News & Update

อียิปต์อาจเป็นเมืองแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จเมืองคาร์บอนเป็นศูนย์

Nexgen เมืองใหม่กรุงไคโร กำลังดำเนินการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และพลังงาน เตรียมเผชิญกับวิกฤตขาดแคลนอาหารในอนาคต และตั้งเป้าเป็นเมืองแรกของโลกที่มีคาร์บอนเป็น 0

การแข่งขันด้านความเขียวหรือการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเข้มข้นมาก ๆ หลาย ๆ ประเทศเริ่มวางแผนออกนโยบายเพื่อสร้างเมืองของตนเองให้มีความยั่งยืนมากขึ้น เนื่องจากทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน และที่สำคัญที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบคือโลกของเรากำลังเผชิญกับปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารในอนาคต ด้วยปัจจัยข้างต้น การระบาดของโรคร้ายและสงคราม

อนาคตที่แท้จริงคือความยั่งยืน เมืองไหนประเทศใดสามารถทำให้เมืองของตนยั่งยืนและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เมืองนั้นถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว เช่นเดียวกับประเทศหนึ่งที่คิดไม่ถึงว่า ภายนอกแม้จะดูเหมือนเป็นผู้ประสบภัยในในการปรับตัวด้านสภาพอากาศมากที่สุด จะมีแนวคิดสีเขียวได้น่าสนใจและกำลังเริ่มลงมือทำตอนนี้แล้วด้วย นั่นคือประเทศ อียิปต์

ประเทศอียิปต์ ที่เป็นภาพจำของเราว่าเป็นเมืองทะเลทรายและความแห้งแล้ง มีเพียงโอเอซีสเท่านั้นที่สร้างความชุ่มชื่นให้เมือง

อียิปต์เป็นเมืองที่ติดภาพจำของผู้คนทั่วโลกว่า เป็นเมืองแห่งทะเลทรายและความแห้งแล้ง หาความเขียวในประเทศนี้ได้ยาก แต่ในความเป็นจริง อียิปต์ก็ยังมีด้านพื้นที่สีเขียวอยู่พอสมควร ดังนั้น หากอียิปต์จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายในอนาคต บวกกับการเผชิญหน้ากับวิกฤตต่างๆมากมายที่อาจเกิดขึ้นได้ พวกเขาจึงได้วางแผนสร้างเมืองยั่งยืน เพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว

เมือง Nexgen เป็นโมเดลแผนผังเมืองแบบใหม่ ที่จะตั้งอยู่ในเขตตะวันออกของกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ บนพื้นที่ 580 เฮกตาร์ มีพื้นที่ 9,000 ยูนิตสำหรับผู้อยู่อาศัย 35,000 คนในทุกระดับรายได้ ตัวโครงการจะสร้างงาน 10,000 ตำแหน่งที่เน้นไปในด้านของเทคโนโลยีอาหาร พลังงานสะอาด น้ำและของเสีย ซึ่งจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวให้กับเมืองได้

โมเดลเมือง Nexgen ในกรุงไคโร Cr. URB

โครงการ Nexgen นี้เป็นแผนแม่บทจากบริษัทที่ชื่อว่า URB ที่ออกแบบเมืองสำหรับอนาคตของอียิปต์ โดยตั้งเป้าว่าเมืองนี้จะกลายเป็นเมืองคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์แห่งแรกของโลกที่สามารถผลิตพลังงานและอาหารในปริมาณที่มากกว่านำไปบริโภค เมืองใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อผลิตอาหาร พลังงานและน้ำแก่ผู้อยู่อาศัยแบบครบวงจรโดยไม่พึ่งปัจจัยจากภายนอก และอาจจะกลายเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ความคาดหวังของโครงการ Nexgen ที่หวังจะเป็นหมุนหมายทางด้านการท่องเที่ยวนั้น ความหมายที่แท้จริงไม่ใช้เพื่อประโยชน์สำหรับการเที่ยวชมระบบเทคโนโลยีสีเขียวของเมืองเท่านั้น ภายในยังรวมไปถึงจะมีรีสอร์ทเชิงนิเวศ 5 ดาว สิ่งอำนวยความสะดวกแกลมปิ้ง ศูนย์นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ที่ดินและความหลากหลายทางชีวภาพ สถานพยาบาลต่างๆในเมืองนี้ก็ตั้งเป้าที่จะเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว ในด้านของการสร้างหมู่บ้านออทิสติก ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและคลินิกอื่นๆอีกมากมาย

ด้วย Facilities ที่หลากหลาย จะทำให้เมือง Nexgen นั้นครบวงจรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงให้กับผู้อยู่อาศัยได้ Cr.URB
ด้วย Facilities ที่หลากหลาย จะทำให้เมือง Nexgen นั้นครบวงจรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงให้กับผู้อยู่อาศัยได้ Cr.URB

