สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองโมเทรา ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ว่า นอกเหนือจากประชาบดี ชาวบ้านประมาณ 6,500 ในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างปั้นหม้อ, ช่างตัดเสื้อ, เกษตรกร และช่างทำรองเท้า อยู่ในชุมชนที่ได้รับการประกาศให้เป็นหมู่บ้านแห่งแรกของอินเดียที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดตลอดเวลา

อินเดีย ซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันดับ 3 ของโลก ตั้งเป้าที่จะตอบสนองความต้องการพลังงานครึ่งหนึ่งจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ภายในปี 2573 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่ 40% และรัฐบาลกล่าวว่า บรรลุผลสำเร็จไปแล้วเมื่อเดือน ธ.ค. 2564

โครงการดังกล่าวในเมืองโมเทรา ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางและเทศบาลเกือบ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 378 ล้านบาท) เกี่ยวข้องกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากกว่า 1,300 แผ่น บนหลังคาบ้านเรือนและอาคารสำนักงานของรัฐที่เชื่อมต่อกับโรงไฟฟ้า

นอกจากนี้ ทางรัฐจะรับซื้อพลังงานส่วนเกินที่ชาวบ้านผลิตออกมา หากพวกเขาไม่ได้ใช้ความจุทั้งหมดที่จัดสรรให้กับครัวเรือน ซึ่งด้วยเงินจำนวนนี้ นายปราวีน บาย ช่างตัดเสื้อวัย 43 ปี วางแผนที่จะซื้อท่อเชื่อมต่อถังแก๊สและเตาแก๊ส เนื่องจากหลายครัวเรือนในหมู่บ้าน ใช้เตาฟืนในการทำอาหาร ส่งผลให้เกิดควันไฟปริมาณมากออกมา

สำหรับนางรีนา เบ็น แม่บ้านวัย 36 ปี ที่ทำงานเป็นช่างตัดเสื้อแบบพาร์ทไทม์ พลังงานแสงอาทิตย์มีส่วนช่วยในงานของเธออย่างมหาศาล

“เมื่อพวกเราเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ ฉันซื้อมอเตอร์ไฟฟ้าราคา 2,000 รูปีอินเดีย (ประมาณ 910 บาท) เพื่อติดเข้ากับจักรเย็บผ้า ทำให้ตอนนี้ฉันสามารถเย็บเสื้อผ้าเพิ่มได้อีก 1 หรือ 2 ตัวทุกวัน” เบ็น กล่าว.

เครดิตภาพ : REUTERS

Source : เดลินิวส์

สายการบินนานาชาติแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (SWISS) และบริษัทแม่อย่าง Lufthansa Group เป็นหนึ่งในหลายองค์กรที่คำนึงถึงความสำคัญของการลดการปล่อยคาร์บอน จึงปฏิวัติวงการการบินด้วยการนำเชื้อเพลิงที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กับเครื่องบินเป็นครั้งแรก

ปัญหาพลังงานขาดแคลน และการตะหนักถึงความขาดแคลนของทรัพยากรน้ำมัน ดูจะเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะมันคือปัญหาที่กำลังจะคืบคลานมาเล่นงานคนทั่วโลกในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม มีหลายๆธุรกิจ หลายๆภาคส่วน ที่พยายามคิดค้นหาวิธี หาแหล่งพลังงานทดแทน รวมถึงธุรกิจสายการบินด้วย

โดย สายการบินนานาชาติแห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์  (SWISS) และบริษัทแม่อย่าง Lufthansa Group เป็นหนึ่งในหลายองค์กรที่คำนึงถึงความสำคัญของการลดการปล่อยคาร์บอน จึงได้ออกมาประกาศจับมือกับสตาร์ทอัพอย่าง Synhelion SA ในการปฏิวัติวงการการบินด้วยการนำเชื้อเพลิงที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กับเครื่องบินเป็นครั้งแรก  

