News & Update

แบตเตอรี่โซเดียมไอออน จากแร่เกลือหิน ครั้งแรกในไทย รองรับพลังงานทดแทน

ม.ขอนแก่น สุดเจ๋ง เปิดตัว แบตเตอรี่ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย ครั้งแรกในอาเซียน  รองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมแบตเตอรีในอนาคต

แม้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิล ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของโลกร้อน แต่ราคารถที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะแบตเตอรี่ ที่เดิมใช้เทคโนโลยีลิเธียมไออน ซึ่งหายากและมีราคาแพง ทำให้การขยายตัวยังทำได้ในวงจำกัด แต่ล่าสุดมีข่าวดี เมื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ต้นแบบที่ใช้โซเดียมไอออน  ที่ผลิตจากแร่เกลือหินซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย สามารถลดต้นทุนการผลิตและไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรหายากจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการรถไฟฟ้าของไทยในอนาคต

แบตเตอรี่โซเดียมไอออน
แบตเตอรี่โซเดียมไอออน

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ดร. ธีรวุธ  ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมเปิดตัวแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ซึ่ง มข.ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำการวิจัยและทำการผลิตจนนำมาสู่การใช้งานได้จริง โดยมีนักวิชาการและผู้ที่สนใจในกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน ร่วมเป้นสักขีพยานและชมผลงานวิจัยดังกล่าวกันอย่างคับคั่ง

แบตเตอรี่โซเดียมไอออน
แบตเตอรี่โซเดียมไอออน

ศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมมไอออนต้นแบบซึ่งผลิตได้เป็นที่แรกในประเทศไทย และที่แรกในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยทำการที่โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

แบตเตอรี่โซเดียมไอออน
แบตเตอรี่โซเดียมไอออน

ทั้งนี้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ถือเป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต โดย มีสถานประกอบการในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่  แห่งอนาคนแบบครบวงจรเข้าร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วยโครงการเหมืองแร่โพแทช บริษัท ไทยคาลิ จำกัด และ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าบริษัท วี.ซี.เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำน่ายจักรยายนยนต์ไฟฟ้า บริษัท เอ็นเซิร์ฟ  โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อินโนวาแพค จำกัด บริษัท ทีแอนด์ที ไมโครโมบิล จำกัดเข้าร่วมชมผลงานด้วย

” ทีมนักวิจัย มข. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาศึกษาวิจัยและทดลองแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศทดแทนแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ทั้งนี้ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกในระดับเซลล์จากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ จนออกมาเป็นผลิตต้นแบบ (Prototype) และนำไปทดลองใช้งานจริงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS)  ที่จะเป็นแบตเตอรี่สำหรับจักรยานไฟฟ้า แบตเตอรี่สำรองสำหรับระบบโซลล่าเซลล์ และ ไฟส่องสว่าง อย่างไรก็ตามจากความสำเร็จเหล่านี้ ส่งผลอุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคือ อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคตจากวัตถุดิบที่มีในประเทศ”

ขณะที่ ดร. ธีรวุธ  ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า ภาคอีสานเป็นแหล่งแร่สำรองที่มีปริมาณมหาศาลมาก ที่ทำให้ทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะเล็งเห็นว่าโซเดียมไอออนแบตเตอรี่มีศักยภาพที่จะมาเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกเพื่อจะทดแทนลิเทียมไอออนแบตเตอรี่เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ 100% ปีงบประมาณหน้าทาง มข. จากทำแบตเตอรี่โซเดียมไอออนให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมเพื่อที่จะมาเทียบกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและตอนนี้ได้นำไปใช้กับ อีไบรท์หรือจักรยานยนต์ต้นแบบที่ใช้พลังงานจากโซเดียมไอออนซึ่งเป็นความสำเร็จจากโครงการครั้งนี้และเป้าหมายต้องการจะสร้างอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ครบวงจร ในส่วนตัวเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์กิโลกรัมละไม่กี่บาทแต่พอมาทำเป็นตัววัตถุดิบตั้งต้นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนตัวนี้จะยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจแร่ตัวนี้อย่างมากในอนาคต และจะทำการต่อยอดให้เป็นอุตสาหกรรมต่อไป

Source : Spring News

ญี่ปุ่นผลักดันไลฟ์สไตล์ใหม่ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สภาพอากาศรุนแรงผลจากภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนประจักษ์ชัดทุกขณะ ด้วยข่าวคราวที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายคนตกเป็นเหยื่อน้ำท่วม คลื่นความร้อน และอื่นๆ ปัญหาใหญ่ระดับโลกเช่นนี้กำลังต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่ต้องเริ่มต้นจากไลฟ์สไตล์ของทุกคน กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นจัดบรรยายสรุปผ่านทางออนไลน์ หัวข้อ “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฝั่งอุปสงค์”  เริ่มต้นจากความตกลงปารีส” (Paris…

คลีนเนอร์ยี่ เอบีพี” จับมือ “อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส”หนุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ใน นิคมฯ อมตะชลบุรี-ระยอง

บริษัท คลีนเนอร์ยี่ เอบีพี จำกัด (Cleanergy ABP) โดย นายอภิเชษฐ นุ้ยตูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

ส่องเงื่อนไข “สินเชื่อโซลาร์รูฟ ธอส.” ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ธอส. เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ "ติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์" หรือ Solar Roof…