Highlight & Knowledge

ขายไฟให้กับ “การไฟฟ้า” ทำยังไง ขายได้กี่บาท?

ช่วงนี้ใครเจอค่าไฟเข้าไป คงตกใจกันมากมาย เพราะแทบทุกบ้านจ่ายค่าไฟเพิ่มกันทั้งนั้น หลายคนอาจจะหันมาหาวิธีประหยัดไฟด้วยการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์กัน แต่ก็ตกใจกับราคาค่าติดตั้งอีกเช่นกัน ซึ่งถ้าเราคำนวณกันดีดีแล้ว หากเรามีปริมาณการใช้ไฟที่ค่อนข้างมาก และมีงบประมาณพอสมควร ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว หากใช้ไฟมากก็อาจจะคืนทุนได้ภายใน 3 – 5 ปี แต่ถ้าใช้ไฟน้อยอาจจะขยับไปที่ 7 – 9 ปี ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่การตัดสินใจของแต่ละท่านว่าจะติดตั้งหรือไม่ และหลายคนยังไม่ทราบว่า หากเราติดตั้งโซล่าร์เซลล์แล้ว สามารถผลิตไฟได้มากกว่าที่ต้องใช้แล้ว เราสามารถขายไฟฟ้า คืนให้กับ การไฟฟ้าได้อีกด้วย ก็จะช่วยลดต้นทุนการติดตั้งไปได้พอสมควรครับ

วันนี้ทางผู้เขียนได้รวมข้อมูลในเรื่องของขั้นตอนต่างๆ ในการยื่นขอขายไฟให้กับการไฟฟ้ามาฝากกัน ขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย และมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 2,000 บาทเท่านั้นเอง สามารถทำเองได้เลย หรือหากผู้ที่มาติดตั้งโซล่าร์เซลล์เขามีบริการยื่นขอขายไฟให้ด้วย ก็แจ้งกับผู้ติดตั้งให้ดำเนินการแทนได้เลยครับ

ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ติดตั้งโซล่าร์เซลล์เท่านั้นที่สามารถยื่นขอขายไฟได้ แต่การไฟฟ้ายังเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ผลิตไฟฟ้าในรูปแบบอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น ชีวมวล , ก๊าซชีวภาพ , ขยะ , พลังงานลม , แสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) , แสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนดิน (Solar Farm) และ แสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating)

คุณสมบัติของผู้ยื่นขายไฟ

ผู้ที่ต้องการจะยื่นขายไฟให้กับการไฟฟ้าจะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 เฉพาะบ้านอยู่อาศัย และต้องเป็นผู้ครอบครองเครื่องจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า และมีชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้า เอาง่ายๆ ก็คือ เป็นเจ้าของบ้าน และเจ้าของมิเตอร์ที่เราไปยื่นขอไฟฟ้าตอนสร้างบ้านนั่นแหละครับ ซึ่งเราสามารถดำเนินเรื่องเอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนก็ได้ โดยเมื่อทางการไฟฟ้าพิจารณาอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ถ้าผู้ยื่นขอขายไฟต้องมาติดต่อเพื่อขอเปลี่ยนเครื่องวัดหน่อยไฟฟ้าเป็นระบบดิจิตอล ชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเชื่อมต่อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าตรวจสอบระบบ ทั้งหมด

ขั้นตอนการยื่นขายไฟให้กับการไฟฟ้า

  1. ผู้ที่ต้องการขายไฟให้ดำเนินการสมัครบัญชีผู้ใช้งานในระบบ PPIM แล้วก็ลงทะเบียนเพื่อเข้าระบบให้เรียบร้อย
  2. เลือกหมายเลข CA พร้อมกรอกรายละเอียดต่างๆ ตามคำขอ และโอพโหลดเอกสารรายละเอียดต่างๆ ตามที่การไฟฟ้ากำหนดเข้าสู่ระบบให้เรียบร้อย
  3. การไฟฟ้าจะพิจารณาเอกสารต่างๆ แล้วแจ้งผลการพิจารณาให้กับผู้ยื่นขอขายไฟผ่านทางอีเมล์
  4. การไฟฟ้าจะประกาศผลการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน โดยจะประกาศในวันจันทร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน
  5. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องชำระค่าเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า และจัดส่งต้นฉบับแบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบตามที่การไฟฟ้ากำหนด ที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดคำขอจะถูกยกเลิก
  6. ผู้ผ่านการคัดเลือกลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 270 วัน
  7. ผู้ยืนขอทำการตรวจสอบระบบ และติดตั้งระบบต่างๆ ให้ตรงกับรายละเอียดที่ยื่นไว้กับการไฟฟ้า และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ให้เรียบร้อย
  8. ทางการไฟฟ้าจะเข้าทำการตรวจสอบระบผลิตไฟฟ้า และเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ พร้อมกับทดสอบการเชื่อมต่อเข้าระบบโครงค่ายไฟฟ้า

