News & Update

เนสท์เล่ฯ ผนึก กฟผ. นำร่องผลิตไอศกรีมด้วยพลังงานทดแทน 100% เป็นครั้งแรกในธุรกิจ FMCG

กลุ่มธุรกิจเนสท์เล่ ไอศกรีม ภายใต้บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด นำร่องผลิตไอศกรีมโดยใช้พลังงานทดแทน 100% ภายใต้โครงการนำร่องรูปแบบใหม่กับ กฟผ. ในปี 2023 นับเป็นรายแรกของอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ในประเทศไทย ที่ใช้รูปแบบการซื้อขายพลังงานทดแทนแบบเจาะจงแหล่งที่มา (Utility Green Tariff) ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดจะช่วยให้บริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050

สำหรับ “การใช้ไฟฟ้าสีเขียว” ในครั้งนี้ เป็นโครงการความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่าง บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ในการใช้พลังงานสะอาดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เนสท์เล่ ไอศกรีมที่โรงงานบางชันตลอดปี 2023 เพื่อส่งต่อไอศกรีมที่ดีต่อใจและดีต่อโลกให้กับคนรักไอศกรีมทั่วประเทศ และยังมีส่วนช่วยให้โลกเย็นขึ้นอีกด้วย

ทดลองผลิตไอศกรีม ด้วยพลังงานทดแทน 100% สู่องค์กร Net Zero ภายในปี 2050

นอกจากการใช้พลังงานทดแทนแล้ว กลุ่มธุรกิจเนสท์เล่ ไอศกรีม ยังมีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อาทิ การเปลี่ยนไปใช้ตู้แช่ไอศกรีมที่ใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้รถสามล้อไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายไอศกรีม รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้ซองไอศกรีมที่ทำจากกระดาษ 100% ในผลิตภัณฑ์ กลุ่มเอ็กซ์ตรีม นามะ และ เนสท์เล่คิทแคท เป็นต้น พร้อมตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 7 ในเรื่องการเข้าถึงพลังงานสะอาดราคาถูก ข้อ 12 ในเรื่องการบริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ และข้อ 13 ในเรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อน

คุณวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า เปิดเผยว่า “เนสท์เล่มีเป้าหมายสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050 ซึ่งหนึ่งในโครงการภายใต้แผนงานด้านความยั่งยืนในประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าวก็คือ การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 100% ในโรงงานผลิตของเนสท์เล่ทุกแห่งภายในปี 2025 ในวันนี้ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ กฟผ. ในการใช้พลังงานสะอาด 100% มานำร่องใช้ที่โรงงาน เนสท์เล่ ไอศกรีม อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีเป็นรายแรกในอุตสาหกรรม FMCG ในประเทศไทย ภายใต้ โครงการ Utility Green Tariff  ในฐานะบริษัทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก เนสท์เล่ตระหนักดีว่า การผลิตของเรามีส่วนในการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวันนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเนสท์เล่ เพื่อร่วมมือกันพัฒนาประเทศไทยและโลกของเราให้ยั่งยืนและน่าอยู่ยิ่งขึ้น”

nestle-2

ก้าวใหม่ กฟผ. กับการขับเคลื่อนพลังงานทดแทน

นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ ในฐานะ  Project Management Office การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างเนสท์เล่ ประเทศไทย กับ กฟผ. ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมหลักที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภค พร้อมทั้งทดสอบกลไกการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการจัดหาพลังงานไฟฟ้าสีเขียวแบบเจาะจงแหล่งที่มา (Utility Green Tariff) ในโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน ระยะที่ 2 (ERC Sandbox ระยะที่ 2) เป็นระยะเวลา 1 ปี โดย กฟผ. จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางการบริหารจัดการไฟฟ้าสีเขียว (Arrangement Unit) ให้บริการการบริหารจัดการกลไกการจับคู่การผลิตไฟฟ้าสีเขียวแบบเจาะจงแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าสีเขียว (Green Energy Portfolio) ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริงรายวันของโรงงาน เนสท์เล่ ไอศกรีม

ทั้งนี้ได้ส่งมอบพร้อม “ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน” (Renewable Energy Certificate: REC) ที่ตรงตามแหล่งผลิตและปริมาณการใช้ไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อทดสอบรูปแบบการจัดหาพลังงานไฟฟ้าสีเขียวรูปแบบใหม่ที่จะส่งเสริมและยกระดับภาคพลังงานไฟฟ้าสีเขียวของไทยสู่มาตรฐานสากล โดย กฟผ. พร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจในการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าสีเขียว เพื่อผลักดันสู่การเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป”

นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานทดแทน พร้อมส่งเสริมการสร้างแหล่งผลิตพลังงานสะอาดในประเทศ เพื่อสร้างสรรค์โลกที่น่าอยู่ และส่งต่ออนาคตที่ดีกว่าให้กับคนรุ่นต่อไป

Source : Brand Buffet

ชุดทดสอบความปลอดภัยของผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” ใช้ง่ายเหมือนตรวจ ATK

รู้ไหมว่าในพืชผักผลไม้มักมีสารเคมีตกค้าง หนึ่งในสารเคมีที่พบบ่อยคือ พาราควอต (Paraquat) ซึ่งเป็นสารที่เกษตรกรนิยมใช้เนื่องจากราคาถูกได้ผลดี หากสารตัวนี้ไปตกค้างในอาหารที่เรากินอาจทำให้เกิดอันตราย จึงมีการคิดค้นชุดทดสอบพาราควอต ขึ้นซึ่งการใช้งานคล้ายกับ ATK องค์การอนามัยโลก…

รถยนต์ไฟฟ้าเริ่มฮิต! ปีนี้ยอดจดทะเบียนพุ่งกว่า 1.4 หมื่นคัน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยถึง พระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2565 ว่า กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรี…

รมว.พลังงาน เผยแผนปี 2567 เร่งปรับโครงสร้างน้ำมัน หลังปี 2566 ใช้เงิน 1 แสนล้านบาทแก้วิกฤติราคาพลังงาน

พลังงาน ประกาศนโยบายปี 2567 เร่งปรับโครงสร้างน้ำมันทุกส่วน สร้างความเป็นธรรมด้านราคา รัฐมนตรีพลังงานระบุกำลังพิจารณาทั้งมาตรการภาษีน้ำมันกลุ่มเบนซินที่จะสิ้นสุด 31 ม.ค. 2567, มาตรการยกร่างกฎหมายราคาน้ำมันเพื่อเกษตรกร…

Leave a Reply