SWISS AIR ประกาศเป็นสายการบินแรกของโลก ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานแสงอาทิตย์

และหากสำเร็จแบบ 100 เปอร์เซนต์ จะทำให้ SWISS AIR จะเป็นสายการบินแรกในโลกที่ใช้เชื้อเพลิง sun-to-liquid (จากแสงแดดสู่ของเหลว)” ทันที  และนี่น่าจะเป็นเทรนด์แห่งโลกอนาคต และโลกที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม

SWISS AIR ประกาศเป็นสายการบินแรกของโลก ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานแสงอาทิตย์

กระบวนการในการผลิตเชื้อเพลิงเครื่องบินจากแสงอาทิตย์ นั้น เป็นการนำแสงแดดเข้มข้นมาผลิตเป็นน้ำมันสังเคราะห์ที่เป็นกลางทางคาร์บอน Carbon neutrality 

โดย ฟิลิปเป้ ฟูร์เลอร์ Philippe Furler ผู้ก่อตั้งร่วมและซีอีโอของ Synhelion ให้ความเห็นว่า

“น้ำมันสังเคราะห์จากแสงอาทิตย์ที่เป็นกลางทางคาร์บอนรุ่นต่อไปของเรา เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ทั้งประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย” 
 

โดย Synhelion วางแผนจะสร้างโรงผลิตเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของโลกในประเทศเยอรมนีในปีนี้  และสายการบิน SWISS จะกลายเป็นลูกค้ารายแรกและเป็นสายการบินแห่งแรกที่จะใช้น้ำมันสังเคราะห์พลังงานแสงอาทิตย์ในการทำการบินในปี 2023 

ทางทีมพัฒนา มีความต้องการที่จะผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์ ไปสู่ระดับอุตสาหกรรม ภายในปี 2025 

ทั้งนี้ การจะนำเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เชิงพาณิชย์ จะต้องมีกำลังการผลิตน้ำมันโซลาร์ก๊าซสังเคราะห์ (solar kerosene) ที่ประมาณ 10 ล้านลิตรต่อปี ทางบริษัทฯ จึงได้ตกลงที่จะร่วมมือกับ สวิส อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines) เพื่อเริ่มกระบวนการผลิตในปี 2023 ที่จะถึงนี้ และจะขยายไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต

คอข่าว คงต้องจับตากันต่อว่า ประสิทธิภาพของน้ำมันสังเคราะห์พลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นอย่างไร และจะมีสายการบินไหนออกมาประกาศใช้พลังงานทดแทนเพิ่มเติมอีกหรือไม่

โดยในโปรเจคนี้ ในอดีต เคยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการทดลองบินเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ในสวิตเซอร์แลนด์ โดยใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง 15 นาที เมื่อปี 2014 

SWISS AIR ประกาศเป็นสายการบินแรกของโลก ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานแสงอาทิตย์

ขอขอบคุณ springnews /

Credit Youtube: Swiss International Air Lines

Source : Nation TV

สถิติจากรายงาน Global Solar Atlas ที่จัดทำให้กับธนาคารโลก เผยให้เห็นศักยภาพโดยเฉลี่ยของพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก พบว่าทวีป “แอฟริกา” นำหน้าภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เมื่อรวมผลผลิตโดยเฉลี่ยในระยะยาวของการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดสาธารณูปโภคในแต่ละประเทศ

ค่าผลผลิตประจําวัน 4.51 kWh/kWp/วัน ของแอฟริกานั้นแซงหน้า 4.48 kWh/kWp/วัน ของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ที่ตามมาในอันดับที่ 2 ในขณะที่อเมริกาเหนือตามมาเป็นอันดับที่ 3 ที่ 4.37 kWh/kWp/วัน ส่วนอันดับ 4-6 ได้แก่ เอเชีย (4.33 kWh/kWp/วัน), โอเชียเนีย (4.14 kWh/kWp/วัน) ยุโรปและรัสเซีย (3.44 kWh/kWp/วัน) ตามลำดับ

