News & Update

กฟผ. เปิดตลาดจำหน่ายฮิวมิค วัตถุพลอยได้จากการทำเหมืองแม่เมาะ

กฟผ. เปิดตลาดจำหน่ายฮิวมิค วัตถุพลอยได้จากการทำเหมืองแม่เมาะ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สนับสนุนเกษตรกรเข้าถึงผลิตภัณฑ์ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดค่าใช้จ่าย สร้างความยั่งยืนในภาคเกษตรกรรม

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กฟผ. ร่วมพิธีส่งมอบวัตถุพลอยได้จากการทำเหมืองแม่เมาะ (ฮิวมิค) ให้แก่ผู้ซื้อ พร้อมให้ข้อมูลคุณสมบัติเชิงลึกและประโยชน์ของฮิวมิค เพื่อสนับสนุนชุมชนและเกษตรกรให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ฮิวมิคในราคาย่อมเยา ณ กฟผ. แม่เมาะ จ.ลำปาง

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร เปิดเผยว่า การทำเหมือง กฟผ. แม่เมาะ จำเป็นต้องเปิดหน้าดินที่ปิดทับถ่านหินลิกไนต์ออก และนำไปทิ้งยังพื้นที่ที่กำหนดไว้ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า หน้าดินดังกล่าวมีชั้นลีโอนาร์ไดต์ (Leonardite) ซึ่งเป็นชั้นดินที่มีอินทรีย์วัตถุสำคัญแทรกอยู่ คือสารประกอบฮิวมิค (กรดฮิวมิค กรดฟูลวิค และฮิวมิน) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรมได้หลากหลาย เช่น ใช้ปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก กฟผ. ได้ศึกษาวิจัยกระบวนการคัดแยกสิ่งเจือปนออกจากลีโอนาร์ไดต์ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ฮิวมิคแบบน้ำเป็นผลพลอยได้ (By Product) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ โดยเฉพาะอินทรียวัตถุที่มีปริมาณสูง มีธาตุอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด นอกจากนี้ จากการวิจัยพบว่า ปริมาณธาตุโลหะหนักทุกชนิดมีค่าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สามารถใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปรับปรุงดิน การบำบัดน้ำเสีย หรือใช้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้

กฟผ. ได้ทดลองตลาดจำหน่ายฮิวมิคแบบน้ำครั้งแรก กว่า 10,000 ลิตร ในราคาลิตรละ 25 บาท ได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก เกินกว่าปริมาณที่ กฟผ. เสนอขาย การเปิดขายในรอบแรกนี้ได้จัดสรรให้แก่ผู้ซื้อจำนวน 26 ราย โดย กฟผ. ได้ทยอยส่งมอบตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2566 เป็นต้นมา ทั้งนี้ กฟผ. แม่เมาะ ได้ตั้งโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตฮิวมิคแบบน้ำ ความเข้มข้น 3-5% มีขนาดกำลังผลิตประมาณ 32,000 ลิตรต่อเดือน และยังมีศักยภาพที่จะขยายกำลังผลิตได้มากกว่า 100,000 ลิตรต่อเดือน

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตฮิวมิค ถือเป็นการใช้วัตถุพลอยได้หรือของที่ต้องทิ้งจากการทำเหมืองให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าได้ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จำหน่ายในราคาย่อมเยาเมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายทั่วไปในท้องตลาด สอดรับกับปริมาณความต้องการใช้งานฮิวมิคทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นปีละมากกว่า 10% ขณะที่ประเทศไทยมีการนำฮิวมิคมาใช้อย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นการช่วยเหลือชุมชน เกษตรกร ให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิต และลดค่าใช้จ่ายในการทำเกษตรกรรมลงได้มาก

Source : Energy News Center

เนื้อหาน่าสนใจ :  เก๋งอีวีสุดฮิตในตลาดในประเทศ ม.ค.66 ยอดจดป้ายแดงเพิ่ม 1,000%

แปลงขยะอินทรีย์รับเทรนด์ ESG

การลดปริมาณและแยกประเภทขยะอินทรีย์ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของชุมชนและองค์กรต่อไป อันจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและนำไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดมลพิษของประเทศ ซึ่ง ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เห็นว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะพลาสติกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพไทย เพื่อตอบรับเทรนด์รักษ์โลก ซึ่ง พชรพจน์ นันทรามาศ…

เครื่องบินแอร์บัส A380 ทดสอบใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ 100% สำเร็จเป็นครั้งแรก

เครื่องบินแอร์บัส A380 รุ่น Airbus ZEROe Demonstrator ได้รับการปรับแต่งพิเศษให้รองรับการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ 100% บรรทุกเชื้อเพลิงน้ำหนัก 27…

กลุ่มยานยนต์ฯ ห่วงผลิตรถทั่วโลกสูญ 2.8 ล้านคัน หากสงครามยืดเยื้อชิปขาดแคลนหนัก

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์เดือนมีนาคม 2565 มีทั้งสิ้น 172,671 คัน เพิ่มขึ้นช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.25% ส่วนหนึ่งเพื่อรองรับงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ที่จัดขึ้นปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน ขณะที่ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนมีนาคม อยู่ที่ 87,245 คัน เพิ่มขึ้น 9.1%

Leave a Reply