News & Update

กฟผ. จับมือ 4 พันธมิตรหนุนโครงการ SolarPlus เชื่อมการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Rooftop ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยตรง​เป็นครั้งแรกในประเทศ

กฟผ. หนุนโครงการ SolarPlus นำนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า Peer-to-Peer Energy Trading Platform เชื่อมการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ติดตั้ง Solar Rooftop เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตร 4 หน่วยงานได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด

ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ ในฐานะโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. ได้ร่วมเปิดตัวโครงการ SolarPlus ติดตั้ง Solar Rooftop ให้แก่ประชาชน เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานสะอาด โดย กฟผ. ได้นำแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading ที่ กฟผ. พัฒนาขึ้น เพื่อใช้สำหรับเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในโครงการนำร่องที่หมู่บ้านศุภาลัย การ์เด้นวิลล์ รังสิต คลอง 2 จ.ปทุมธานี พร้อมตั้งเป้าติดตั้ง 500,000 หลัง ทั่วประเทศภายใน 5 ปี คาดจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 2.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กฟผ. กับอีก 4 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด โดยมีการร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ณ ตึก KLOUD by KBank สยามสแควร์ ซอย 7 กรุงเทพฯ

กฟผ. นอกจากจะดำเนินภารกิจหลักในการผลิตและส่งไฟฟ้าแล้ว ยังได้มุ่งพัฒนา Solutions ใหม่ด้านนวัตกรรมพลังงาน ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าในยุคดิจิทัลควบคู่ไปด้วย โดยได้นำแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading ที่พัฒนาขึ้นโดย กฟผ. มาเป็นสื่อกลางซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ติดตั้ง Solar Rooftop ในโครงการ SolarPlus เพื่อใช้ในการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสีเขียว หวังเป็นต้นแบบของโครงการซื้อขายพลังงานแบบ Peer-to-Peer Energy Trading ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมเดินหน้าการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของ กฟผ. ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี ค.ศ. 2065 ของประเทศ ตลอดจนเป็นผู้ให้บริการ Solutions ด้านพลังงานแบบครบวงจรในอนาคต

สำหรับแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Energy Trading ของ กฟผ. เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Prosumer หรือผู้ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด นำไฟฟ้าส่วนที่เกินจากความต้องการใช้งาน มาเสนอซื้อ-ขายระหว่างกันได้โดยตรง (Peer-to-Peer) ซึ่งผ่านการทดลองใช้งานจริงในโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (ERC Sandbox) ระยะที่ 1 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แล้ว โดยรองรับการตกลงซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบสัญญาทวิภาคี (Bilateral Trading) ระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้งานสามารถติดตามค่าการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชัน รวมทั้งดูประวัติย้อนหลังได้ตลอดเวลา โดย กฟผ. อยู่ระหว่างพัฒนาแพลตฟอร์มให้สามารถใช้งานได้ง่ายและเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น พร้อมเตรียมขยายผลสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคต่อไป

Source: Energy News Center

เนื้อหาน่าสนใจ :  เนสท์เล่ฯ ผนึก กฟผ. นำร่องผลิตไอศกรีมด้วยพลังงานทดแทน 100% เป็นครั้งแรกในธุรกิจ FMCG

ค่าไฟหน้าร้อน ทำไมถึงแพงขึ้น ทั้งที่ยังตรึงค่า Ft ?

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมบิลค่าไฟฟ้าครัวเรือนในหน้าร้อนถึงแพงขึ้น ทั้งที่ภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังตรึงอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่า Ft ไว้ที่ 39.72 สตางค์…

‘SunGuard PV’ กันสาดโซลาร์เซลล์โค้งงอได้ ตอบโจทย์ยุคค่าไฟแพง

นับวันค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ‘ไฟฟ้า’ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การหันมาพึ่งพาตนเองด้วยการติดตั้ง ‘แผงโซลาร์เซลล์’ ตามบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นทางออกที่มีแนวโน้มจะเป็นที่นิยมมากขึ้น  แต่ด้วยข้อจำกัดของแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป ที่มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า…

นักวิจัยค้นพบวิธีใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ในเวลากลางคืน

นี่ถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่อีกขั้น เมื่อนักวิจัยชาวออสเตรเลียสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ได้ในตอนที่ “ดวงอาทิตย์ไม่ส่องแสง” แล้ว กลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัย UNSW ได้ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ให้เกิดขึ้นได้โดยการจับพลังงานของดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืนที่อาศัยการแผ่รังสีความความร้อนอินฟราเรดของโลก ทีมนักวิจัยมาจากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าโซลาร์เซลล์และพลังงานหมุนเวียน ใช้อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ที่เรียกว่าเทอร์โมเรเดียทีฟไดโอด (thermoradiative…

Leave a Reply