แผนที่แสดงศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ พบว่าแอฟริกายืนหนึ่งในด้านนี้

ทั้งนี้ การประเมิน “ไม่รวมพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ/ทางเทคนิค เช่น ภูมิประเทศที่ขรุขระ พื้นที่ในเมือง พื้นที่อุตสาหกรรม ป่าไม้ และพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์กลางของกิจกรรมของมนุษย์” แต่ไม่ถือรวมพื้นที่ที่อาจไม่เหมาะสมเนื่องจากกฎระเบียบที่กำหนดโดยหน่วยงานระดับชาติหรือระดับภูมิภาค เช่น การอนุรักษ์พื้นที่เพาะปลูกหรือการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นต้น

ภายใต้บริบทและเงื่อนไขดังกล่าว พบว่าประมาณ 20% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ใน 70 ประเทศที่มี “สภาวะที่ดีเยี่ยม” สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งหมายถึงมีผลผลิตระยะยาวที่เกิน 4.5 kWh/kWp ต่อวัน เมื่อพิจารณาในระดับภูมิภาคหรือทวีปพบว่ามีเพียงประเทศในแอฟริกาโดยเฉลี่ยที่อยู่เหนือเกณฑ์นี้

ทั้งนี้ ศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ยังคงมีอยู่อีกมากและยังไม่ถูกนำมาใช้ในประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าประเทศอื่นในทวีปนี้ นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญในการจัดหาบริการไฟฟ้าที่มีราคาไม่แพง เชื่อถือได้ และยั่งยืนแก่มนุษยชาติจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและคุณภาพของชีวิตประชากรโลก

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่าประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรในแอฟริกาตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในปัจจุบันไม่มีไฟฟ้าใช้ และประชากรที่มีไฟฟ้าใช้ก็แบกรับค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยเกือบสองเท่าของผู้บริโภคไฟฟ้าที่อยู่ในภูมิภาคอื่นของโลก ปัญหาการขาดแคลนพลังงานทำให้ทวีปนี้เสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 2-4ของจีดีพีต่อปี และความต้องการไฟฟ้าจำนวนมากจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากคาดว่าประชากรในอนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮาราจะเพิ่มขึ้นจาก 1 พันล้านคนในปี 2018 เป็นมากกว่า 2 พันล้านคนในปี 2050 เป็นเหตุให้คาดว่าความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี

แหล่งพลังงานในปัจจุบันของแอฟริกาส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลังงานผสมในแอฟริกาในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน และชีวมวลแบบดั้งเดิม (ไม้ ถ่าน และเชื้อเพลิงจากมูลสัตว์แห้ง) แม้ว่าพลังงานเหล่านี้จะค่อนข้างถูก แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน และส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นแหล่งพลังงานของทวีปนี้จะต้องเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตั้งเป้าที่จะบรรลุสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพสำหรับพลเมืองของตน และบรรลุขีดจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กำหนดโดยความตกลงปารีสปี 2015 และนั่นหมายความว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” ทุนพลังงานที่มีอยู่มหาศาลโดยธรรมชาติของทวีปนี้จะต้องได้รับการลงทุนอย่างจริงจังและถูกนำไปใช้ให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั่วทั้งแอฟริกามากขึ้น

พลังงานแสงอาทิตย์แอฟริกา

การจัดหาเงินทุนนับเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในขณะนี้ การสร้างโรงงานผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นค่อนข้างมีต้นทุนที่ถูกแต่มีค่าการดำเนินการสูง ในทางตรงกันข้าม แหล่งพลังงานหมุนเวียนมีราคาไม่แพงในการดำเนินการ แต่มีต้นทุนการติดตั้งสูง ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินล่วงหน้า การจัดหาพื้นฐานด้านพลังงานคุณภาพสูงสำหรับการพัฒนาในแอฟริกาจึงต้องการแนวทางที่ครอบคลุมในการจัดหาเงินทุน หากแอฟริกาต้องการใช้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาจะต้องระดมเงินทุนจากทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะโครงการจากพลังงานแสงอาทิตย์

