News & Update

พรายพล เสนอ ไทยร่วมซาอุฯ ผนึกกำลังผลิตพลังงานสะอาด

ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อดีตคณบดีและอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า จากกรณีที่ ซาอุดิอารเบีย มีความสนใจตั้งคลังน้ำมัน และโรงกลั่นปิโตรเคมี ในโครงการแลนด์บริดจ์พื้นที่ภาคใต้ของไทยนั้น มองว่า รัฐบาลไทย และซาอุฯ ควรจะร่วมมือกันเปลี่ยนโฉมจาการสร้างโรงกลั่น หรือคลังเก็บน้ำมัน มาเป็นมุ่งการผลิตพลังงานใหม่ หรือ กรีนไฮโดรเจน เพื่อรับรองรถยนต์ที่ไม่ใช้นำมัน หรือ อื่นๆ ที่มีทิศทางเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นเทรนอนาคตโลก

“ทิศทางการลงทุน ที่น่าสนใจ และแน่นอนกว่า คือ กรีนไฮโดรเจน เพราะเป็นอนาคตของโลก ทั้งไทย และซาอุฯ เองก็ให้ความสนใจ โดยรัฐบาลซาอุฯ มีความต้องการกระจายเศรษฐกิจไปพลังงานสะอาดมากขึ้น ไม่ใช่พลังงานน้ำมันเพียงอย่างเดียวแล้ว จีน ก็เช่นเดียวกันต้องการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ซึ่งเป็นความต้องการที่ตรงกันทุกประเทศ” ดร.พรายพล กล่าว

ส่วน กรณี ซาอุดิ มีความสนใจตั้งคลังน้ำมัน และโรงกลั่นปิโตรเคมี ในโครงการแลนด์บริดจ์พื้นที่ภาคใต้ของไทยนั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะมองว่า ไทยมีโรงกลั่นอยู่จำนวนมากแล้ว ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ และหากต้องการสร้างเพื่อผลิตขายในต่างประเทศ ก็มองว่าทิศทางของโรงกลั่น และการใช้น้ำมันในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะหดตัวลง ตามทิศทางกระแสความต้องการใช้พลังงานใหม่ของโลก 

“มองภาพไม่ออกว่าจะขยายโรงกลั่น หรือคลังน้ำมันไปเพื่ออะไร ถ้าดูจากหลายปัจจัยแวดล้อมแล้วโอกาสความเป็นไปได้จึงน้อยมาก เพราะไทยมีจำนวนโรงกลั่นเหลือเฟือมาก ผลิตเพิ่มก็จะล้นตลาด หากจะส่งออก ก็มีไม่กี่ประเทศที่ใช้น้ำมันเยอะ เพื่อนบ้านเราก็ใช้ไม่มาก โดยเฉพาะภาคขนส่งก็มีแนวโน้มใช้ลดลง ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าจะขายจีน ทำไมไม่ตั้งจีนน่าจะดีกว่ามั้ย แต่จีนเองก็มีแนวโน้มใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น” ดร.พรายพล กล่าว

ปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยออยล์จํากัด (มหาชน) (TOP) ,บริษัท พที ทีโกลบอล เคมิคอล จํากัด (มหาชน) (PTTGC), บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จํากัด (SPRC), บริษัท บางจากปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน) (BCP), บริษัท ไออาร์พีซีจํากัด (มหาชน) (IRPC) และบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) (ESSO) โดย โรงกลั่นน้ำมันทั้ง 6 แห่งมีกําลังการผลิตโดยรวมประมาณ 1.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 190 ล้านลิตรต่อวัน

สำหรับ สถานการณ์ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ของประเทศสำคัญ พบว่า มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศทั่วโลก หันมาสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยจีน มีการกำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า 5 ปี มีมาตรการต่างๆ อาทิ ส่งเสริมการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ อุดหนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเงิน 2,300–3,200 เหรียญสหรัฐต่อคัน ทำให้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในจีนเพิ่มขึ้นมาก จาก 1.06 ล้านคัน ในปี 2562 เป็น 3 ล้านคันในปี 2564 และในช่วงเดือนมกราคม–พฤศจิกายน 2565 มียอดขายอยู่ที่ 4.73 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วน19% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดในจีน 

