รถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วยข้อดีในเรื่องของความประหยัด ทั้งค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถ ที่ต่ำกว่ารถใช้น้ำมันเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ จำเป็นต้องวางแผนเรื่องการชาร์จไฟให้กับรถตัว ใครที่อยู่คอนโดไม่มีสถานีชาร์จ ก็อาจจะต้องไปชาร์จที่สถานีชาร์รถไฟฟ้าตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำมัน ศูนย์บริการรถยนต์บางยี่ห้อ ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่บริการของเอกชนต่างๆ แต่ใครที่มีบ้าน อยากแนะนำว่าให้ติดตั้ง EV Charger ไว้ที่บ้าน ซึ่งจะได้รับความสะดวกมากที่สุด แต่ก่อนจะติดตั้งแนะนำให้ตรวจสอบความพร้อมของบ้านก่อนกันครับ

รู้จักกับ EV Charger กันก่อน

เราเริ่มต้นกับการทำความรู้จัก EV Charger กันก่อนครับ อธิบายง่ายๆ ก็คือ อุปกรณ์สำหรับชาร์จไฟให้กับรถยนต์ไฟฟ้านั่นเอง หรือบางคนอาจจะเรียกว่า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. Quick Charger แบบ DC เป็นรูปแบบของระบบการชาร์จด้วยตู้ EV Charger ที่มีการจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เข้าไปที่แบตเตอรี่โดยตรง ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จที่น้อยกว่าแบบอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังชาร์จที่ตู้ชาร์จสามารถทำได้ รวมถึงกำลังชาร์จที่รถยนต์ไฟฟ้านั้นรองรับด้วย ปัจจุบันนี้เราจะพบตู้ชาร์จแบบ DC ได้ตามสถานีชาร์จต่างๆ ตามปั๊มน้ำมัน ศูนย์บริการรถยนต์ และสถานที่บริการของเอกชนต่างๆ
  2. Normal Charger (Double Speed Charge) ในรูปแบบ Wall Box หรือเป็นกล่องตู้ติดตั้งอยู่ที่บ้านนั่เอง ซึ่งจะเป็นการชาร์จด้วยไฟกระแสสลับ (AC) พบตามบ้านทั่วไป รวมถึงโรงแรม และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งลักษณะการทำงานก็จะมีการแปลงไฟกระแสสลับให้เป็นไฟกระแสตรง แบบนี้จะใช้เวลาชาร์จค่อนข้างนาน เรียกว่าเหมาะกับคนที่ต้องการชาร์จรถที่บ้านมาก เสียบสายชาร์จตั้งแต่กลับบ้านช่วงเย็นๆ แล้วก็ไปนอน เช้ามาก็เต็มพอดี แนวๆ นี้ครับ ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับกำลังไฟตัวตู้ชาร์จ และการรองรับของรถยนต์ไฟฟ้าด้วย โดยเฉลี่ยอยู่อยู่ 4 – 9 ชั่วโมง
  3. Normal Charger แบบอุปกรณ์เต้ารับ ลักษณะก็จะเหมือนการต่อไฟจากบ้านเขารถโดยตรงผ่านตัวอุปกรณ์ ซึ่งบ้านที่จะสามารถจ่ายไฟได้ จะต้องติดตั้งมิเตอร์แบบ 15(45)A เพราะว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูงขณะทำการชาร์จนั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบสายไฟ สะพานไฟ ด้วยว่าสามารถรองรับได้หรือไม่ และอุปกรณ์ชาร์จควรจะมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ หรือตัดไฟเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย สำหรับระยะเวลาในการชาร์จแบบนี้จะช้าที่สุดครับ เวลาที่ใช้ราวๆ 12 – 15 ชั่วโมง

