News & Update

แนะเร่งสำรวจแหล่งพลังงานในประเทศเพิ่ม แก้ปัญหาค่าไฟแพงในระยะยาว

โครงสร้างการผลิตไฟฟ้าของประเทศ​ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของประเทศ​หรือแผน PDP2018 (Rev1)​ ฉบับล่าสุด หรือที่กำลังจะจัดทำใหม่เป็น PDP2022 นั้น ยังคงพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่สูง

ในอดีตที่ผ่านมา เราพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ผลิตไฟฟ้าถึง 70 % แต่เมื่อดูแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ หรือ Gas Plan 2018 ในช่วงปลายแผนปี 2580 นั้นสัดส่วนของก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย จะลดเหลือเพียง 28% และสัดส่วนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG มาทดแทนนั้นจะสูงถึง 68% นั่นหมายความว่า หากราคา LNG ขยับขึ้นสูงเกิน 50 เหรียญ​สหรัฐ​ต่อล้านบีทียู ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องเจอกับปัญหาต้นทุนค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ยังไม่นับรวมต้นทุนผลิตไฟฟ้าที่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ( Energy Storage​ System​ )​ รวมทั้งจากพลังงานลม ชีวมวล และ ขยะ ที่มีการอุดหนุนค่าไฟฟ้าในรูป Feed in Tariff หรือ FiT อีกด้วย

เรือขนส่ง LNG – ขอบคุณภาพจาก ปตท.

ทางออกในการแก้ปัญหาเชื้อเพลิงราคาแพงในระยะยาว ก็คือการหาแหล่งพลังงานในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าพลังงานให้ได้มากที่สุด

แล้วประเทศไทย​ยังเหลือแหล่งพลังงานในประเทศอะไรอีกบ้างที่พอมีศักยภาพ? คำตอบของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ คือ พื้นที่ซึ่งกำลังเปิดให้ยื่นสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย รอบที่ 24 จำนวน 3 แปลง ซึ่งกรมเชื่อว่ายังมีโอกาสที่จะพบปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นอีก

ด้านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง​ประเทศ​ไทย (กฟผ.)​ ให้ข้อมูลว่า ยังมีแหล่งถ่านหินลิกไนต์ที่แม่เมาะ ที่ยังไม่ได้เปิดเหมืองขุดถ่านขึ้นมาใช้อยู่อีกส่วนหนึ่งที่มีปริมาณสำรอง​มากพอสมควร แต่ต้องขึ้นกับนโยบายรัฐว่าจะให้ขุดขึ้นมาใช้หรือไม่

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ – ขอบคุณภาพจาก กฟผ.

ในขณะที่ คมกฤช ตันตระ​วาณิชย์​ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการกำกับดูแลค่าไฟฟ้า มองไปที่พื้นที่อ่าวไทยในส่วนที่ทับซ้อนกับกัมพูชา ว่าควรจะเร่งให้เกิดความชัดเจน ในการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจ​เฉพาะเพื่อให้เกิดการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ เช่นเดียวกับพื้นที่เจดีเอไทย-มาเลเซีย ซึ่งเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จ โดยจะเป็นทางออกที่สำคัญในระยะยาวของประเทศ​ในการแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพง

ที่ผ่านมากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเคยมีการประเมินศักยภาพตามโครงสร้างทางธรณีวิทยาของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ที่เรียกชื่อกันใหม่ว่า เป็นเขตเศรษฐกิจ​พิเศษ​เฉพาะทางทะเล นั้น มีศักยภาพสูงเหมือนเช่นที่เราเคยสำรวจพบแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกช ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นไทยจะมีแหล่งก๊าซป้อนโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศ​ได้อีกหลายสิบปี

อย่างไรก็ตาม การที่จะได้ใช้ประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจ​เฉพาะทางทะเลไทย กัมพูชา นั้น หากเจรจาตกลงกันได้ในพิธีการและกระบวนการจัดทำข้อตกลงและกฏหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งการเริ่มต้นเข้าไปสำรวจและผลิตนั้น น่าจะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี แต่ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีที่นายกรัฐมนตรี​ของไทย พลเอกประยุทธ์​ จันทร์​โอชา​ มองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้แล้ว โดยมีการให้สัมภาษ​ณ์บอกสื่อมวลชนและอภิปรายชี้แจงในสภาผู้แทนราษฎร​ถึงความพยายาม​ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องนี้ เพียงแต่ไม่ได้ลง​รายละเอียด​และเปิดเผยให้สาธารณชนได้ทราบ

ค่าไฟฟ้าในบิลเดือน ก.ย.-ธ.ค.65 ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นนั้นกระทบภาระรายจ่ายของประชาชน และภาระที่ กฟผ. แบกรับไว้ก่อนแล้ว 8.7 หมื่นล้านบาทนั้นจะทำให้ค่าไฟฟ้าตลอดทั้งปี 2566 ยังอยู่ในระดับสูง สำหรับแผนระยะยาวที่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้า LNG ในสัดส่วนที่สูง ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าควรจะต้องช่วยผลักดันให้รัฐมีนโยบายที่ชัดเจนในการสำรวจหาแหล่งพลังงานในประเทศ​เพิ่มเติม เพื่อหวังที่จะมีเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้าทดแทนเชื้อเพลิง​นำเข้าราคาแพงได้ตามศักยภาพที่ประเทศไทยมีอยู่

Source : Energy News Center

รถม้า EV คันแรกของโลก! ออกให้บริการแล้ว ที่กรุง “บรัสเซลส์” ในเบลเยียม

หลังจากนี้ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จะไม่มีรถม้าที่ใช้ "ม้า" ในการลากเลื่อนอีกต่อไป แต่จะหันไปใช้พลังงานไฟฟ้าแทน ไม่ต้องใช้แรงงานม้า ตอบโจทย์ความยั่งยืน กรุงบรัสเซลส์ ในเบลเยียม…

“ล็อกซเล่ย์” จับมือAEL นำร่อง เปลี่ยนเศษอาหารเป็นพลังงาน

ฝ่ายธุรกิจสิ่งแวดล้อม ล็อกซเล่ย์จับปากกาเซ็นเอ็มโอยูกับ AEL เจ้าของเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการขยะชั้นนำจากฮ่องกง ตั้งเป้านำนวัตกรรมเปลี่ยนเศษอาหารเป็นก๊าซชีวภาพ เข้ามาติดตั้งในไทยอย่างแพร่หลาย หวังบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมระยะยาว นายพิเศษ ดิศวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่…

“โลกเดือด” เตรียมทางรอด “เอลนีโญ” กระทบไทย

“โลกเดือด” ได้เข้ามาเเทนที่ "โลกร้อน" ขณะที่ประเทศไทย เร่งรับมือ เตรียมทางรอดสำหรับ "ปรากฎการณ์เอลนีโญ" ที่กระทบไทย ยุค “โลกเดือด” หรือ Global Boiling กำลังเข้ามาแทนที่…

Leave a Reply