News & Update

“หัวเว่ย” เปิด10 สุดยอดเทรนด์ระดับโลก ด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะ

หัวเว่ย (Huawei) จัดการประชุมว่าด้วย 10 สุดยอดเทรนด์ระดับโลกด้านเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ในหัวข้อ ”ดันพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลัก” (Accelerating Solar as a Major Energy Source) โดยคุณเฉิน กั้วกวง (Chen Guoguang) ประธานกลุ่มธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานของหัวเว่ย ได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกขององค์กรเกี่ยวกับ 10 สุดยอดเทรนด์แห่งอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะ จากมุมมองการทำงานร่วมกันในหลากหลายสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น

สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยังคงเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งาน (LCOE) วิธีปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและการบำรุงรักษา วิธีการรักษาเสถียรภาพของกริดไฟฟ้าขณะที่มีปริมาณพลังงานหมุนเวียนไหลเข้ามามากขึ้น และวิธีรับประกันความปลอดภัยของระบบอย่างครอบคลุม

“เมื่ออุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตอย่างรวดเร็ว ความท้าทายเหล่านี้ยังนำมาซึ่งโอกาส” คุณเฉิน กั้วกวง กล่าว ในฐานะองค์กรที่มองไปข้างหน้า หัวเว่ยมีความจริงจังที่จะแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและความคิดร่วมกับพันธมิตรของเรา ตลอดจนองค์กรและบุคคลที่มีความสนใจในการพัฒนาที่ยังยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทรนด์ที่ 1: เครื่องกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน

ขณะที่ปริมาณพลังงานหมุนเวียนถูกป้อนเข้าสู่กริดไฟฟ้ามากขึ้น ปัญหาทางเทคนิคที่ซับซ้อนต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นทั้งในแง่ของความเสถียรของระบบ ความสมดุลของพลังงาน และคุณภาพไฟฟ้า

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีโหมดการควบคุมแบบใหม่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการควบคุมพลังงานแบบแอ็กทีฟ/รีแอ็กทีฟ และความสามารถในการตอบสนอง และลดความผันผวนของความถี่และแรงดันไฟฟ้า ด้วยการผสานรวมพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน รวมถึงเทคโนโลยีการสร้างกริด เราจะสามารถสร้าง ‘เครื่องกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ’ ที่ใช้การควบคุมแหล่งจ่ายแรงดันแทนการควบคุมแหล่งจ่ายกระแสไฟในปัจจุบัน รองรับแรงเฉื่อยได้อย่างแข็งแกร่ง ให้เสถียรภาพแรงดันไฟฟ้าชั่วคราว และมอบความสามารถในการทนต่อสภาวะแรงดันต่ำชั่วขณะ สิ่งนี้จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์จากตัวติดตามกริดเป็นตัวสร้างกริด ซึ่งจะช่วยเพิ่มการจ่ายพลังงานแสงอาทิตย์

ความสำเร็จครั้งสำคัญในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในเชิงปฏิบัติคือโครงการเรดซี (Red Sea) ในซาอุดีอาระเบีย โดยหัวเว่ยได้จัดหาชุดโซลูชันที่สมบูรณ์แบบในฐานะหนึ่งในหุ้นส่วนหลัก ประกอบด้วยตัวควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะ และระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ (BESS) ลิเธียม โครงการนี้ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 400 เมกะวัตต์และระบบกักเก็บพลังงานขนาด 1.3 กิกะวัตต์ชั่วโมง เพื่อสนับสนุนโครงข่ายไฟฟ้าที่มาแทนที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลแบบดั้งเดิม มอบพลังงานที่สะอาดและเสถียรสำหรับประชากรกว่า 1 ล้านคน ก่อกำเนิดเมืองแรกของโลกที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%

เทรนด์ที่ 2: ความหนาแน่นและความน่าเชื่อถือสูง

พลังงานสูงและความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์ในโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายมาเป็นเทรนด์หลัก ยกตัวอย่างเช่น อินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบัน แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงของอินเวอร์เตอร์จะเพิ่มขึ้นจาก 1100 โวลต์เป็น 1500 โวลต์ การใช้วัสดุใหม่ ๆ เช่น ซิลิกอนคาร์ไบด์ (SiC) และแกลเลียมไนไตรด์ (GaN) รวมถึงการผสานรวมอย่างสมบูรณ์ของระบบดิจิทัล เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลัง และเทคโนโลยีการจัดการความร้อน คาดว่าจะส่งผลให้ความหนาแน่นพลังงานของอินเวอร์เตอร์เพิ่มขึ้นราว 50% ในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะรักษาความน่าเชื่อถือในระดับสูงไว้ได้