6 สิ่งต้องเช็ค ก่อนติดตั้ง EV Charger

ตอนนี้ก็มาดูกันว่า เราจะต้องเช็คอะไรบ้าง ก่อนจะติดตั้ง EV Charger ไว้ใช้ที่บ้าน สำหรับคำแนะนำจากทางการไฟฟ้านครหลวงนั้น ก็แนะนำไว้ 2 อย่างหลักๆ เลยก็คือ แนะนำให้เพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า เป็น 30(100)A แบบเฟสเดียว หรือ 30(100)A แบบ 3 เฟส และบ้านไหนไม่สะดวกที่จะปรับปรุงระบบไฟฟ้าใหม่ ให้ทำการขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 สำหรับ EV Charger โดยเฉพาะไปเลย โดยสามารถเลือกใช้มิเตอร์แบบ TOU ได้อีกด้วย

1.ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้าน

เริ่มจากดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านเราก่อน ถ้าใครไม่ทราบแนะนำให้ดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณหน้าบ้าน หรือสอบถามจากการไฟฟ้าใกล้บ้าน สำหรับคำแนะนำจากการไฟฟ้า สำหรับไฟ 1 เฟส ต้องมีขนาดมิเตอร์ 30 แอมป์ขึ้นไป ส่วนไฟ 3 เฟส แนะนำว่าต้องมีขนาดมิเตอร์ 15/14 แอมป์

2.ขนาดสายไฟเมนของบ้าน

สำหรับขนาดของสายไฟเมนที่เชื่อมต่อมายังตู้ควบคุม ต้องมีขนาด 256 ตารางมิลลิเมตร หรือขนาดที่ใหญ่กว่านี้ ซึ่งขนาดที่ว่านี้เป็นขนาดของเส้นทองแดง นอกจากนี้ตู้ควบคุม Main Circuit Breaker ควรใช้ตู้ที่รองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์

3.ตู้ควบคุมไฟฟ้า Main Circuit Breaker

ตู้ควบคุมไฟฟ้าของบ้านจะต้องรองรับกระแสไฟสูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ มีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker , 1P ขนาด 16A ซึ่งจะต้องเป็นช่องแยกจ่ายไฟออกมาจากส่วนอื่นๆ

4.เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Devices)

เราควรติดตั้งเครื่องตัดวงจร กรณีการรัดวงจรของอุปกรณ์​ มีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้าออกไม่เท่ากัน รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ไฟรั่ว ไฟเกินอีกด้วย ซึ่งเครื่องตัดไฟรั่วจะทำการตรวจสอบกระแสไฟที่ไหลผ่าน หากพบกว่ามีกระแสไฟที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการหายไปบางส่วน เช่น รั่วไหลไปลงดิน รั่วไหลไปสู่อุปกรณ์อื่นๆ เพราะมีการชำรุดของอุปกรณ์ ก็จะทำหน้าที่ตัดไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด หรือเกิดไฟไหม้ อีกทั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD Type B หรือเทียบเท่า

5.เต้ารับ EV Socket Outlet

สำหรับเสียบสายชาร์จ เป็นชนิด 3 รู ต้องทนต่อกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 A ตาม มอก.166-2549 หรืออาจเป็นเต้าสำหรับอุตสาหกรรม ต้องมีหลักดิน ซึ่งแนะนำให้แยกออกจากหลักดิน ของระบบไฟเดิมของบ้าน โดยใช้สายต่อหลักดิน เป็นสายหุ้มฉนวน ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดิน ควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดิน ควรเชื่อมต่อกันด้วยความร้อน

6.ตำแหน่งการติดตั้ง EV Charger

ให้สำรวจบริเวณบ้าน ตำแหน่งที่เราจอดรถก่อนว่า มีพื้นที่เพียงพอต่อการจอดรถ และเสียบสายชาร์จหรือไม่ คำแนะนำก็คือ ควรมีระยะห่างระหว่าง EV Charger กับตัวรถไม่เกิน 5 เมตร และพื้นที่นั้นควรจะเป็นที่ร่มมีหลังคา กันแดด กันฝนได้