สหภาพยุโรป อยู่ระหว่างการผลักดันเรื่องการหยุดการจำหน่ายเครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2578 เพื่อเร่งผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในยุโรป และส่งเสริมให้ผู้ผลิตรถยนต์หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น และยังเตรียมออกร่างกฎหมายกำหนดจุดชาร์จไฟฟ้าในประเทศสมาชิก แต่กลุ่มผู้ผลิต เช่น ในเยอรมนี และอิตาลี 

ส่วนสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมาย Inflation Reduction Act เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและการสร้างแรงจูงใจทางการเงิน เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการสหรัฐฯ ลด-ละ-เลิก ใช้พลังงานฟอสซิล อาทิ การให้เครดิตภาษีให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ปรับธุรกิจมาใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานนิวเคลียร์ การให้เครดิตเงินคืนแก่ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในสหรัฐฯ เกิดการปรับตัว ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ 9 เดือนแรกของปี 2565 มียอดขายอยู่ที่ราว 5.30 แสน คัน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งมียอดขาย 4.70 แสนคัน

ขณะที่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทย พบว่า มีแผนการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้นโยบาย “30@30” คือ การตั้งเป้าหมายให้ไทยผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ 30% ภายในปี 2573 โดยรัฐบาลไทยได้มีการออกมาตรการสนับสนุนทั้งการสนับสนุนการผลิตแบตเตอรี่ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสรรพสามิตจาก 8% ลดเหลือ 1% และการอุดหนุนการซื้อยานยนต์ไฟฟ้า ไม่เกินคันละ 1.5 แสนบาท โดยผู้ขอรับสิทธิ ต้องเป็นบุคคลตามประกาศกรมสรรพสามิตกำหนด

Source : โพสต์ทูเดย์

“พิมพ์ภัทรา”จ่อปลดล็อกใบอนุญาติติดตั้งผลิตไฟฟ้าพลังงานลม-น้ำครัวเรือน

"พิมพ์ภัทรา"จ่อปลดล็อกใบอนุญาติติดตั้งผลิตไฟฟ้าพลังงานลม-น้ำครัวเรือน หวังลดค่าใช้จ่าย แก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าให้ประชาชน เตรียมชง ครม. พิจารณาพร้อมนโยบายโซลาร์รูฟท็อปเสรี นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันกำลังเร่งดำเนินการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาติผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และน้ำภาคครัวเรือน…

คณะกรรมาธิการการพลังงาน สรุป 8 แนวทางแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพง เชื่อลดได้ 0.8907 บาทต่อหน่วย ทุบค่าไฟฟ้าเหลือไม่เกิน 4 บาท

คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร สรุปผลการศึกษา “ญัตติแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพง” ออก 8 มาตรการช่วยลดค่าไฟฟ้าประชาชน เช่น ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)…

วิกฤตโลกร้อนเล่นงาน สวิสเซอร์แลนด์ ถูก “กระบองเพชร” ขึ้นแทนที่หิมะ คุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ

เมื่อพูดถึง “กระบองเพชร” ใครหลายคนจะนึกถึงต้นไม้รูปร่างแปลกตามีหนามแหลมเป็นเอกลักษณ์ ที่มักจะเติบโตในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง ทะเลทราย แต่ด้วยวิกฤตจากสภาวะโลกร้อน ทำให้ รัฐวาเลส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ส่วนมากจะปกคลุมไปด้วยหิมะจนชินตา กลับถูกแทนที่ด้วยกระบองเพชร ที่กำลังกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วคุกคามพื้นคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ เจ้าหน้าที่ทางการรัฐวาเลส์กล่าวว่า รัฐวาเลส์…