ทั้งนี้ ปัจจัยบวกที่หนุนให้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในทวีปนี้ก็คือ แอฟริกาได้รับแสงแดดจ้าในช่วงเวลาของปีมากกว่าทวีปอื่นๆ ของโลกเป็นเวลาหลายชั่วโมง สถานที่ที่มีแดดจัดมากที่สุดในโลกอยู่ที่ภูมิภาคนี้ แม้จะมีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดในโลก และมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในครัวเรือนชาวแอฟริกันอย่างแพร่หลาย แต่บทบาทของพลังงานแสงอาทิตย์ในภาคพลังงานของแอฟริกายังไปได้ไกลกว่านี้

ทั่วทั้งทวีปนี้มีแสงแดดส่องเป็นเวลานาน (ไม่รวมพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่อย่างป่ากินีของแอฟริกาตะวันตกและส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำคองโก) เนื่องจากพื้นที่ทะเลทรายและทุ่งหญ้าสะวันนาของแอฟริกาเป็นพื้นที่ปลอดเมฆที่ใหญ่ที่สุดในโลก แอฟริกามีท้องฟ้าแจ่มใสเหนือทะเลทราย อาทิ ทะเลทรายซาฮารา นามิบ และคาลาฮารี

พลังงานแสงอาทิตย์แอฟริกา

ทะเลทรายซาฮาราตะวันออก/แอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือมีชื่อเสียงในด้านสถิติแสงแดดของโลก โดยเฉพาะ กับการที่พื้นที่นี้ประสบกับแสงแดดจ้าตลอดทั้งปีโดยเฉลี่ยมากที่สุด โดยดวงอาทิตย์ส่องแสงประมาณ 4,300 ชั่วโมงต่อปี จากจำนวนวันที่แสงแดดส่องถึงทำให้สามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปสู่แอฟริกาได้มากโดยไม่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านกริดขนาดใหญ่

การที่ภูมิศาสตร์​ของแอฟริกาตั้งอยู่ในเขตเขตร้อน ซึ่งความเข้มและความแรงของแสงแดดจะสูงอยู่เสมอ มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งที่มีแสงแดดส่องถึงจำนวนมากทั้งในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก

ทำให้ประมาณ 2 ใน 5 ของทวีปนี้มีภูมิประเทศเป็นทะเลทราย และมีแดดจัดอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม คองโก อิเควทอเรียล กินี กาบอง รวันดา ยูกันดา บุรุนดี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอนและเซเนกัล เป็นประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์น้อยที่สุดในทวีปนี้ เนื่องจากมีเมฆปกคลุมเกือบถาวรและ มีเพียงแสงแดดสดใสเป็นพักๆ

ยกเว้น 8 ประเทศนี้ แต่ละประเทศในแอฟริกาได้รับแสงแดดจ้ากว่า 2,700 ชั่วโมงต่อปี (อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งของอาณาเขตของตน) โดยหลายประเทศในแอฟริกาที่มีแดดตลอดเวลาอย่างอียิปต์ ลิเบีย แอลจีเรีย ไนเจอร์ซูดาน แอฟริกาใต้ และนามิเบีย สามารถพึ่งพาการพัฒนาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนมหาศาลของตัวเองได้ จากการลงทุนในขนาดที่ใหญ่และราคาที่ลดลง

Source : SALIKA

‘ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์’ ของจีน ที่มีชื่อว่า EAST ประสบความสำเร็จในการทำงานต่อเนื่องภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงเป็นเวลา 1,056 วินาที ระหว่างการทดลองรอบล่าสุด ถือเป็นระยะเวลาการทำงานที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เคยทำการทดลองมา

รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย จันทร์มณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ คุณวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการให้บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาและระบบบริหารจัดการพลังงาน