News & Update

ชุดทดสอบความปลอดภัยของผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” ใช้ง่ายเหมือนตรวจ ATK

รู้ไหมว่าในพืชผักผลไม้มักมีสารเคมีตกค้าง หนึ่งในสารเคมีที่พบบ่อยคือ พาราควอต (Paraquat) ซึ่งเป็นสารที่เกษตรกรนิยมใช้เนื่องจากราคาถูกได้ผลดี หากสารตัวนี้ไปตกค้างในอาหารที่เรากินอาจทำให้เกิดอันตราย จึงมีการคิดค้นชุดทดสอบพาราควอต ขึ้นซึ่งการใช้งานคล้ายกับ ATK

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า พาราควอต เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากได้รับโดยตรงจากการบริโภค จะทำให้เกิดอาการแสบร้อน เกิดแผลในหลอดลม และระบบทางเดินอาหาร สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัส สูดดมจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ทำให้เกิดพังผืดในปอด ปนเปื้อนในอาหาร และยังก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม และที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้สารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์การเกษตรอีกด้วย

ชุดทดสอบความปลอดภัยของผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” ใช้ง่ายเหมือนตรวจ ATK

ชุดทดสอบพาราควอตนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งชุดทดสอบ Paraquat มีคุณสมบัติเป็นการตรวจเบื้องต้นคล้ายชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit)

ชุดทดสอบความปลอดภัยของผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” ใช้ง่ายเหมือนตรวจ ATK

ส่วนการใช้งานของชุดตรวจสอบความปลอดภัยผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” วิธีการใช้เหมือนกับ Antigen Test Kit ที่ใช้ตรวจหาโควิด โดยใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟี (Immunochromatography) หรือ IC ซึ่งอาศัยหลักการจับกันระหว่างแอนติบอดี และแอนติเจนแบบแข่งขัน (Competitive immunoassay) เป็นวิธีที่สะดวก มีประสิทธิภาพ มีความไวในการตรวจสอบ ทราบผลใน 15-30 นาที ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษแต่อย่างใด เกณฑ์การวัดขั้นต่ำสุดที่ชุดทดสอบพาราควอตนี้สามารถตรวจพบได้ที่ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg/kg) ซึ่งตรงตามที่กฎหมายกำหนด

ที่สำคัญชุดทดสอบพาราควอต (Paraquat) ได้ผ่านการทดสอบในภาคสนาม และจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมเปิดให้ผู้สนใจทั้งภาครัฐภาคเอกชนมารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ เพื่อนำไปผลิตจำหน่ายให้กับประชาชน ตลอดจนหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เข้าถึงชุดทดสอบพาราควอตนี้ได้ง่ายขึ้น สำหรับนำไปใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยผักผลไม้เบื้องต้นได้

Source : Spring News

กยท.วางเป้า 20 ปี ดึงสวนยางร่วมสะสมคาร์บอนเครดิต 100% ล๊อตแรกเริ่มขายปี 2569

กยท. เร่งสร้างความเข้าใจ ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตในสวนยาง ยกระดับอาชีพสวนยางยั่งยืน ควบคู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คาดว่าจะสามารถประเมินคาร์บอนเครดิตครั้งแรกเพื่อเริ่มดำเนินการขายในปี 2569 ตั้งเป้าดึงสวนยาง 20 ล้านไร่ทั่วประเทศเข้าร่วม100…

AVATR 11 เปิดตัวในไทย ราคาเริ่มต้น 2.099 ล้านบาท สเปควิ่งไกลสุด 680 กม./ชาร์จ

AVATR 11 เปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการ ด้วยราคาเริ่มต้น 2.099 ล้านบาท ดีไซน์ล้ำสมัย เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CATL และระบบอัจฉริยะจาก…

‘ยุโรป’ อนุญาตติดตั้ง ‘โซลาร์เซลล์’ บนตึกเก่า เน้นดีไซน์สวยงาม เข้ากับของเดิม

ด้วยความต้องการพลังงานสีเขียวที่เพิ่มมากขึ้น อาคารประวัติศาสตร์หลายแห่งทั่วทั้งยุโรปจึงได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์โดยใช้เทคนิคที่สร้างสรรค์และสร้างสรรค์ หนึ่งในนั้นคือ “พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ” พิพิธภัณฑ์งานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศสเปน  พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ เพิ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 300…