News & Update

น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ ลดฝุ่นเกาะ สะท้อนน้ำ

เกษตรกรบ้านเรามีการใช้โซลาร์เซลล์กันอย่างแพร่หลาย เพื่อประหยัดต้นทุนค่าพลังงาน โดยเฉพาะการสูบน้ำและไฟส่องสว่าง และส่วนใหญ่มักประสบปัญหาฝุ่นละออง รวมถึงน้ำค้าง น้ำฝน ทำให้ประสิทธิภาพในการรับแสงอาทิตย์ที่จะนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าลดลง และอายุการใช้งานสั้นลง

“ฝุ่นไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของมนุษย์ แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ฝุ่นค่อนข้างเยอะ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง 6-10% และหากเป็นกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเขม่าควัน หรือละอองน้ำมันจับที่หน้าแผง ประสิทธิภาพอาจลดลงได้ถึง 9-10% ขณะที่น้ำบั่นทอนให้อายุการใช้งานสั้นลงกว่าที่ควรเป็น นักวิจัยนาโนเทค สวทช. จึงพัฒนาน้ำยาเคลือบผิวโซลาร์เซลล์ ด้วยเทคโนโลยีเคลือบนาโน ลดการเกาะของฝุ่น เพิ่มคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ถือเป็นอีกนวัตกรรมที่หนุนอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์และโซลาร์ฟาร์ม ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความยั่งยืนทางพลังงาน”

ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อธิบายถึงน้ำยาเคลือบผิวโซลาร์เซลล์…เป็นการพัฒนาสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับพื้นผิวหลากหลายประเภท เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้กับพื้นผิวตามความต้องการ โดยสามารถประยุกต์ ใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมผลิตพลังงาน อุตสาหกรรมสิ่งก่อสร้าง พลาสติก กระดาษ รวมถึงพื้นผิว อื่นๆ โดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ ที่พบว่าเทคโนโลยีเคลือบนาโนสามารถแก้ปัญหาที่กลุ่มผู้ใช้โซลาร์เซลล์ เพื่อการผลิตไฟฟ้าในระดับโรงงานอุตสาหกรรม โซลาร์ฟาร์ม รวมถึงผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์กำลังเผชิญ

เพราะโดยปกติ หากแผงโซลาร์เซลล์มีฝุ่นเกาะเยอะ ผู้ประกอบการจะแก้ปัญหาด้วยการทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ต้นทุนสูง รวมถึงต้องใช้บุคลากรที่มีใบประกอบวิชาชีพด้านการทำงานบนที่สูง หากติดตั้งแผงโซลาร์ เซลล์ไว้บนที่สูงหรือหลังคา และยังต้องคำนึงถึงความชำนาญในการทำความสะอาด เพื่อลดความเสี่ยงของรอยขีดข่วน ชำรุดของโซลาร์เซลล์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเช่นกัน

สำหรับน้ำยาเคลือบพื้นผิวโซลาร์เซลล์จากเทคโนโลยีเคลือบนาโน (Nano Coating) เป็นการพัฒนาสูตรขึ้นเป็นพิเศษ โดยปรับค่ามุมสัมผัสของน้ำบนวัสดุ (Water contact angle) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ ลดการเกาะของฝุ่นให้แก่พื้นผิว และยังมีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ โดยของเหลวที่ตกกระทบพื้นผิววัสดุที่ผ่านการเคลือบ จะมีลักษณะเป็นก้อนกลมกลิ้งไหลออกจากพื้นผิว ลดการยึดเกาะ และชำระล้างฝุ่น รวมถึงสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ทิ้งคราบน้ำ ทำให้แผงสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 5 ในช่วงหน้าแล้ง

โดยทีมวิจัยได้ออกแบบ และพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบให้ใช้งานง่ายในรูปแบบสเปรย์ และปาดเคลือบ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพพื้นผิววัสดุ ทำให้การลดข้อจำกัดด้านการเคลือบโซลาร์เซลล์ และผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อผู้ใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.

Source : ไทยรัฐ

จีนทดสอบ “รถไฟพลังงานไฮโดรเจน” ขบวนแรก วิ่งเร็ว 160 กม./ชม.

รถไฟในเขตเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน ซึ่งจีนพัฒนาขึ้นเองเป็นขบวนแรก วิ่งทดสอบเสร็จสิ้น ด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญ ในการประยุกต์ใช้พลังงานไฮโดรเจน เพื่อการขนส่งทางรถไฟ สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองฉางชุน…

วิกฤตโลกร้อนเล่นงาน สวิสเซอร์แลนด์ ถูก “กระบองเพชร” ขึ้นแทนที่หิมะ คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ

เมื่อพูดถึง “กระบองเพชร” ใครหลายคนจะนึกถึงต้นไม้รูปร่างแปลกตามีหนามแหลมเป็นเอกลักษณ์ ที่มักจะเติบโตในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง ทะเลทราย แต่ด้วยวิกฤตจากสภาวะโลกร้อน ทำให้ รัฐวาเลส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ส่วนมากจะปกคลุมไปด้วยหิมะจนชินตา กลับถูกแทนที่ด้วยกระบองเพชร ที่กำลังกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วคุกคามพื้นคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ เจ้าหน้าที่ทางการรัฐวาเลส์กล่าวว่า รัฐวาเลส์…

“บ้านปู” ทุ่ม 1.6 หมื่นล้าน ลุยพลังงานสะอาด ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กลุ่มบ้านปู อัด 1.65 หมื่นล้าน กางแผน 3 ปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลุยพัฒนาพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 1,100…

Leave a Reply