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 2.2 กิกะวัตต์ในเมืองชิงไห่ ประเทศจีน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 3100 เมตร และมีตัวควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ย (อินเวอร์เตอร์) จำนวน 9216 เครื่องที่สามารถทำงานได้อย่างเสถียรในสภาพแวดล้อมรุนแรง ทั้งนี้ ชั่วโมงความพร้อมใช้งานทั้งหมดของอินเวอร์เตอร์หัวเว่ยมีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 ล้านชั่วโมง และมีความพร้อมใช้งานถึง 99.999%

เทรนด์ที่ 3: อิเล็กทรอนิกส์กำลังระดับโมดูล (MLPE)

เซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแรงหนุนจากนโยบายอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยมีการพัฒนาอย่างแข็งแกร่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เรากำลังเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เช่นการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรบนหลังคา การนำมาซึ่งผลผลิตพลังงานสูง และวิธีรับประกันความปลอดภัยของระบบเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน ทำให้จำเป็นต้องมีการจัดการที่ละเอียดยิ่งขึ้น

ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังระดับโมดูล (MLPE) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังที่สามารถควบคุมอย่างได้ละเอียดบนโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ตั้งแต่หนึ่งโมดูลหรือมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นไมโครอินเวอร์เตอร์ ตัวปรับกำลังไฟฟ้า และตัวตัดการเชื่อมต่อ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังระดับโมดูลนำเสนอคุณค่าที่ไม่เหมือนใคร เช่น การผลิตไฟฟ้าระดับโมดูล การตรวจสอบ และการปิดเครื่องอย่างปลอดภัย ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีความปลอดภัยและชาญฉลาดมากขึ้น คาดว่าจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังระดับโมดูลมีอัตราการเจาะตลาดสูงถึง 20% ถึง 30% ภายในปี 2570 ในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบกระจาย

เทรนด์ที่ 4: การกักเก็บพลังงานแบบสตริง

เมื่อเปรียบเทียบกับโซลูชันระบบกักเก็บพลังงานแบบรวมศูนย์แบบดั้งเดิมแล้ว โซลูชันกักเก็บพลังงานแบบสตริงใช้สถาปัตยกรรมแบบกระจายและการออกแบบในลักษณะแยกส่วน อาศัยเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและการจัดการอัจฉริยะแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานที่ระดับแบตเตอรี่และควบคุมพลังงานที่ระดับแร็ก ส่งผลให้มีการปล่อยพลังงานมากขึ้น คุ้มค่าการลงทุน สร้างระบบปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงที่เรียบง่าย ตลอดจนความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือตลอดวงจรชีวิตของระบบกักเก็บพลังงาน

ในปี 2565 ในโครงการระบบกักเก็บพลังงานขนาด 200 เมกะวัตต์/200 เมกะวัตต์ชั่วโมงในสิงคโปร์ เพื่อควบคุมความถี่และใช้เป็นกำลังการผลิตสำรองพร้อมจ่าย และเป็นโครงการระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบบกักเก็บพลังงานแบบสตริงอัจฉริยะนี้ใช้การจัดการการเก็บและคายประจุที่มีความล้ำหน้า เพื่อให้ได้เอาต์พุตที่คงที่เป็นเวลานานขึ้น และมอบประโยชน์ในการควบคุมความถี่ นอกจากนี้ ฟังก์ชันการปรับสถานะพลังงานแบตเตอรี่ (SOC) อัตโนมัติที่ระดับแพ็กแบตเตอรี่ยังช่วยลดต้นทุนแรงงาน ยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และการซ่อมบำรุงอย่างมาก