สำหรับท่านที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วมีโปรโมชั่นแถม EV Charger มาให้เรียบร้อย ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก เพราะจะมีช่างมาช่วยตรวจสอบให้เราทั้งหมด รวมถึงติดตั้งให้เรียบร้อยด้วย แบบนี้ก็จะสะดวกหน่อย แต่ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ซื้อแล้ว เราต้องมาติดตั้งเอง ก็แนะนำให้ตรวจสอบให้ดีก่อน หากเราไม่ได้มีความชำนาญเรื่องพวกนี้ ไม่แนะนำให้ซื้อตามออนไลน์แล้วมาติดตั้งเองนะครับ เพราะมีความเสี่ยงในเรื่องของไฟฟ้าค่อนข้างสูง ลองหาช่างหรือบริษัทที่รับติดตั้งมาจัดการให้จะดีทึ่สุดครับ

ภาพประกอบ : Freepik

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าปี 2565 จำนวน 9,515 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 100% 

ส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปี 2565 จำนวน 92,746 คัน เพิ่มขึ้น 34.93% ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าผสม(HEV)  84,685 คันเพิ่มขึ้น 44.93% ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก(PHEV) 8,061 คัน ลดลง21.21% ด้านยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าปี 2565 จำนวน 72,158 คันเพิ่มขึ้น 86.58% 

สอดคล้องกับเดือนม.ค. 2566 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 4,707 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน 649.52%  โดยแบ่งเป็น รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 2,945 คัน เพิ่มขึ้น 1,019.77% 

ด้านยานยนต์ประเภทไฟฟ้า(HEV)จดทะเบียนใหม่ข้อมูลในเดือน ม.ค.2566  มีจำนวน 7,687 คันเพิ่มขึ้น 76.51% โดยแบ่งเป็น

รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 7,653 คันเพิ่มขึ้น 76.54% 

สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภทPHEV มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า(PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 961 คันเพิ่มขึ้น 33.10% โดยแบ่งเป็นรถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 961 คันเพิ่มขึ้น 33.10 %

ขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งปี 2565 จำนวน 72,158 คันเพิ่มขึ้น 86.58% การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(BEV) 11,162 คัน เพิ่มขึ้น 371.37% 

เก๋งอีวีสุดฮิตในตลาดในประเทศ  ม.ค.66 ยอดจดป้ายแดงเพิ่ม 1,000%

Source : กรุงเทพธุรกิจ

GoodWe บริษัทผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านพลังงานแสงอาทิตย์ระดับโลกได้เปิดตัวเครื่องชาร์จกระแสไฟฟ้าแบบสลับ (AC Wallbox) รุ่น HCA Series ที่อัดแน่นไปด้วยฟังก์ชั่นการชาร์จอัจฉริยะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทุกยี่ห้อ และทำงานร่วมกันได้กับโซลาร์อินเวอร์เตอร์ของ GoodWe รวมถึงไฮบริด อินเวอร์เตอร์อื่นๆ โดยเครื่องชาร์จไฟฟ้ารุ่นนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้เอง ขณะที่ช่วยให้ระบบที่ผสมผสานระหว่าง EV และ PV นี้ มีต้นทุนถูกลง การเปิดตัวครั้งนี้ แสดงให้เห็นความแข็งแกร่งของ GoodWe ในฐานะผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จด้านโซลูชั่นอัจฉริยะของตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้สำหรับที่อยู่อาศัย

เครื่องชาร์จพลังงานไฟฟ้าของบริษัท GoodWe ทำให้เจ้าของบ้านสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินได้ ไม่ว่าจะทางตรงจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาของผู้ใช้เอง หรือผ่านระบบแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงาน เครื่องชาร์จสามารถใช้งานควบคู่กับอินเวอร์เตอร์ของ GoodWe ทั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริด และแบบแบตเตอรี่ในการชาร์จจากพลังงานแสงอาทิตย์มายังรถยนต์ได้เต็มที่ (sun-to-car setup) ระบบบูรณาการนี้ถูกจัดการผ่านระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (SEMS) ของ GoodWe ซึ่งรวมไปถึงฟีเจอร์ในการดูแลและการชาร์จไฟฟ้าอัจฉริยะอีกด้วย

