบางนํ้าเปรี้ยว จังหวัดชลบุรี กำลังผลิตรวม 94 เมกะวัตต์ ใน 7 พื้นที่ จำนวน 1,041 ไร่ ใน 5 อำเภอ ได้แก่ เกาะจันทร์ พนัสนิคม หนองใหญ่ บ้านบึง และบ่อทอง ระยอง กำลังลิตรวม 97 เมกะวัตต์ ใน 7 พื้นที่จำนวน 929 ไร่ ใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง วังจันทร์ แกลง และปลวกแดง จากแผนเดิมที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2565 และจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2566

ขณะที่การลงทุนกำลังการผลิตติดตั้งอีก 184 เมกะวัตต์ จะก่อสร้างตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณใช้ไฟฟ้าที่คาดการณ์ในพื้นที่อีอีซี ที่แผนเดิมคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมดำเนินการเชิงพาณิชย์ไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2569

แหล่งข่าวจากระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามที่จะหารือผลักดันให้โครงการนี้ถูกบรรจุอยู่ในแผนดีพีดี แต่เมื่อมีมติ กพช.เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2565 ออกมาแล้ว หากจะเดินหน้าโครงการต่อ ก็จะต้องเข้าประมูลแข่งขัน เช่นเดียวกับเอกชนรายอื่น ๆ ในการขายไฟฟ้าเข้าระบบset-energy

Source : ฐานเศรษฐกิจ