News & Update

Proton จับมือ Geely ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ในประเทศไทย อนาคตไทย EV Hub ของอาเซียน

Proton ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติมาเลเซีย และ Geely ค่ายรถจีน กำลังพิจารณาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน ได้เปิดเผยระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์

Proton หนึ่งในค่ายรถยนต์สัญชาติมาเลเซีย กำลังพิจารณาในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV ในประเทศไทย ซึ่งเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า แบรนด์ Proton มีที่มาที่ไปอย่างไร และน่าสนใจแค่ไหนถ้าหากจะเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยจริง

Proton เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1983 ถือเป็นแรงขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังหันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยภายใต้การเป็นเจ้าของบางส่วนของ Zhejiang Geely Holding Group ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนรายใหญ่ หรือเรียกสั้นๆว่า Geely นั่นเอง 

Proton จับมือ Geely ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ในประเทศไทย อนาคตไทย EV Hub ของอาเซียน

ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ Geely Holding Group ยังเป็นเจ้าของ Volvo และ Lotus และมีหุ้นใน Mercedes Benz ด้วย ทำให้การตั้งโรงงานในครั้งนี้เราอาจได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่คนเฝ้ารอคอยอย่าง Smart#1 ในประเทศไทยด้วย

Proton จับมือ Geely ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ในประเทศไทย อนาคตไทย EV Hub ของอาเซียน

อย่างไรก็ตาม เพื่อดึงดูดผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทย รัฐบาลไทยยังได้เสนอเงินอุดหนุนให้สูงถึง 150,000 บาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลที่มีราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยภายใต้โปรแกรมนี้ ผู้ผลิตรถยนต์จะต้องเริ่มผลิตรถ EV ในประเทศตั้งแต่ปี 2024 เชื่อว่าข้อเสนอนี้จะทำให้หลากหลายค่ายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกอาจทยอยเข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย

ค่ายรถยนต์จีนอย่าง BYD ในปัจจุบันมีสัดส่วน 30% ของยอดขายรถ EV ในประเทศไทย และก็มีแผนที่จะสร้างโรงงานรถ EV ในจังหวัดระยองด้วย ส่วน GWM และ SAIC Motor Group อีกสองบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนรายใหญ่ต่างก็ต้องการจะผลิตรถ EV ในประเทศไทยเช่นกัน 

อนาคตประเทศไทยอาจกำลังกลายเป็น Regional EV hub หรือศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคแถบอาเซียน เนื่องจากมีอัตราการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้น และนโยบายส่วนลดจากรัฐบาลที่จะช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและลูกค้าที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสามารถซื้อและจำหน่ายได้ง่ายขึ้น ซึ่งในอนาคตแน่นอนว่าจะมีค่ายรถยนต์ต่างๆเข้ามาพิจารณาในการตั้งโรงงานผลิต EV เพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน 

ที่มา : nikkei-asia

Source : Spring News

เนื้อหาน่าสนใจ :  การเสวนา “ขนส่งไทยฝ่าวิกฤตน้ำมันแพง รถไฟฟ้าคือทางรอดหรือทางร่วง”
Tags:

คาร์บอนเครดิต (เบื้องต้น) | วิฑูรย์ สิมะโชคดี

แนวความคิดเรื่อง ESG ในวันนี้ มีความสำคัญต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างยิ่ง (โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ) เพราะเป็นหลักประกันของการประกอบกิจการที่มีความยั่งยืน อันเนื่องมาจากการประกอบกิจการที่คำนึงถึงการเติบโตของผลกำไร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล  ตัวอย่างของวิธีดำเนินการ ESG…

ครม.พับแผนประชาชนติด “โซลาร์รูฟ” ยังหักลบค่าไฟไม่ได้

ครม. พับแผนโครงการโซลาร์รูฟภาคประชาชน กรณี Net Metering ที่ให้ประชาชนส่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าระบบเพื่อหักลบค่าไฟในเดือนถัดไป หลังผลศึกษาพบปัญหาหลายเรื่อง น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี…

Leave a Reply