เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้มีการจัดงาน “มารักษ์กัน เพื่อการผลิต และการบริโภคที่ยั่งยืนด้วยฉลากเขียว” ขึ้น ซึ่งทำให้หลายคนได้รู้จักกับ “ฉลากเขียว” เป็นครั้งแรก เชื่อได้ว่าหลายคนยังไม่ทราบเลยว่า ตอนนี้เรามีฉลากเขียวสำหรับสินค้าออกมาแล้ว เป็นไปตามการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง ดังนั้นในบทความนี้ จะพาทุกท่านไปรู้จักกัน “ฉลากเขียว” กัน
ฉลากเขียว คืออะไร
มารู้จักกับฉลากเขียวกัน สำหรับฉลากเขียวนั้น เป็นฉลากที่มอบให้กับสินค้าที่มีคุณภาพ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ซึ่งผู้ผลิตสินค้าจะนำไปติดบนผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อเป็นเครื่องหมายให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้านั้นให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และจะช่วยให้ผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง นอกจากนี้ยังจะได้รับความสนใจจากผู้คนที่เป็นชาวรักษ์โลกหันมาซื้อสินค้าที่มีฉลากเขียวมากขึ้นอีกด้วย และผู้ผลิตบางรายก็สามารถปรับสินค้าให้มีกำไรมากขึ้นได้เช่นกัน
ซึ่งในประเทศไทยของเรา ได้มีการริเริ่มโครงการฉลากเขียวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 แล้ว โดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย ขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโลโลยี และสิ่งแวดล้อม รวมถึงองค์กรเอกชนอื่นๆ ได้เกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากหากหลายฝ่ายทั้งรัฐบาล และเอกชน ทั้งนี้โครงการมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
อย่างไรก็ตามปัญหาใหญ่ในเรื่องนี้ คงไม่ใช่เรื่องความร่วมมือ แต่น่าจะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภค และผู้ประกอบการได้รับรู้ว่าในประเทศไทยมี “ฉลากเขียว” แล้ว ในมุมผู้บริโภคเองส่วนใหญ่ยังไม่ทราบเลยว่ามีฉลากเขียว และไม่เคยสังเกตฉลากใดๆ ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์เลย ต่างจากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ประชาสัมพันธ์ได้ค่อนข้างดี เป็นที่รู้จักกันไปทั่ว ในมุมของผู้ผลิตสินค้า ก็เช่นกัน หลายรายก็ยังไม่ทราบว่ามี ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ก็ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตได้ส่งสินค้าเพื่อพิจารณาเข้าร่วม และผู้บริโภคเอง จะได้สังเกตฉลากสีเขียวก่อนจะซื้อสินค้าทุกครั้ง
สำหรับแนวคิดในเรื่องของฉลากเขียว มีดังนี้
- ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดที่ทางคณะกรรมการนโยบายและบริหารงานฉลากเขียวประกาศใช้
- เป็นการสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
- ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภค โดยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากขึ้น
- กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
- กระตุ้นให้รัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหามลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค
วัตถุประสงค์ของ “ฉลากเขียว”
- ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมภายในประเทศ
- ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
- ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่สะอาด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทั้งนี้ เพื่อส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว
ฉลากเขียวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ
ฉลากเขียว ของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 14024 เริ่มดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537
ทางสถาบันฯ มีการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยฉลากเขียวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ได้รับรองระบบงาน GENICES ของเครือข่ายฉลากสิ่งแวดล้อมโลก (Global Ecolabelling Network (GEN))
เครือข่าย GEN นี้ มีสมาชิกเป็นหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมชนิดที่ 1 จากมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสร้างความร่วมมือ ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล (Common Core Criteria (CCC)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิก GEN สมาชิกอาจลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding (MOU)) ร่วมกัน เพื่อดำเนินงานร่วมกันในระดับองค์กร
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก
- ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน
- คํานึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นถูกจําหน่ายออกสู่ตลาด
- มีวิธีการตรวจสอบที่ไม่ยุ่งยากและไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง ในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทาง
สิ่งแวดล้อมตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนด - เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
ในการพิจารณาคัดเลือกนั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละผลิตภัณฑ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะคำนึงถึงในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งที่เป็นทรัพยากรหมุนเวียน (renewableresources) และทรัพยากรไม่หมุนเวียน (nonrenewable resources)
- การลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาที่สําคัญของประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการผลิต การ
ขนส่ง การบริโภค และการกําจัดทิ้งหลังใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ - การนําขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะอันตรายกลับมาใช้ซ้ํา (reuse) หรือ แปรสภาพกลับมาใช้ใหม่
(recycle)
ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากสีเขียว
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- บ้านและที่อยู่อาศัย
- อุปกรณ์ก่อสร้าง
- บริการ
- เครื่องใช้สำนักงาน
- ยานพาหนะและอุปกรณ์เสริม
- ผลิตภัณฑ์กระดาษ
- และอื่นๆ
สามารถดูรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากสีเขียวแต่ละเดือนได้ที่เว็บไซต์ https://www.tei.or.th/greenlabel/labs.html
การสมัครขอ “ฉลากเขียว”
การขอใช้ฉลากเขียวเป็นการดําเนินการด้วยความสมัครใจของผู้ผลิต ผจู้ัดจําหน่าย หรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกฎหมายบังคับ ผู้ประสงค์จะสมัครขอใช้ฉลากเขียวสามารถดูรายละเอียดได้จากคู่มือแนะนาโครงการฉลากเขียว หรือที่เว็บไซต์
http://www.tei.or.th/greenlabel/th_index.html
ข้อมูลเพิ่มเติม : ฉลากเขียว