ขั้นตอนโดยสรุปก็จะมีประมาณนี้ หากจะสรุปให้ง่ายขึ้นก็คือ ลงทะเบียนระบบระบบ PPIM จากนั้นกรอกรายละเอียดและอัพโหลดเอกสารเข้าระบบ รอการพิจารณา เมื่อผ่านแล้วก็ชำระเงิน ตรวจสอบระบบการผลิตไฟฟ้าของเราให้เรียบร้อย รอการไฟฟ้ามาตรวจสอบอุปกรณ์​ เปลี่ยนมิเตอร์ และเชื่อมต่อระบบเข้ากับของการไฟฟ้า

สำหรับค่าใช้จ่ายในการยื่นขอจะอยู่ที่ 2,000 บาทเท่านั้น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และเราสามารถขายไฟให้กับการไฟฟ้าได้หน่วยละ 2.20 บาท

ข้อมูลจากการไฟฟ้าที่ได้ประกาศเอาไว้

ตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) รับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาประเภทบ้านอยู่อาศัย ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป โดยมีเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้า 5 MWp ต่อปี  ดังน้ัน PEA จึงขอเปิดรับคำขอขายไฟฟ้าโครงการฯ ผ่านระบบ PPIM ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป 

ข้อควรทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ (สำคัญโปรดอ่านทำความเข้าใจ !!!)

  • ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป้น ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านอยู่อาศัยกับ PEA เท่านั้น
  • เน้นให้ติดตั้ง Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Self Consumption) และไฟฟ้าที่เหลือสามารถขายไฟฟ้าได้
  • กำลังผลิตติดตั้งแผงโซลาร์ (PV) ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อรายสำหรับ เชื่อมต่อแบบ 3 เฟส (220/380 V) และ ไม่เกิน 5 kWp ต่อราย สำหรับเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส (220 V)
  • ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด
  • PEA จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • ราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน 2.2 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลา 10 ปี
  • ปริมาณรับซื้อรวมในพื้นที่ PEA ปริมาณ 5 เมกะวัตต์ (MW) ต่อปี
  • รับข้อเสนอแบบ First come First served ผ่านเว็บไซด์นี้ https://ppim.pea.co.th
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา และประกาศผล ภายใน 45 วันนับจากวันที่ยื่นคำขอฯ ได้ที่ https://ppim.pea.co.th/project/solar/list 
  • โปรดแนบบิลค่าไฟฟ้าหรือหลักฐานการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (บิลค่าไฟฟ้าไม่ควรเกิน 3 เดือน) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการและผู้ใช้ไฟฟ้า ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล , เลขที่บ้านที่ติดตั้ง, ประเภทใช้ไฟฟ้าโดยหากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ให้ติดต่อ สำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ใช้ไฟฟ้า (ตามบิลค่าไฟฟ้า) เพื่อขอแก้ไขข้อมูลให้แล้วเสร็จ ก่อนยื่นเข้าร่วมโครงการ

คู่มือการดำเนินการโครงการ สามารถศึกษา ดูรายละเอียดได้ตาม Link ด้านล่าง

https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1HuTylJ2BUFsBOk8CoAgua8_-4igOXkpA

เนื้อหาน่าสนใจ :  กฟผ. เชื่อมระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ลงสู่ภาคใต้ เพิ่มศักยภาพการส่งจ่ายไฟฟ้ากว่าสองเท่า

อุณหภูมิผกผัน (Temperature Inversion) สาเหตุหมอกควัน และมลพิษทางอากาศ

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า หนึ่งในสาเหตุของปัญหาหมอกควัน และมลพิเษทางอากาศ เป็นเพราะ อุณหภูมิผกผัน (Temperature Inversion) ซึ่งมักจะเกิดในช่วงหน้าหนาว ทำให้ในช่วงนั้นเราจะพบกับสภาพอากาศมีแต่ฝุ่นควัน และมลพิษต่างๆ…

ใช้แอร์แบบไหน ประหยัดไฟได้จริง

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟค่อนข้างมาก ก็คงจะหนีไม่พ้นเครื่องปรับอากาศ หรือเราเรียกกันสั้นๆ ว่า แอร์ นั่นเอง ยิ่งในช่วงหน้าร้อนนี้ หลายคนต้องจ่ายค่าไฟมากเป็นพิเศษ เพราะเปิดแอร์กันฉ่ำๆ ตลอดวัน…

4 ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการติดโซลาร์เซลล์

หลังจากที่ค่าไฟแพง กระแสของการติดโซลาร์เซลล์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะหลายคนมุ่งหวังที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าลงในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์เกิดขึ้นมากมาย และที่สำคัญที่สุด ราคาค่าอุปกรณ์และค่าติดตั้งถูกลงกว่าเดิมมาก และอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีความทันสมัยมากขึ้น สามารถดูสถานะต่างๆ ของระบบได้ผ่านมือถือกันเลยทีเดียว…

Leave a Reply