เทรนด์ที่ 5: การจัดการที่ละเอียดระดับเซลล์

ในทำนองเดียวกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไปใช้อิเล็กทรอนิกส์กำลังระดับโมดูล ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ลิเธียมก็เตรียมที่จะพัฒนาไปสู่ระดับการจัดการที่เล็กลง การจัดการที่ละเอียดอ่อนในระดับเซลล์แบตเตอรี่เท่านั้นที่จะสามารถรับมือกับปัญหาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยได้ดีกว่า ปัจจุบัน ระบบการจัดการแบตเตอรี่ (BMS) แบบดั้งเดิม สามารถสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างจำกัดเท่านั้น และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะตรวจจับข้อผิดพลาดและแจ้งเตือนในระยะเริ่มต้น ด้วยเหตุนี้ ระบบการจัดการแบตเตอรี่จึงจำเป็นต้องมีความไว ชาญฉลาด และคาดการณ์ได้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการรวบรวม การคำนวณ และการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อค้นหาโหมดการทำงานที่เหมาะสมที่สุดและสามารถคาดการณ์ต่าง ๆ ได้

เทรนด์ที่ 6: การบูรณาการของเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บพลังงาน และกริด

ในด้านการผลิตไฟฟ้า เราได้เห็นแนวทางปฏิบัติมากขึ้นในการสร้างฐานพลังงานสะอาดด้วยเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน ที่จ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดกลางผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ ส่วนในด้านการใช้พลังงาน โรงไฟฟ้าเสมือน (VPP) ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายประเทศ รวมไว้ซึ่งระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบกระจายขนาดใหญ่ ระบบกักเก็บพลังงาน และโหลดที่สามารถควบคุมได้ และใช้การจัดตารางเวลาที่ยืดหยุ่นร่วมกับหน่วยผลิตไฟฟ้าและหน่วยจัดเก็บ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น

ดังนั้น การสร้างระบบพลังงานที่เสถียรซึ่งผสานรวมระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บพลังงาน และกริด เพื่อรองรับการจ่ายพลังงานแสงอาทิตย์และการป้อนเข้าสู่กริด จะกลายเป็นมาตรการหลักในการรับประกันความมั่นคงด้านพลังงาน เราสามารถผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานเพื่อให้เกิดการเสริมพลังงานที่หลากหลาย โรงไฟฟ้าเสมือนสามารถจัดการ ดำเนินการ และแลกเปลี่ยนพลังงานของระบบเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานแบบกระจายขนาดใหญ่ได้อย่างชาญฉลาดผ่านเทคโนโลยีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น 5G ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งจะถูกนำมาใช้จริงในอีกหลายประเทศ

เทรนด์ที่ 7: การยกระดับความปลอดภัย

ความปลอดภัยถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน สิ่งนี้ต้องการให้เราพิจารณาถึงสถานการณ์การใช้งานและการเชื่อมโยงทั้งหมดอย่างเป็นระบบ บูรณาการระบบอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ไฟฟ้าเคมี การจัดการความร้อน และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อยกระดับความปลอดภัยของระบบ สำหรับโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์ ความผิดพลาดที่เกิดจากฝั่งกระแสตรงคิดเป็นกว่า 70% ของความผิดพลาดทั้งหมด ดังนั้น อินเวอร์เตอร์จำเป็นต้องรองรับการตัดการเชื่อมต่อสตริงแบบอัจฉริยะและการตรวจจับตัวเชื่อมต่ออัตโนมัติ ส่วนในสถานการณ์การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์แบบกระจาย ฟังก์ชันป้องกันการลัดวงจรของอาร์ก (Arc Fault Circuit Breaker หรือ AFCI) จะกลายเป็นมาตรฐาน และฟังก์ชันการปิดระบบอย่างรวดเร็วในระดับโมดูลจะช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และสำหรับการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานในสถานการณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีหลายประเภท เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อใช้จัดการระบบกักเก็บพลังงานอย่างละเอียด ตั้งแต่เซลล์แบตเตอรี่ไปจนถึงทั้งระบบ โหมดการป้องกันแบบดั้งเดิมที่อิงตามการตอบสนองแบบพาสซีฟและการแยกทางกายภาพ จะถูกเปลี่ยนเป็นการป้องกันแบบอัตโนมัติตลอดเวลา โดยอาศัยการออกแบบความปลอดภัยหลายมิติตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ไปจนถึงซอฟต์แวร์ จากระดับโครงสร้างไปจนถึงระดับอัลกอริทึม

เนื้อหาน่าสนใจ :  มทร.กรุงเทพ จับมือ กฟน. ลงนาม MOU โครงการให้บริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ฯ

