News & Update

“นำเข้าเศษพลาสติก” ต้องเข้าใจ ก่อนห้ามเด็ดขาดปี 68

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ เปิดรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) กฎหมายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกเพื่อดำเนินการตามนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2566 เห็นชอบนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ 

(1) ในช่วงระยะเวลา2ปี (2566 – 2567) อนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่ทั่วไป เฉพาะกรณีที่ไม่มีเศษพลาสติกในประเทศหรือมีในปริมาณไม่เพียงพอ ในปริมาณที่สอดคล้องกับกำลังการผลิตจริง โดยให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้พิจารณาอนุญาตนำเข้า และ (2) ปี 2568 กำหนดห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 

ในการนี้ กรมการค้าต่างประเทศจึงได้ยก (ร่าง) กฎหมายเพื่อดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เศษพลาสติกเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. และ(ร่าง) ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการอนุญาตให้นำเศษพลาสติกเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. เพื่อกำกับดูแลการนำเข้าเศษพลาสติกในปี 2566 – 2567

พร้อมกันนี้ได้ยก (ร่าง) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้เศษพลาสติกเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. …. เพื่อใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

 “เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมแสดงความเห็นต่อ (ร่าง) กฎหมายทั้ง3ฉบับดังกล่าว จึงขอเชิญหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้สนใจร่วมแสดงความเห็น ผ่านเว็บไซต์ www.dft.go.th ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 25 เม.ย. 2566”

ทั้งนี้ ที่ประชุมครม.มีมติเห็นชอบนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและราคาเศษพลาสติกในประเทศ และเพื่อมิให้ประเทศไทยเป็นที่รองรับเศษขยะจากประเทศอื่น โดยให้กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว

นโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

1. เมื่อสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกำหนดให้เศษพลาสติกเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร

2. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่เขตปลอดอากร (ในช่วงปี 2566-2567) โดยจะอนุญาตเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม 14 แห่งที่กำหนด ได้แก่ โรงงานทั้งหมดที่ใช้เศษพลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร นำเข้าไม่เกินความสามารถในการผลิตจริง รวม 372,994 ตันต่อปี สำหรับปีที่ 1 (2566) ให้นำเข้าปริมาณ 100% ของความสามารถในการผลิตจริง

ปีที่ 2 (2567) ให้นำเข้าปริมาณไม่เกิน 50% ของความสามารถในการผลิตจริงโดยการนำเข้าจะต้องมีมาตรการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อมิให้เกิดมลพิษในประเทศ เช่น เศษพลาสติกที่นำเข้าต้องแยกชนิดและไม่ปะปนกัน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องทำความสะอาด ต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น เป็นต้น

3. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่ทั่วไป (ในช่วงปี 2566-2567) ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่ไม่มีเศษพลาสติกในประเทศหรือมีปริมาณไม่เพียงพอ โดยมีหลักเกณฑ์ เช่น ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแสดงหลักฐานว่ามีความจำเป็นในการนำเข้าและไม่สามารถหาได้ในประเทศ, นำเข้าได้ในปริมาณที่สอดคล้องกับกำลังการผลิต, นำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบเท่านั้น (ไม่รวมถึงการคัดแยกหรือย่อยพลาสติก), สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องทำความสะอาด

หลังกฎหมายสมบูรณ์และมีผลบังคับใช้ตามไทม์ไลน์ที่กำหนดเพื่อให้เอกชนมีเวลาปรับตัวก็เชื่อว่าจะทำให้ปัญหาขยะจากพลาสติกลดลงถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมโดยองค์รวมทุกภาคส่วน 

Source : กรุงเทพธุรกิจ

เปิดแผนซื้อไฟฟ้า ‘พลังงานหมุนเวียน’ หนุนดึง ‘บิ๊กคอร์ป’ ระดับโลกลงทุนไทย

“บีโอไอ” ชี้บิ๊กเทคต่างชาติร้องหาไฟสะอาด 100% “รัฐบาล” เร่งเคาะราคา เดินหน้าโครงการ UGT1-2 ด้าน “กฟผ.” เร่งร่างสัญญาซื้อขายไฟสะอาดให้ "อัยการสูงสุด" ตรวจ…

สำนักงาน กกพ. ยกเลิก ERC Sandbox ระยะที่ 2 พร้อมเปิดรับโครงการใหม่ ERC Sandbox (เพิ่มเติม) แทน ระหว่าง 2-31 ต.ค.2566

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ประกาศยกเลิกรายชื่อผู้ร่วมโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 2 จาก 31 โครงการ  24 หน่วยงาน…

อัพเกรด ‘E-Bus’ เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสาธารณะ

จากการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายให้กับสังคมและผู้บริโภคที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจากช่องทางไหน ซึ่งแนวโน้นความต้องการในปัจจุบันเริ่มมีทิศทางชัดเจนมากขึ้นว่าต้องการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมแต่ยังได้รับความสะดวกสบายอยู่ หลายสินค้าจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบโจทย์ด้านนี้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการคมนาคมที่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นจากเมื่อปีก่อนๆ ปี 2565 นี้ประเทศไทยเองก็มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นจากมาตรการการส่งเสริมของรัฐ