News & Update

GPSC ตั้งเป้าปี 68 มีพลังงานหมุนเวียน 5 พัน MW

GPSC เร่งขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพิ่มในอินเดีย วางเป้าปี 68 วางเป้าขยายเพิ่มเป็น 5 พันเมกะวัตต์ หรือราวกึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด1หมื่นเมกะวัตต์

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่าในปี 2568 บริษัทวางเป้าหมายมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมอยู่ที่ระดับ 10,000 เมกะวัตต์(MW) แบ่งเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 5,000 เมกะวัตต์จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 2,000 เมกะวัตต์ 

ซึ่งการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะเป็นการขยายการลงทุนในอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีนโยบายการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนสูงมาก โดยในปี 2564 บริษัทใช้เงินราว 14,825 ล้านบาทเพื่อเข้าไปลงทุนในสัดส่วน 41.6%ใน Avaada Energy Private Limited (Avaada) ที่ดำเนินโครงการพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาร์ฟาร์ม)ในอินเดีน ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 4,608 เมกะวัตต์(ดำเนินการแล้ว 2,205 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 2,403 เมกะวัตต์)

ปัจจุบันGPSC มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมประมาณ 7,122 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานฟอสซิล ทั้งถ่านหินและก๊าซฯ รวม 5,000 เมกะวัตต์ และพลังงานหมุนเวียนประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ 

นอกจากนี้ บริษัทแสวงหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในไทย โดยยังรอความชัดเจนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ( PDP 2022 )

Source : MGROnline

Proton จับมือ Geely ตั้งโรงงานผลิตรถ EV ในประเทศไทย อนาคตไทย EV Hub ของอาเซียน

Proton ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติมาเลเซีย และ Geely ค่ายรถจีน กำลังพิจารณาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน ได้เปิดเผยระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์…

ปตท.อัด 2 แสนล้าน สู่ Net Zero ลุยพลังงานหมุนเวียน-อีวี

ปตท.กางแผนลงทุนในอนาคต 2.38 แสนล้าน ลุยพลังงานอนาคตและธุรกิจใหม่ พุ่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์และลม พร้อมเดินหน้าตั้งโรงงานผลิตแพลตฟอร์มประกอบรถยนต์อีวีช่วงกลางปีนี้ 3.3 หมื่นล้านบาท ขยายกำลังผลิต รง.ผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน 1 พันเมกฯชั่วโมงต่อปี

ปตท.ชี้สร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ​

ปตท. ชี้ดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนการนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว อุตสาหกรรมปิโตรเคมีก่อให้เกิดการจ้างงาน ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ​ ระบุมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นสูงถึง 10 – 25…