เครื่องชาร์จไฟฟ้า GoodWe ประกอบไปด้วยกระแสไฟฟ้าแบบเฟสเดียว (7 กิโลวัตต์) และแบบ 3 เฟส (11/22 กิโลวัตต์) พร้อมด้วยโครงสร้างสำหรับติดตั้งกับกำแพงและเสาบ้าน พร้อมทั้งมีค่ามาตรฐานในการป้องกันฝุ่นอยู่ที่ระดับ IP66 และมีกรอบกันน้ำอย่างดี เครื่องชาร์จไฟฟ้านี้สามารถติดตั้งได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร ยิ่งกว่านั้น ยังสามารถป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน กระแสไฟฟ้าแรงดันเกินและไฟฟ้าลัดวงจรได้

นายโทมัส แอร์ริ่ง (Thomas Hearing) กรรมการผู้จัดการ GoodWe Europe GmbH กล่าวว่า “รถไฟฟ้ากลายมาเป็นส่วนแบ่งที่สำคัญทางการตลาดของหลายประเทศในแถบยุโรป…พลังงานแสงอาทิตย์บวกกับพลังงานไฟฟ้าเป็นระบบที่พิสูจน์ได้ในอนาคตว่าช่วยส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนและการเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่ความยั่งยืน และด้วยเครื่องชาร์จไฟฟ้ารุ่น HCA Series ของ GoodWe นี้ เจ้าของบ้านสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากขึ้น ขณะที่มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลง และสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกลงไปได้พร้อมกันด้วย”  

เกี่ยวกับ GoodWe

GoodWe เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องอินเวอร์เตอร์พลังงานไฟฟ้าโซล่าเซลส์และระบบการกักเก็บพลังงานชั้นนำของโลกที่มีชื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (รหัสหุ้นคือ 688390) ส่งออกอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์รวมกว่า 2 ล้านชิ้นและการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 35GW มากกว่า 100 ประเทศในหลายภูมิภาค ระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ของ GoodWe ได้รับการไว้วางใจติดตั้งบนหลังคาทั้งส่วนที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคมากมาย ขนาดระหว่าง 0.7กิโลวัตต์ ถึง 250 กิโลวัตต์ บริษัทฯ มีพนักงานมากกว่า 4,000 คน ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก และได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์กักเก็บพลังงานท็อป 3 ของโลกโดยสถาบัน วู๊ด แมคเคนซีย์ เมื่อปี 2564 หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ goodwe.com

Source : Energy News Center

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ว่า บริษัทวินฟาสต์ ซึ่งเริ่มดำเนินกิจการเมื่อปี 2562 คือผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเวียดนามในเครือวินกรุ๊ป (Vingroup) และขายรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วรวม 2,208 คัน นับตั้งแต่การเปิดตัวในช่วงปลายปีที่แล้ว

“เซ็นเซอร์ตรวจจับการชนด้านข้างของระบบถุงลมนิรภัย ซึ่งติดตั้งเข้าดับรถอีวีโมเดล วีเอฟ อี34 คาดว่า มีข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถทำงานร่วมกันกับตัวควบคุมถุงลมนิรภัย ทำให้อาจเกิดการส่งสัญญาณที่ไม่ถูกต้องไปยังตัวควบคุมได้” วินฟาสต์ กล่าวในแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม วินฟาสต์ ระบุว่า ทางบริษัทไม่พบบันทึกการขัดข้อง หรือการร้องเรียนจากลูกค้า เกี่ยวกับความผิดพลาดของเซ็นเซอร์แต่อย่างใด

