News & Update

กลุ่ม ปตท. เปิดโรงงานผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอ (non-woven fabric) ของ “อินโนโพลีเมด”

กลุ่ม ปตท. เปิดโรงงานผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอ (non-woven fabric) ของ “อินโนโพลีเมด” ผลิตวัตถุดิบสำหรับวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ ลดพึ่งพาการนำเข้า ยกระดับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ – ดันไทยก้าวสู่ Medical Hub

(7 ตุลาคม 2565) – นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นายกฤษณ์ อิ่มแสง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ไออาร์พีซี) และ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (อินโนบิก) ร่วมในพิธีเปิดโรงงานผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอ (non-woven fabric) ได้แก่ ผ้าเมลต์โบลน (M) ผ้าสปันบอนด์ (S) และผ้าไม่ถักไม่ทอแบบหลายชั้น (SS, SMS, SMMS) ของ “บริษัท อินโนโพลีเมด จำกัด”(อินโนโพลีเมด) กำลังการผลิตประมาณ 5,600 ตันต่อปี ณ เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จ.ระยอง เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2565   

โดย อินโนโพลีเมด ใช้เม็ดพลาสติกพีพี (โพลิโพรพิลีน) ที่ปราศจากสารทาเลต (Phthalate) ซึ่งคิดค้นวิจัยพัฒนาและผลิตโดย ไออาร์พีซี ในการผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอ จึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ ผ้าเมลต์โบลน มีลักษณะเป็นเส้นใยขนาดเล็ก มีความละเอียดในระดับนาโนเมตรถึงไมโครเมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการกรองสูง ในขณะที่ผ้าสปันบอนด์ และผ้าไม่ถัก ไม่ทอแบบหลายชั้น มีความแข็งแรงสูง ป้องกันของเหลว และเชื้อโรค เหมาะสำหรับนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย ได้แก่ หน้ากากอนามัย ชุดกาวน์ ชุด PPE ผ้าอ้อมเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงแผ่นกรองต่างๆ เป็นต้น

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ได้ร่วมทุนก่อตั้ง  บริษัท อินโนโพลีเมด จำกัด  เพื่อดำเนินธุรกิจวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ของกลุ่ม ปตท. โดยโรงงานผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอนี้ เกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้ด้านธุรกิจปิโตรเคมี และชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) ในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการผลิตหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ชุด PPE และชุดกาวน์ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งหมดและเป็นการต่อยอดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์โดยคนไทย ลดการนำเข้า สร้างความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขและสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ New S-Curve ทางด้านการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ของไทย

Source : Energy News Center

Tags: ,

มองโอกาสตลาด ‘โซลาร์เซลล์ไทย’ ที่อาจมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้าน!

ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้ พลังงานสะอาด เช่นเดียวกันกับประเทศไทย ที่หลายคนเจอกับ ค่าไฟ แสนแพง ทำให้เริ่มตื่นตัวกับพลังงานจาก แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ หลายคนคงสงสัยแล้วตลาดโซลาร์เซลล์ของไทยนั้น ใหญ่ ขนาดไหน และมีโอกาสให้สอดแทรกอย่างไรได้บ้าง มองสถานการณ์พลังงานสะอาดโลก สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) มองว่า ปีนี้กำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคงทางพลังงาน…

พลังงาน แจง 15 ก.ย. 2566 หมดมาตรการภาษี 0 บาท สำหรับน้ำมันที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ยืนยันไม่กระทบค่าไฟฟ้าประชาชน

กระทรวงพลังงานยืนยัน มาตรการภาษี 0 บาท สำหรับ “ดีเซล B0 และน้ำมันเตาที่ใช้ผลิตไฟฟ้า” สิ้นสุด 15 ก.ย.…

‘BackEN EV’ กฟผ. ผู้ช่วยสำคัญ หนุนธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

กฟผ. เปิดบ้านให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการระบบบริหารจัดการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า "BackEN EV" ให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการสถานีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ตัวแปรสำคัญหนุนรายได้องค์กร สร้างความมั่นใจให้ผู้สนใจธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า กระแส รถยนต์ไฟฟ้า (EV)…

Leave a Reply