News & Update

สุดเจ๋ง! แดนจิงโจ้เปิดตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังสูงจากแรงดันน้ำทะเล

บริษัทในออสเตรเลียเปิดตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากแรงดันน้ำทะเลที่เหนือกว่าการใช้คลื่นทะเลทั่วไป สร้างกำลังไฟสูง ติดตั้งได้ทุกพื้นที่ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คลื่นทะเล (Sea Waves) เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าทางเลือกประเภทหนึ่งที่อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เลือกใช้พลังงานจากคลื่นที่มีกระแสลมเป็นตัวแปรสำคัญและในบางครั้งกระแสลมอาจไม่มีความสม่ำเสมอเพียงพอ แต่บริษัท บริษัท เวฟสเวลเอเนอร์จี (Wave Swell Energy) จากออสเตรเลีย เลือกที่จะสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากคลื่นสะเทือน (Ocean Swell) ที่อยู่ระดับใต้น้ำทะเลแทน เพราะให้กำลังไฟฟ้าที่ต่อเนื่องมากกว่าและสามารถติดตั้งได้ทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเล

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใหม่นี้มีชื่อว่ายูนิเวฟ 200 (UniWave 200) ที่บริษัท เวฟสเวลเอเนอร์จี (Wave Swell Energy) ซึ่งตั้งอยู่ในเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย (Victoria) ของออสเตรเลียเป็นผู้ผลิต จากการพัฒนาและทดสอบติดตั้งใกล้ชายฝั่งของเกาะคิง (King Island) ที่อยู่ระหว่างตอนใต้ของเมลเบิร์นกับแทสมาเนีย (Tasmania) เป็นเวลากว่า 1 ปี โดยบริษัทมองว่าได้ผลลัพธ์ในการผลิตที่ดีมาก

หลักการทำงานของยูนิเวฟ 200 (UniWave 200) คือ การสร้างโพรงอากาศ (Blowhole) ในรูปของท่อ (Chamber) ขนาดใหญ่ที่คล้ายกับตัวแอล (L) ในแนวนอน โดยด้านยาวจะปล่อยให้คลื่นสะเทือนใต้น้ำเข้ามาภายในท่อ โดยแรงดันน้ำทะเลจะส่งผลให้เปลี่ยนความดันอากาศด้านสั้นของตัวแอล (L) ที่ตั้งฉากกับพื้น ในจังหวะต่อมา ความดันอากาศภายนอกจะเข้ามาจากรูด้านบนเหนือท่อ ซึ่งมีกังหันลมคอยรับอากาศอยู่ ดังนั้น อากาศจากภายนอกท่อที่เข้าสู่ระบบจะทำหน้าที่ปั่นกังหันลมทุกครั้งตามจังหวะการยกตัวของคลื่นทะเล ซึ่งเป็นการใช้พลังงานกลจากคลื่นทะเลได้เต็มประสิทธิภาพกว่าการใช้แรงจากคลื่นที่ระดับผิวน้ำที่มีแรงและความเสถียรน้อยกว่า

โดยการทดสอบที่เกาะคิง (King Island) เครื่องยูนิเวฟ 200 (UniWave 200) มีกำลังการผลิต 40 กิโลวัตต์ (kW) สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) เมื่อให้ระบบทำงานเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่ทางบริษัทเชื่อว่าหากนำไปติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสม จะยกระดับกำลังการผลิตได้สูงสุดถึง 200 กิโลวัตต์ (kW) 

ระบบการผลิตโดยเวฟสเวลเอเนอร์จี (Wave Swell Energy) เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพราะไม่ได้เป็นการรบกวนสมดุลทางธรรมชาติดั้งเดิม เพียงแต่อาศัยน้ำทะเลมาเข้าท่อระบบเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ อีกทั้งยังติดตั้งกลมกลืนไปกับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และหากติดตั้งเป็นระบบที่มีหลายเครื่อง ก็สามารถทำเป็นแนวชะลอคลื่นที่ช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อีกด้วย โดยในตอนนี้บริษัทกำลังเร่งการทำงานให้พร้อมทำการผลิตในเร็ววันนี้ ส่วนโครงการที่เกาะคิง (King Island) จะติดตั้งไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย


ที่มาข้อมูล New Atlas

ที่มารูปภาพ Wave Swell Energy

Source : TNN Thailand

เนื้อหาน่าสนใจ :  รัฐเร่งยานยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ หนุนลงทุนแบตเตอรี่รถยนต์-สถานีชาร์จไฟฟ้า

เอกชนจี้รัฐลุยต่อ ปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ ยกนิ้วรัฐลดค่าไฟ

บิ๊กหอการค้ายกนิ้วรัฐบาลลดค่าไฟฟ้าทันที ช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน ลดต้นทุนผู้ประกอบการ จี้ลุยต่อยกเครื่องโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้เหมาะสม กระทุ้งเร่งตั้ง กรอ.พลังงานให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รัฐบาลใหม่นัดแรก (13 ก.ย.…

ปตท.-ตรีเพชรอีซูซุเซลส์-มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ผนึกกำลังผุดโปรเจคทดสอบรถพลังงานสะอาด

ปตท.-ตรีเพชรอีซูซุเซลส์-มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ผนึกกำลังผุดโปรเจคทดสอบรถพลังงานสะอาดเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน  เมื่อเร็ว ๆ นี้ – ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท…

“เหล้าจิน” จากเศษโดนัทเหลือทิ้ง Krispy Kreme ไอเดียใหม่ลดปัญหาขยะอาหาร

"เหล้าจิน Krispy Kreme" ไอเดียใหม่ลดขยะอาหารจาก Krispy Kreme ของฝากนักหิ้วจากกรุงเทพฯสุดโด่งดัง ที่แก้ปัญหาขยะอาหารด้วยการนำเศษโดนัทเหลือทิ้งมาแปลงเป็น "เหล้าจิน" โดนัท…

Leave a Reply