News & Update

แนวคิดใหม่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบเร่งด่วนช่วยลดต้นทุนลงได้ 20%

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่กำลังถูกนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดบริษัท 5บี (5B) ประเทศออสเตรเลียได้พัฒนาวิธีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบเร่งด่วน การติดตั้งง่ายและมีความรวดเร็วมากขึ้นใช้แรงงานเพียง 10 คน สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเท่าสนามฟุตบอล ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1.1 เมกะวัตต์ ได้ภายในวันเดียว

บริษัท 5บี (5B) ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบใหม่เรียกว่ามาเวอริค (Maverick) สามารถทำการติดตั้งได้รวดเร็ว หลังจากค้นพบปัญหาในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบเดิมที่ใช้เวลานานและมีความยุ่งยากในการติดตั้งหลายขั้นตอน 

แผงโซลาร์เซลล์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นถูกพับเก็บในตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถขนส่งเคลื่อนย้ายได้สะดวก การติดตั้งทำโดยใช้รถยกเพียงคันเดียวทำหน้าที่เคลื่อนย้ายแผงโซลาร์เซลล์ออกจากตู้คอนเทนเนอร์และติดตั้งลงไปในตำแหน่งที่ได้วางแผนเอาไว้ หากนับเฉพาะขั้นตอนนี้ใช้ทีมงานเพียง 3 คน เท่านั้น บริษัทยืนยันด้วยการติดตั้งที่รวดเร็วขึ้นทำให้สามารถประหยัดต้นทุนลงได้ 20% เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งรูปแบบเดิม

ต้นทุนราคาแผงโซลาร์เซลล์ยังคงมีราคาแพงอยู่เพราะฉะนั้นการลดต้นทุนการติดตั้งให้มีราคาถูกลงนับเป็นแนวทางที่น่าสนใจและช่วยให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงตามไปด้วย ปัจจุบันบริษัทได้ทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบใหม่มาเวอริค (Maverick) แล้วประมาณ 10 แห่ง ในประเทศออสเตรเลีย ประเทศที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งปีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ที่มาของข้อมูล Newatlas
ที่มาของรูปภาพ 5B  

Source : TNNOnline

เนื้อหาน่าสนใจ :  ปตท.ลุย CCU จ่อทุ่ม 3 พันล้าน ผลิตเมทานอลจาก CO2 โรงแยกก๊าซฯ

GAC Aion เปิดโรงงานในประเทศไทย มุ่งสู่ฮับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน

GAC AION ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน เปิดโรงงานแห่งแรกนอกประเทศจีนอย่างเป็นทางการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง ประเทศไทย มุ่งหวังให้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าสู่อาเซียนและตลาดพวงมาลัยขวาทั่วโลก โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า GAC AION ในประเทศไทย ทุ่มงบลงทุนกว่า 2.3…

ปตท.สผ. เปิด“ลานแสงอรุณ”​ เริ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียม

ปตท.สผ. เปิดโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ “ลานแสงอรุณ” เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียมในโครงการเอส 1 นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 13,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี อีกหนึ่งความมุ่งมั่นสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์…

ไอเดีย“AZEC”ของญี่ปุ่นหนุน แผน”ลดคาร์บอน”บริบทใหม่ในเอเชีย

ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์เป็นบันไดขั้นที่ 1 ที่จะลดปัญหาโลกร้อนแต่หลังความมุ่งมั่นที่แต่ละประเทศประกาศเจตนารมณ์มาเมื่อหลายปีมาแล้วนั้น คือการลงมือทำ แต่วิธีการควรเป็นอย่างไร  ข้อริเริ่มโดยรัฐบาลญี่ปุ่นที่ชื่อว่า  Asia Zero Emission Community…

Leave a Reply