ทั้งนี้ บริษัทวินฟาสต์ ซึ่งหยุดการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน เมื่อเดือน ส.ค. กำลังเตรียมพร้อมที่จะขยายเข้าสู่ตลาดสหรัฐ โดยหวังว่าจะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์รุ่นเก่า และส่งมอบรถอเนกประสงค์ (เอสยูวี) พลังงานไฟฟ้าชุดแรกทั้งหมด 5,000 คัน ในเดือน พ.ย.นี้

นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีรายการสั่งจองรถยนต์ไฟฟ้าเกือบ 65,000 คันทั่วโลก และคาดว่าจะขายรถอีวีได้ 750,000 คันต่อปี ภายในปี 2569 โดยเริ่มจากรถเอสยูวีพลังงานไฟฟ้ารุ่นวีเอฟ 8 และวีเอฟ 9.

Source : เดลินิวส์

โซนี่-ฮอนด้า วางแผนเริ่มขายรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกในสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นปี 2026 โดยจะสร้างขึ้นที่โรงงานของฮอนด้าในสหรัฐฯ

ย้อนหลังกลับไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา โซนี่และฮอนด้า ได้ลงนามในสัญญากิจการร่วมค้าการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยในเวลานั้นแผนของทั้งโซนี่และฮอนด้าจะเริ่มจำหน่ายในปี 2025อย่างไรก็ตาม การประกาศล่าสุดของฮอนด้าและโซนี่ ได้เลื่อนไปเป็นช่วงต้นปี 2026 ล่าช้ากว่าการประกาศก่อนหน้านี้ประมาณหนึ่งปี

ในด้านการวางจำหน่ายทั้งฮอนด้าและโซนี่ เลือกที่จะวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ และมีการตอบสนองที่ดีเกี่ยวกับการมาของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าแน่นอนว่า ทั้งฮอนด้าและโซนี่ต่างเป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น จึงมีการวางจำหน่ายในประเทศบ้านเกิดในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกับสหรัฐอเมริกา ต่อจากนั้นจึงเป็นตลาดของประเทศในทวีปยุโรปส่วนกำหนดการสั่งจอง (Preorders) คาดว่าน่าจะเป็นช่วงปี 2025 และเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าทางฝั่งอเมริกาเหนือในฤดูใบไม้ผลิของปี 2026 และญี่ปุ่นเป็นในช่วงครึ่งหลังของปี 2026 โดยมีระดับราคาที่สมเหตุสมผล

ฮอนด้าและโซนี่ พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าร่วมกันภายใต้สัญญากิจการร่วมค้าในสัดส่วน 50:50 โดยตั้งชื่อบริษัทว่า Sony Honda Mobility ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ ทั้งสองบริษัทได้ทำงานในด้านที่พวกเขาถนัดเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ฮอนด้ามีความเชี่ยวชาญด้านรถยนต์ก็ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ส่วนโซนี่ ถนัดในการทำงานด้านเซนเซอร์, ชุดซอฟต์แวร์ และความบันเทิงอื่นๆ

ดังนั้นแล้ว รถยนต์ภายใต้แบรนด์ของฮอนด้าและโซนี่ จึงไม่ใช่แค่รถยนต์ทั่วไป แต่ยังเป็นพื้นที่ด้านความบันเทิงอีกด้วย จุดนี้ชวนให้คิดต่อไปว่า ด้วยความที่โซนี่เป็นผู้ผลิต อาจมีฟีเจอร์เกี่ยวกับวิดีโอเกมด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโซนี่และฮอนด้า เป็นในเรื่องของการไล่ตามผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเทสลา และบีวายดี สำหรับสัดส่วนการแบ่งรายได้ระหว่างโซนี่และฮอนด้า จนถึงเวลานี้ไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ

Source : ไทยรัฐออนไลน์