ไฮโดรเจนสีเขียว หรือเรียกสั้นๆว่า กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) กำลังจะกลายเป็นพลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดที่ดีสำหรับโลกเราในตอนนี้ เพราะเป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยให้โลกสามารถลดมลพิษเป็นศูนย์ได้ เรียกง่ายๆ ว่า เป็นกุญแจสำหรับสู่ Net Zero แม้ว่าไฮโดรเจนสีเขียวยังมีต้นทุนที่สูงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานทางเลือกอื่นๆ ก็ตาม ซึ่งเชื่อว่าหากได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ว่าสูงนี้ก็จะค่อยๆ ลดลงได้เช่นกัน ในบทความนี้ทางคณะทำงานด้านพลังงานหอการค้าไทยได้รวบรวมเอาเรื่องราวของไฮโดรเจนสีเขียวมาฝากกัน ไปติดตามอ่านกันได้เลย

ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) คืออะไร

ไฮโดรเจนสีเขียว

ไฮโดรเจนสีเขียวเป็นพลังงานสะอาดชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อแยกโมเลกุลไฮโดรเจนออกจากโมเลกุลของออกซิเจนในน้ำ ทำให้เกิดผลพลอยได้ในกระบวนการผลิตที่เกิดจากการเผาไหม้ไฮโดรเจนที่ไม่ใช้คาร์บอนไดออกไซค์แต่เป็นน้ำ ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้เราทราบว่า ไม่ว่าจะเป็นน้ำ หรือก๊าซ ก็สามารถเป็นแหล่งสกักไฮโดรเจนออกมาได้ แต่ว่าจะออกมาเป็นไฮโดรเจนประเภทไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบเชื้อเพลิงที่ใช้ รวมถึงการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต โดยสามารถแบ่งประเภทของไฮโดรเจนออกมาได้อีกหลายประเภทดังนี้

  • บราวน์ไฮโดรเจน (Brown Hydrogen) หรือไฮโดรเจนสีน้ำตาล เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตโดยใช้ถ่านหินผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Coal Gasification ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนประมาณ 16 กิโลกรัมต่อไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมที่ผลิตออกมาได้ ส่วนใหญ่จะมีการผลิตในประเทศจีนซึ่งถ่านหินเป็นจำนวนมาก
  • เกรย์ไฮโดรเจน (Grey Hydrogen) หรือไฮโดรเจนสีเทา เป็นไฮโดรเจนที่ได้จากก๊าซธรรมชาติ หรือนำมัน โดยผ่านกระบวนการ Steam Reforming ซึ่งกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดก๊าชคาร์บอนประมาณ 9 กิโลกรัมต่อไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมที่ผลิตได้
  • เทอร์ควอยไฮโดรเจน (Turquoise Hydrogen) หรือไฮโดรเจนสีฟ้าคราม เป็นไฮโดรเจนที่ผลิตได้จากการแยกมีเทนออกมาเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการ Methane Pyrolysis ซึ่งคาร์บอนที่ผลิตออกมาได้นั้นสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเชิงพาณิชย์ได้ แต่ว่าตอนนี้ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา และยังไม่มีการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ใดๆ เลย
  • บลูไฮโดรเจน (Blue Hydrogen) หรือไฮโดรเจนสีฟ้า เป็นไฮโดรเจนที่ใช้กระบวนการผลิตแบบเดียวกับเกรย์ไฮโดรเจน ซึ่งใช้กระบวนการ Steam Reforming แต่จะมีการเพิ่มเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) เข้ามาเพื่อช่วยในการลดการปล่อยคาร์บอน โดยกระบวนการผลิตบลูไฮโดรเจน จะปล่อยคาร์บอนประมาณ 3 – 6 กิโลกรัมต่อไฮโดรเจน 1 กิโลกรัมที่ผลิตออกมาได้
ไฮโดรเจนสีเขียว

ดังนั้นหากเทียบประเภทของไฮโดรเจนทั้งหมดแล้ว จะพบว่ากรีนไฮโดรเจน จะมีกระบวนการผลิตที่สะอาดมากที่สุด เพราะไม่มีการปล่อยคาร์บอนออกมาเลย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ยังค่อนข้างสูงอยู่นั่นเอง ซึ่งในอนาคตหากมีการนำมาใช้อย่างจริงจังและแพร่หลายมากขั้น ก็น่าจะช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนได้อีกมาก

ข้อดีและข้อเสียงของกรีนไฮโดรเจน

สำหรับกรีนไฮโดรเจนนั้นแม้จะมีข้อดีที่เห็นอย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่เช่นเดียวกัน หากเรานำมาใช้เป็นพลังงานแล้วมาดูกันว่าข้อดีและข้อเสียมีอะไรกันบ้าง

