News & Update

เภสัชจุฬาฯ – อินโนบิก เปิดตัว “Innobic Pro Beta-Glucan+” ต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ประกาศความสำเร็จการทำงานภายใต้แนวคิด Open Innovation Platform หรือการดำเนินธุรกิจแบบเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมร่วมกัน โดยนำงานวิจัยทางด้านสุขภาพและเทคโนโลยีสุขภาพมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 ณ อาคาร 2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ศ.ภญ.ดร. พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าว

การแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic
การแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic 

จากนั้นมีการแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic โดย ภก.กิตติณัฐ ศรภิญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.พงศธร ประภักรางกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta-Glucan+ ซึ่งเป็นการดำเนินงานวิจัยระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนำประโยชน์จากเบต้า-กลูแคน มาผสมกับสารโพรโพลิสซัลโฟราเฟนในผงบร็อคโคลี่ วิตามินดี 3 วิตามินซี และเควอซิติน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับปอด และผลิตภัณฑ์ Innobic Probiotics GD ซึ่งดำเนินงานวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในการคัดเลือกเชื้อโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทยที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทยครั้งแรกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสร้างจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เข้าไปในร่างกายเพื่อให้เหมาะสมกับคนไทย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้ง Innobic Pro Beta-Glucan+ และ Innobic Probiotics GD มีจำหน่ายแล้วที่ LAB Pharmacy ทุกสาขา

ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta-Glucan+ เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ป่วยจากอาการ Long COVID มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงปัญหามลภาวะจากฝุ่น P.M.2.5 และจำนวนผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพปอดของประชาชน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย สามารถบำรุงปอดให้แข็งแรงด้วยการนำเบต้ากลูแคนมาผสมกับสารออกฤทธิ์หลายชนิดเพื่อให้มีฤทธิ์เสริมกันในการฟื้นฟูปอดได้ 100% ซึ่งจากทดสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ Innobic Pro Beta-Glucan+ สามารถปกป้องและฟื้นฟูปอดได้

ผู้ป่วยหรือแม้กระทั่งคนปกติที่อยากเสริมสร้างสุขภาพตนเองให้ดีก็สามารถทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ได้ เนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ 100 % ไม่มีสารเคมีหรือสารปนเปื้อนจากโลหะหนัก ซึ่งน่าจะช่วยให้การทำงานของร่างกายโดยรวมดีขึ้น จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ กล่าวถึงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta-Glucan+ ระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ว่ามีความสำคัญมาก ในฐานะนักวิจัย ผลงานวิจัยส่วนใหญ่กว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ต้องใช้เวลานานมาก เนื่องจากเรามีองค์ความรู้ แต่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีกระบวนการการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังนั้นบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด สามารถเข้ามาช่วยได้ในส่วนของมาตรฐานและการดูแลการผลิต

“ขอให้เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของคนไทย ผู้ที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่เฉพาะผู้ป่วย
ประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย” คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในที่สุด

Source : MGR Online

ชัชชาติ ชี้ นวัตกรรมเปลี่ยน กทม. สู่ Net Zero

“กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ "บีไอจี" ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite…

แผนที่อัจฉริยะรักษ์โลก จาก Space Intelligence จำลองผืนป่าด้วยดาวเทียมและ AI

รู้จักแผนที่อัจฉริยะรักษ์โลกจากบริษัทสัญชาติสกอตแลนด์ Space Intelligence ที่ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมให้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ประมวลผลออกมา เพื่อใช้สอดส่องผืนป่า และถิ่นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์หลายชนิด บริษัทสัญชาติสกอตแลนด์ ‘Space…

ปี 66 จุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า ชี้แบรนด์จีนครองส่วนแบ่งตลาดอีวี 50%

อุตสาหกรรมยานยนต์จะเผชิญกับความยุ่งยากมากขึ้นในปีนี้ ในปี 2568 บริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จะเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการสำหรับรถยนต์ใหม่บนท้องถนนถึง 95% ในปี 2569 มากกว่า 50%…

Leave a Reply