News & Update

ปตท.ลุย CCU จ่อทุ่ม 3 พันล้าน ผลิตเมทานอลจาก CO2 โรงแยกก๊าซฯ

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2583 (ค.ศ.2040) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ภายใต้วิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต”

การจะไปสู่เป้าหมายตามที่กล่าวได้ แนวทางหนึ่งจะเป็นเรื่องของการนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์หรือ การใช้เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นำมาใช้ประโยชน์ (Carbon Capture and Utilization : CCU)

นายบูรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ ปตท.ร่วมกับธิสเซ่นครุปป์ อูเด้ห์ (Thyssenkrupp Uhde ) ของเยอรมนี อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบความเป็นไปได้ ในการรวบรวมนำคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากกระบวนการแยกก๊าซฯของโรงแยกก๊าซธรรมชาติทั้ง 6 หน่วย ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง มีความสามารถแยกก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวมประมาณ 2,870 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของ ปตท.นำมาผลิตเป็นเมทานอล

เบื้องต้นคาดว่ามีขนาดกำลังผลิตราว 100,000 ตันต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตได้ถึง 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งโรงงานแห่งนี้คาดว่าจะตั้งอยู่หนองแฟบ ใกล้กับคลังก๊าซแอลเอ็นจีของปตท.เงินลงทุนราว 3,200 ล้านบาท

ปตท.ลุย CCU จ่อทุ่ม 3 พันล้าน ผลิตเมทานอลจาก CO2 โรงแยกก๊าซฯ

ปัจจุบันไทยยังไม่มีโรงงานผลิตเมทานอล แต่มีความต้องการใช้เมทานอลเฉลี่ยปีละ 700,000 ตัน โดยการนำเข้าจากตะวันออกกลาง ซึ่งเมทานอลเป็นสารละลายสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเคมี การก่อสร้างและอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก ผสมในนํ้ามันเชื้อเพลิง แอลพีจี รวมทั้งการนำมาใช้ผสมในนํ้ามันอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF)

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีความเป็นไปได้เชิงเทคโนโลยี แต่ในด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ยังต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเมทานอล จากคาร์บอนไดออกไซด์พบว่าสูงกว่าเมทานอลจากก๊าซธรรมชาติ โดยมีผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ต่ำกว่า 10% ขณะที่การตัดสินใจลงทุนโครงการของ ปตท.จะต้องมี IRR เฉลี่ย 14-15% ทำให้ธิสเซ่นครุปป์ อูเด้ห์ ต้องหาแนวทางออกแบบในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้โครงการนี้มี IRR ที่สูงขึ้น

รวมทั้งต้องนำโครงการมาเปรียบเทียบต้นทุนการนำคาร์บอนฯไปใช้ประโยชน์ต่อ กับการนำไปกักเก็บในหลุมปิโตรเลียม (CCS) และการเสียภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ว่าแบบไหนมีความเหมาะสม คุ้มค่ากว่ากัน คาดว่าผลการศึกษาจะได้ข้อสรุปในปีนี้

บูรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)
บูรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)

“หากภาครัฐมีการเก็บภาษีคาร์บอนในอนาคต รวมถึงการไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนสูง ย่อมทำให้โครงการนี้มีความน่าสนใจลงทุนมากยิ่งขึ้น จนสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้”

ทั้งนี้ จากการเยี่ยมชมศูนย์วิจัย Carbon2Chem บริษัท ธิสเซ่นครุปป์ อูเด้ห์ เมืองดุยส์เบิร์ก ประเทศเยอรมนี ได้พัฒนาต้นแบบการผลิตกรีนเมทานอลขนาด 75 ลิตรต่อวัน โดยนำคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตเหล็ก ผ่านการสังเคราะห์มาใช้ร่วมกับกรีนไฮโดรเจนที่ผ่านมาการแยกนํ้าด้วยเครื่องอิเล็กโตรไลเซอร์ ขนาด 2 เมกะวัตต์จากไฟฟ้าพลังงานลม มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเมทานอล โดยนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการขนส่งทางเรือ และกำลังจะพัฒนานำไปใช้ผสมเป็นนํ้ามันอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF)

หากการดำเนินงานในโครงกานนี้สามารถเกิดขึ้นได้ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 ของปตท.ได้ และยังเพิ่มโอกาสการเติบโตในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับบริษัท ธิสเซ่นครุปป์ (Thyssenkrupp ) เป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่ให้บริการด้านการวางแผน การก่อสร้าง และการให้บริการวิศวกรรมแก่โรงงานเคมีและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมากว่า 200 ปี มีพนักงานกว่า 100,000 คน มีบริษัทลูกตั้งอยู่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในดัชนี MDAX ในปี 2566 มียอดขายรวม 37,500 ล้านยูโร

ดำเนิน 5 ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย ด้านเทคโนโลยียานยนต์ (Auto motive Technology), ด้านการบริการด้านวัสดุ (Materials Services), ด้านเทคโนโลยีลดคาร์บอน (Decarbon Technologies), ด้านระบบยุทธนาวี (Marine Systems) และด้านเหล็กยุโรป (Steel Europ) เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญด้าน R&D มีศูนย์วิจัยกว่า 75 แห่งทั่วโลกโดยได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์สภาพอากาศ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน (Green Transformation) ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า

บริษัท ธิสเซ่นครุปป์ ตั้งเป้าหมายจากการใช้เทคโนโลยีในการนำคาร์บอนออกไซด์จากโรงถลุงเหล็กมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนีย เมทานอล จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 30% ภายในปี 2573 เป็นการสนับสนุนให้เยอรมนีบรรลุป้าหมาย Net Zero 4kp.oxu 2593 ได้

Source : ฐานเศรษฐกิจ

เนื้อหาน่าสนใจ :  "sacit"ชวนเช็คอินอยุทธยา ดันsoft power ดึงนักท่องเที่ยว ซื้อหัตถกรรมไทย

อียิปต์อาจเป็นเมืองแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จเมืองคาร์บอนเป็นศูนย์

การแข่งขันด้านความเขียวหรือการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเข้มข้นมาก ๆ หลาย ๆ ประเทศเริ่มวางแผนออกนโยบายเพื่อสร้างเมืองของตนเองให้มีความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน และที่สำคัญที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบคือโลกของเรากำลังเผชิญกับปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารในอนาคต ด้วยปัจจัยข้างต้น การระบาดของโรคร้ายและสงคราม

จีนตั้งเป้าผลิตพลังงานไฟฟ้า 1 ใน 3 จากแหล่งพลังงานสะอาดภายในปี 2025

คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ตั้งเป้าผลิตพลังงานไฟฟ้า 1 ใน 3 หรือประมาณ 33% จากพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตในประเทศจากแหล่งพลังงานสะอาดภายในปี 2025 จากปริมาณการผลิตเดิมในปี 2021 ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด 28.8% เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้ารูปแบบอื่น เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน

ญี่ปุ่นปิ๊งไอเดียไฟฟ้าจากหิมะ พลังงานสะอาดสุดเซฟในเหมืองหนาว

ระหว่างธันวาคมนี้ไปจนถึงมีนาคมปีหน้า จะได้มีการทดสอบ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากหิมะ ในเมืองอาโอโมริ ทางภาคเหนือของญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเมืองซึ่งทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่าทั้งประหยัดและเหมาะสมกับเมืองอย่างมาก แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นโดยอาจารย์ภาควิชาด้านไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยโตเกียว ร่วมกับบริษัท Start-up ด้าน…

Leave a Reply