เทรนด์ที่ 8: ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

แม้จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย แต่ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ยังคงมาพร้อมความเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของอุปกรณ์และความปลอดภัยของข้อมูล ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากการปิดเครื่องที่เกิดจากความผิดพลาด ขณะที่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลหมายถึงการถูกโจมตีจากเครือข่ายภายนอก เพื่อรับมือกับความท้าทายและภัยคุกคามเหล่านี้ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างชุดกลไกการจัดการ “ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ” ที่สมบูรณ์ รวมไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความพร้อมใช้งาน ความปลอดภัย และความยืดหยุ่นของระบบและอุปกรณ์ นอกจากนี้ เรายังจำเป็นต้องดำเนินการปกป้องเพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

เทรนด์ที่ 9: การเปลี่ยนสู่ดิจิทัล

โรงงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบเดิมมีอุปกรณ์จำนวนมากและขาดช่องทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการรายงาน อุปกรณ์ส่วนใหญ่ไม่สามารถ ‘สื่อสาร’ กันได้ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการได้ยาก

เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง เช่น 5G IoT การประมวลผลคลาวด์ เทคโนโลยีการตรวจจับ และบิ๊กดาต้า ทำให้โรงงานเหล่านี้ส่งและรับข้อมูลโดยใช้ “บิต” (การไหลของข้อมูล) เพื่อจัดการ “วัตต์” (กระแสพลังงาน) การเชื่อมโยงทั้งหมดของการสร้าง-การส่ง-การจัดเก็บ-การกระจาย-การบริโภค จะมองเห็นได้ จัดการได้ และควบคุมได้

เทรนด์ที่ 10: การใช้งานปัญญาประดิษฐ์

ในขณะที่อุตสาหกรรมพลังงานกำลังก้าวไปสู่ยุคแห่งข้อมูล วิธีการรวบรวม ใช้ประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าของข้อมูลให้ดียิ่งขึ้นได้กลายเป็นหนึ่งในข้อกังวลอันดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรมทั้งหมด

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถนำไปใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน และมีบทบาทสำคัญตลอดวงจรชีวิตของเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการผลิต การก่อสร้าง การปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง การเพิ่มประสิทธิภาพ และการดำเนินงาน การบรรจบกันของปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี เช่น การประมวลผลคลาวด์และบิ๊กดาต้ามีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขณะที่ห่วงโซ่เครื่องมือที่เน้นการประมวลผลข้อมูล การฝึกอบรมแบบจำลอง การปรับใช้และการดำเนินงาน และการตรวจสอบความปลอดภัยจะสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ส่วนในด้านพลังงานหมุนเวียน ปัญญาประดิษฐ์ เช่น อิเล็กทรอนิกส์กำลังและเทคโนโลยีดิจิทัล จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

ในตอนท้าย คุณเฉินยังได้เน้นย้ำว่า การใช้งานเทคโนโลยี 5คลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน กำลังสร้างโลกที่ทุกสิ่งสามารถสัมผัสได้ เชื่อมต่อกัน และมีความชาญฉลาด และทุกอย่างนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าที่เราคิด หัวเว่ยได้ระบุเทรนด์ 10 อันดับแรกของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ และอธิบายถึงโลกอัจฉริยะสีเขียวในอนาคตอันใกล้ เราหวังว่าผู้คนจากทุกสาขาอาชีพจะสามารถร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีกว่าเดิม

Source : Thai BCC News

ส.อ.ท. ชี้ (ร่าง) AEDP 2024 ขาดความโปร่งใส ยัน E20 ต้องเป็นน้ำมันพื้นฐานแทน E10

ส.อ.ท. ชี้ (ร่าง) AEDP 2024 ขาดความโปร่งใส ทำลายศักยภาพประเทศ ตัดระบบรายได้ของเกษตรกรมากกว่า 1.2 ล้านครัวเรือนย้ำ…

ส่องเงื่อนไข “สินเชื่อโซลาร์รูฟ ธอส.” ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ธอส. เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ "ติดตั้งหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์" หรือ Solar Roof…

“Green Job” งานแห่งอนาคต 1 ใน 10 อันดับ โตเร็ว 5 ปีข้างหน้า

ในวันที่ทั่วโลกหันมามองเรื่องของ Sustainability ทำให้เรื่องของความยั่งยืนไม่ใช่แค่การทำเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรอีกต่อไป แต่ถูกฝังอยู่ในตัวองค์กร ในผลิตภัณฑ์ และบริการ ซึ่งนั่นทำให้เทรนด์งานใหม่แห่งอนาคตอย่าง Green Job ถูกพูดถึงกันมากขึ้น…

Leave a Reply