Baharash Bagherian ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ URB ผู้สร้าง Nexgen ยังได้มีแผนการออกแบบเมืองอื่นๆที่ยั่งยืนเช่นกัน หลังเสร็จจากโครงการนี้ เขาตั้งเป้าหมายกับโครงการ Nexgen นี้ว่าจะสามารถแก้ปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย 1 ใน 4 ทั่วโลก ด้วยเหตุผลนี้ Nexgen จะรวบรวมระบบหลายระบบสำหรับการผลิตอาหารเพื่อคนในท้องถิ่นและสร้างความยั่งยืนสำหรับผู้อยู่อาศัยได้ เช่น เครื่องกำเนิดนำในบรรยากาศจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะผลิตน้ำสะอาดจากอากาศได้ และจะสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางน้ำในพื้นที่แห้งแล้งแห่งนี้

“การสร้างเมืองไร้คาร์บอนอย่าง Nexgen นี้ที่จะจัดหาอาหาร พลังงานและน้ำเพื่อความมั่นคง จะไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตัวเลือกอีกต่อไป มันจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต Nexgen เป็นวิวัฒนาการต่อไปในเมืองที่ยั่งยืนซึ่งนำเสนอโซลูชันหรือแนวทางแก้ไขอเนกประสงค์ที่จะเป็นนวัตกรรมสำหรับความท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่เราก็ได้กำหนดมาตรฐานความยั่งยืนสูงสุดสำหรับการสร้างเมืองที่ยืดหยุ่นและน่าอยู่ควบคู่ไปด้วย”

รูปแบบเมืองจะเหมือนโอเอซิสขนาดใหญ่ แต่สมบูรณ์กว่าในหลายด้านไม่ได้เป็นเพียงแค่แหล่งชุ่มชื่นอย่างเดียว Cr.URB

ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมือง Nexgen

  • เมืองนี้มีหลายอย่างที่น่าใจสำหรับการใช้ชีวิตแบบ ECO และ Slow-life ฟีเจอร์เพิ่มเติมของเมืองคือ จะเป็นเมืองที่สามารถเดินได้ 100% มีลู่วิ่งเฉพาะบนถนน ลู่ปั่นจักรยานและมีลู่สำหรับขี่ม้าด้วย
  • ในด้านของการศึกษา จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการศึกษาที่ทันสมัย เช่นสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน และสถาบัน
  • มีโรงงานรีไซเคิลขยะและโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อให้เมืองกลายเป็นเมืองปลอดขยะ
  • มีพื้นที่สีเขียวในแต่ละชุมชนอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม เพื่อผลิตออกซิเจนและเพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อนสำหรับผู้คนในชุมชน อันเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญสำหรับชีวิตยุคใหม่ที่ใส่ใจเวลาการพักผ่อนเพื่อตนเองมากขึ้น

ในฐานะเมืองไร้พรมแดน Nexgen จะฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยอื่นๆที่อุดมไปด้วยคาร์บอนและเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมืองนี้จะถูกเร่งให้เป็นโมเดลของเมืองที่มีสภาพอากาศเชิงบวกมากขึ้น ซึ่งเมืองนี้ได้รับการพัฒนาโดยเน้นที่เทคนิคการออกแบบแบบ Passive เป็นหลัก เช่น การวางแนว ความหนาแน่นและรูปแบบที่ต้องการการลงทุนทางการเงินน้อยที่สุด หรือก็คือใช้ทุนในการสร้างน้อยที่สุด แต่ยังไว้ได้ซึ่งผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมสูงสุด

สรุปโดยผู้เขียน

เห็นโมเดลหลายเมืองของต่างประเทศแบบนี้แล้วก็แอบอิจฉา ในการที่จะมีเมืองต้นแบบและยั่งยืนเกิดขึ้น และถือว่าหลายประเทศเริ่มมองการณ์ไกลกันบ้างแล้วในการจัดการปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ทรัพยากร สังคมและสิ่งแวดล้อมที่กำลังพุ่งต่ำลงในทุกด้านจากสภาวะการณ์แวดล้อมที่ไม่ค่อยสู้ดี อย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้เศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของหลายประเทศต้องหยุดชะงัก หารใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