ข้อดี

  • ไม่มีอันตรายใดๆ ไม่เหมือนถังแก๊ส NGV, LPG
  • วัสดุหาง่าย ใช้น้ำเปล่า 100%
  • เครื่องยนต์เผาไหม้ดีขึ้น ช่วยลดควันดำ
  • สามารประหยัดน้ำมันได้ถึง 40 – 60%
  • มีระบบระบายความร้อนที่ควบคุมทางอิเลคทรอนิคส์
  • ปรับการผลิตก๊าซได้ตามรอบเครื่องยนต์

ข้อเสีย

  • มีราคาแพง
  • ประสิทธิภาพเชิงความร้อนต่ำ มีปัญหาเรื่องการจุดระเบิดย้อนกลับ (BACKFIRE)
  • ต้องใช้เงินลงทุนในการผลิตเป็นจำนวนมหาศาล
  • ยากต่อการจัดเก็บ การขนส่งและการบรรทุก
  • ประสิทธิภาพยังทำได้แค่เพียง 1 ใน 4 ของก๊าซธรรมชาติ

แม้ว่ากรีนไฮโดรเจนจะมีข้อเสียต่างๆ ตามที่นำเสนอไปนั้น แต่เชื่อว่าในอนาคตจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ไขข้อเสียต่างๆ นั้นได้จนหมด และปัจจุบันมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนทั่วโลกกว่า 200 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ไฮโดรเจนสีเขียว

โดยซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศที่มีการตั้งเป้าหมายในการผลิตไฮโดรเจนให้ได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ราว 4 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2030 นี้ และ กำลังสร้างโรงงานพลังงานสีเขียวและแอมโมเนียที่ใหญ่ที่สุดในนีโอม ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งอนาคต” นอกจากนี้ ACWA Power บริษัทพลังงานของซาอุดิอาระเบีย ได้ลงนามในข้อตกลงกับ Air Products บริษัทอุตสาหกรรมเคมีของสหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงาน ซึ่งจะใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วทั้งทะเลทราย และคาดว่าจะขับเคลื่อนซาอุดิอาระเบียสู่การปลอดคาร์บอนในอนาคต

ส่วนประเทศญี่ปุ่นก็มีการจัดตั้งโรงงานกรีนไฮโดรเจนอยู่ใกล้กับฟุกุชิมะ โดยจะเน้นผลิตเพื่อนำไปใช้งานเป็นหลักเนื่องจากไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะผลิตเพื่อใช้ในประเทศได้อย่างเพียงพอ สภาพยุโรปได้ประกาศการขยายลงทุนในกรีนไฮโดรเจนขนาดใหญ่มูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญ

และในเยอรมันนีก็เป็นอีกประเทศที่มีการผลิตไฮโดรเจนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลในเรื่องของการผลิต และยังมีการสนับสนุนภาพอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนสีเขียวอีกด้วย โดยมีโครงการ “National Hydrogen Strategy” เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรเจน ซึ่งทำเงินได้ถึง 7 พันล้านยูโรสำหรับการเปิดตัวไฮโดรเจนสีเขียวในเยอรมนี และอีก 2 พันล้านยูโรสำหรับพันธมิตรระหว่างประเทศ

ไฮโดรเจนสีเขียว

นอกจากนี้ยังมีประเทศออสเตรเลีย และชิลีที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะเป็นประเทศผู้ส่งออกไฮโดรเจนรายใหญ่ของโลก เพราะทั้งสองประเทศนี้มีทรัพยากรทางธรรมชาติและโครงสร้างต่างๆ ที่เอื้อต่อการผลิตและการส่งออกไฮโดรเจนนั่นเอง โดยชิลีได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไฮโดรเจนเนื่องจากทรัพยากรลมที่เหมาะสมที่สุด

แหล่งข้อมูล
Green Network Thailand
ฐานเศรษฐกิจ
ภาพประกอบ
Freepik

ระหว่างธันวาคมนี้ไปจนถึงมีนาคมปีหน้า จะได้มีการทดสอบ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากหิมะ ในเมืองอาโอโมริ ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น

เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเมืองซึ่งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่าทั้งประหยัดและเหมาะสมกับเมืองอย่างมาก

แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นโดยอาจารย์ภาควิชาด้านไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยโตเกียว ร่วมกับบริษัท Start-up ด้าน IT และสภาเมือง โดยจะนำหิมะที่ต้องเก็บกวาดตามหนทางในเมืองมาใส่ ใส่ลมร้อนเข้าไปจนอุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลง

และอากาศหมุนเวียนกลายเป็นลม จนไปหมุนใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและสร้างกระแสไฟฟ้าออกมา

นี่ถือเป็นการประหยัดงบในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก เพราะได้หิมะมาจากหิมะที่ต้องกวาดทิ้งทะเลไปเฉยๆโดยไม่ไช้ประโยชน์อะไร และปริมาณไฟฟ้าผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์อีกด้วย

