News & Update

ส่งเสริมปลูกข้าวควบคู่ขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มรายได้ สุพรรณบุรีโมเดลนำร่อง

การทำเกษตรกรรมปลูกข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงได้มีการทำนารักษ์โลกเป็นการปลูกข้าวแบบใหม่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังมีการสนับสนุนให้ทำควบคู่ไปกับการขายคาร์บอนเครดิต เป็นการเพิ่มรายได้อีกทาง ซึ่งเริ่มแล้วที่สุพรรณบุรีเป็นโมเดลนำร่อง

กรมการข้าว ได้ส่งเสริมเกษตรกรทำความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งนอกจากจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทาง โดยได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร อีกทั้งยังมีการแสดงข้อมูลต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือน

ส่งเสริมปลูกข้าวควบคู่ขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มรายได้ สุพรรณบุรีโมเดลนำร่อง

สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่อง คาร์บอนเครดิต

ทางกรมการข้าวได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรและชาวนาเกี่ยวกับ คาร์บอนเครดิต ว่ามีประโยชน์ทั้งการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และที่สำคัญช่วยสร้างรายได้อีกทางให้กับชาวนา โดยได้มีโมเดลนำร่องแล้วที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการทำคาร์บอนเครดิตให้ชาวนาในพื้นที่แล้ว ซึ่งทางสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือเป็นอำเภอนำร่องที่จะส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงข้อดีและประโยชน์ที่ชาวนาจะได้รับจากการสร้างคาร์บอนเครดิต นอกจากนี้ยังมีการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งมาถ่ายทอดให้กับชาวนาด้วย 

ส่งเสริมปลูกข้าวควบคู่ขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มรายได้ สุพรรณบุรีโมเดลนำร่อง

สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อการปลูกข้าวรักษ์โลก

นอกจากจะเผยเพร่ให้ความรู้แล้วยังได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะเข้ามาใช้ในการปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser Land Levelling) ที่จะช่วยให้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการทำนาแบบเปียกสลับแห้งนั้น จะช่วยลดก๊าซมีเทนในดินช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 

ภายหลังการเก็บเกี่ยวกรมการข้าวยังตั้งเป้าในการรณรงค์ให้ชาวนาลดการเผาตอซังข้าว ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นอีกหนทางหนึ่งในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสร้างคาร์บอนเครดิตให้ชาวนานำไปสร้างรายได้เสริม

กรมการข้าวยังวางแผนในขั้นต่อไปด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชั่น (Appliccation) เพื่อบันทึกข้อมูลการทำนารักษ์โลก ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกร ให้สอดรับกับการส่งเสริมให้ชาวนาหันมาสนใจในการขายคาร์บอนเครดิต รวมทั้งเตรียมจัดฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องคาร์บอนเครดิตให้กับศูนย์ข้าวชุมชนและชาวนาอาสาในเขตจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา

สำหรับเกษตรกรที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมถึงการขายคาร์บอนเครดิตได้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวและศูนย์วิจัยข้าวทั่วประเทศ, สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ หรือเว็บไซต์ของ กรมการข้าว

Source : Spring News

เนื้อหาน่าสนใจ :  นักวิชาการหวั่นภูมิอากาศป่วน ทุบเศรษฐกิจไทยวูบ 6.3 หมื่นล้าน

ฮือฮา พบแหล่งแร่ ‘แรร์เอิร์ธ’ ใหญ่สุดในยุโรปที่สวีเดน

แหล่งแร่แรร์เอิร์ธขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกพบในภาคเหนือของประเทศสวีเดน คาดจะช่วยให้ชาติยุโรปลดการพึ่งพาจีนในการนำเข้าแร่ธาตุเหล่านี้ได้ในอนาคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ม.ค. 2565 แยน มอสตรอม ซีอีโอของ…

ปตท. สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์เป็นต้นแบบ Smart City

ปตท. สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ต้นแบบ ด้านพลังงานสะอาด และเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมพลังงาน อาทิ การผลิตไฟฟ้า…

ชุดทดสอบความปลอดภัยของผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” ใช้ง่ายเหมือนตรวจ ATK

รู้ไหมว่าในพืชผักผลไม้มักมีสารเคมีตกค้าง หนึ่งในสารเคมีที่พบบ่อยคือ พาราควอต (Paraquat) ซึ่งเป็นสารที่เกษตรกรนิยมใช้เนื่องจากราคาถูกได้ผลดี หากสารตัวนี้ไปตกค้างในอาหารที่เรากินอาจทำให้เกิดอันตราย จึงมีการคิดค้นชุดทดสอบพาราควอต ขึ้นซึ่งการใช้งานคล้ายกับ ATK องค์การอนามัยโลก…

Leave a Reply