การเกิดสงครามยูเครน-รัสเซียก็ทำให้ผู้คนขาดแคลนอาหาร ผลกระทบแบบโดมิโนของประเทศมหาอำนาจต่างๆก็หันเหความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องสำคัญอื่นๆไปสู่การแก้ปัญหาสงคราม ซึ่งก็มีทั้งผลลัพธ์ที่ดีและร้ายปนกันไป ยังไม่นับรวมกับปัจจัยย่อย เช่น สภาพอากาศที่เลวร้ายขึ้น ภัยพิบัติที่เกิดถี่ขึ้นและสุดขั้วมากๆ หรือภาวะขาดแคลนทรัพยากรหนัก การรุกรานพื้นที่ป่าทำให้สัตว์สูญพันธุ์ไปหลายร้อยสายพันธุ์แล้ว เป็นต้น หรือจะจากวิกฤตของปัญหาขยะล้นโลก หรือมลพิษต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ล้วนนำไปสู่ทิศทางที่แย่ลง

การปรับตัวก่อนถือว่าได้เปรียบมากในปัจจุบัน เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง วิกฤตอาหารจะขาดแคลนจริงหรือไม่ พืชผลจะให้ผลผลิตที่น้อยลงจริงไหม น้ำกำลังขาดแคลนหรือเปล่า หรือแม้กระทั่งอากาศก็จะไม่มีให้หายใจได้อีกก็อาจเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการแก้ไขอย่างถูกต้องและรวดเร็วที่สุด โมเดลดังกล่าวจึงเป็นตัวอย่างของการจัดการที่ดีที่จะทำให้อียิปต์คงความยั่งยืนยามเกิดวิกฤตได้ นี่จึงเป็นนาทีทองของทุกประเทศที่จะต้องเริ่มนโยบายใหม่ๆเพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับประเทศของตนเองให้อยู่รอดได้ แม้ต้องเผชิญกับภัยที่เลวร้ายที่สุด

Source : Spring News

Tags:

ที่ปรึกษาของ WMO เตือน คลื่นความร้อนจัดทั่วโลกลากยาวถึงสิงหาคม

ที่ปรึกษาด้านความร้อนสูงขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกกล่าวเมื่อวันศุกร์ ระบุคลื่นความร้อนจะยังคงมีอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกตลอดเดือนสิงหาคม หลังอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) กล่าวเมื่อต้นสัปดาห์นี้ คาดว่าอุณหภูมิในอเมริกาเหนือ เอเชีย แอฟริกาเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเรนไฮต์) ติดต่อกันนานหลายวันในสัปดาห์นี้ เนื่องจากคลื่นความร้อนทวีความรุนแรงขึ้น “เราควรวางแผนสำหรับคลื่นความร้อนสูงเหล่านี้ที่จะดำเนินต่อไปจนถึงเดือนสิงหาคม” จอห์น แนร์น ที่ปรึกษาอาวุโสของ WMO กล่าว ยุโรปตอนใต้กำลังต่อสู้กับคลื่นความร้อนที่ทำลายสถิติในช่วงฤดูท่องเที่ยวสูงสุดในฤดูร้อน ทำให้ทางการเตือนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของปัญหาสุขภาพและแม้แต่การเสียชีวิต สภาพอากาศที่รุนแรงยังทำให้ชีวิตชาวอเมริกันหลายล้านคนต้องหยุดชะงัก ด้วยความร้อนที่เป็นอันตรายซึ่งทอดยาวจากแคลิฟอร์เนียตอนใต้ไปจนถึงภาคใต้ตอนล่าง ความร้อนที่ร้อนระอุได้กระทบถึงตะวันออกกลางด้วย Nairn กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ทำให้คลื่นความร้อนจะถี่มากขึ้นและเกิดขึ้นได้ในทุกฤดูกาล "เรามีแนวโน้มที่จะเห็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ซึ่งจะส่งผลให้คลื่นความร้อนมีความรุนแรงและความถี่เพิ่มขึ้น" …

กพช.อนุมัติ กฟผ.ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ปากลาย และ หลวงพระบาง พร้อมเลื่อนปลดแม่เมาะเครื่องที่ 8-11 ไปสิ้นปี 68

2 โครงการซื้อขายไฟ สปป.ลาว ทั้ง ปากลาย และหลวงพระบาง ผ่านฉลุย กพช.เห็นชอบ ให้ กฟผ.…

‘ยูนิโคล่’ ร่วมเนรมิตพื้นที่กว่า 65 ไร่ สู่ ‘ศูนย์การเรียนรู้’ ป่าในเมือง

ยูนิโคล่ ประเทศไทย ตอกย้ำพันธกิจด้านความยั่งยืนของแบรนด์เสื้อผ้า พร้อมมุ่งสู่ความเป็นหนึ่งในบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย ร่วมมือกับ หน่วยงานกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ สนับสนุนโครงการสวนป่าในเมือง บนพื้นที่กว่า 65 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ป่าในเมือง…

Leave a Reply