ทีมคิดค้นเชื่อว่า ไฟฟ้าจากหิมะนี้จะเหมาะกับเมืองหนาวอย่าง อาโอโมริ ที่ทุกปีมีหิมะตกมาในปริมาณมาก

และต้องจัดเตรียมงบก้อนใหญ่ในแต่ละปีเพื่อเก็บกวาดหิมะทิ้งไป โดยกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาระบบกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้นี้ไว้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

สื่อญี่ปุ่นรายงานว่าทีมคิดค้นได้ความคิดในการผลิตไฟฟ้าจากหิมะ มาจากบริษัท Start-up ในยุโรปที่ผลิตไฟฟ้าจากทราย และบริษัทในญี่ปุ่นที่นำอุณหภูมิที่แตกต่างกันของน้ำพื้นผิวทะเลกับน้ำระดับที่ลึกลงไปมาใช้เป็นพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า

พร้อมกันนี้ยังคิดว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า ในยุคที่โลกโหยหาพลังงานสะอาดเพื่อลดการพึ่งพาน้ำมัน ตามเทรนด์ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

และเหมาะมากกับประเทศที่มีหิมะตกเป็นประจำ รวมไปถึงประเทศหนาวมีหิมะตกและกำลังประสบวิกฤตพลังงานอย่างยูเครนอีกด้วย / nikkei

Source : Marketeer

สุพัฒนพงษ์ เปิด 4 แนวทางนำไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2050 เดินหน้าลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงให้เหลือน้อยกว่า 50% รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ที่เป็นพลังงานสะอาด

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในการกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “บทสรุปทิศทางของประเทศไทยสู่ Green Energy & Economy” ภายในงานสัมมนา TEA FORUM 2022 “Mission Possible: Energy Transition to the Next 2050” ว่า

สำหรับแผนที่ไทยจะก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 โดยการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแนวทางสำคัญ 4 ด้าน  ได้แก่ 

  • มีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงให้เหลือน้อยกว่า 50% รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ที่เป็นพลังงานสะอาด และการทำสัญญาซื้อพลังงานน้ำจากลาวเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายระยะยาวคือการให้มีการใช้พลังงานสะอาดเป็นส่วนใหญ่ซึ่งผลิตได้ในประเทศเพื่อลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ โดยตั้งเป้าให้มีการใช้รถอีวีมากขึ้นตามนโยบาย 30@30 เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากภาคการขนส่งราว 100 ล้านตันต่อปี 

ทั้งนี้ มาตรการส่งเสริมการใช้อีวีได้รับการตอบรับอย่างดีจากอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมแล้วอย่างน้อย 4 บริษัท จะเป็นการสัดส่วนการผลิตรถอีวีในประเทศราว 10% ในอีก 2 ปีต่อจากนี้

  • การลดใช้พลังงานในภาคส่วนอื่นๆ อาทิ อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย ให้มีความเข้มข้นการใช้พลังงานลดลง 40% ด้วยการใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 

เปิด 4 แนวทางนำไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050

เปิด 4 แนวทางนำไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050

  • ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อดักจับและดูดซับคาร์บอนที่เกิดจากภาคการผลิตและอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนแนวคิดจากการทำ CSR ขององค์กรเอกชนเป็นโอกาสในการสร้างรายได้จากการมีคาร์บอนเครดิต นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเทคโนโลยีในการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากภาคอุตสาหกรรมให้กลับลงสู่บ่อก๊าซธรรมชาติที่ไทยมี ซึ่งคาดว่าจะกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 2,700 ล้านตัน

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวต่อไปอีกว่า การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเป็นทิศทางที่ปรากฏชัดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และกลายเป็นเมกะเทรนด์โลกที่ชัดเจนขึ้นเมื่อหลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากสาเหตุสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

ซึ่งไทยเองได้ประกาศจุดยืนบนเวทีโลกในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปลายปีที่ผ่าน ที่จะก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2050 เป้าหมายที่ท้าทายยิ่งขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ปี 2075

“ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ดังนั้นแทนที่จะต้องตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาจากทั่วโลก ไทยจึงต้องอาสาเป็นต้นแบบประเทศที่ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นการทางคาร์บอน”

ขณะเดียวกันแผนการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนต้องเกิดขึ้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากประเทศที่กุมเศรษฐกิจโลกกว่า 75% ได้ทำความตกลงร่วมกันแล้วในการตั้งกติกาใหม่ให้การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นข้อจำกัดทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไทยมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 350 ล้านตันต่อปี 

Source : ฐานเศรษฐกิจ

กางผลสำรวจบิ๊ก ส.อ.ท. 70.7% หนุนไทยก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero ปี ค.ศ. 2065 รับเป็นประเด็นท้าทายการปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ลดฟอสซิลและการจัดหาพลังงานสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการ โดยภาคพลังงานและขนส่งเป็นภาคสำคัญสุด กังวลมาตรการดังกล่าวดันต้นทุนพุ่ง