ในระหว่างปี 2565-2568 และล่าสุดได้มีมาตรการ EV2 เพื่อสนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่วงเงิน 24,000 ล้านบาท
ขณะนี้ได้มีการจัดทำมาตรการ EV3 ที่จะเป็นใช้ในปี 2567 โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ได้ประชุมเมื่อวันที่ 7 มี.ค.2566 เห็นชอบมาตรการส่งเสริม EV ชุดที่ 3 หรือ EV3 โดยเป็นการปรับรายละเอียดจากมาตรการ EV2 ดังนี้
1.ปรับวงเงินสนับสนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจากเดิมที่กำหนดสูงสุดไม่เกินคันละ 150,000 บาท รวมทั้งจะมีการปรับประเภทรถที่รับการอุดหนุนเงินให้ละเอียดมากขึ้น โดยเทียบกับมาตรการปัจจุบันที่รถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ต่ำกว่า 30 kWh ได้รับอุดหนุน 70,000 บาท และรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ขนาดเกิน 30 kWh ได้รับการสนับสนุนคันนะ 150,000 บาท ซึ่งจะปรับรายละเอียดประเภทรถที่รับการอุดหนุน
2.การปรับเงื่อนไขการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งมาตรการปัจจุบันกำหนดให้บริษัทรถนำเข้าที่ขอรับเงินอุดหนุนต้องเริ่มผลิตรถชดเชยใน 2 ปี เท่ากับจำนวนการนำเข้า CBU ในอัตราการนำเข้าต่อการผลิตในประเทศที่ 1.0 ต่อ 1.5 คัน
ทั้งนี้ จะปรับให้การผลิตทดแทนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยจากเดิมกำหนดให้มีการผลิตทดแทนภายใน 2 ปี ปรับเป็นภายใน 3 ปี แต่มีเงื่อนไขอัตราส่วนการผลิตทดแทนที่สูงขึ้น
3.ปรับมาตรการสนับสนุนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่กำหนดวงเงินไว้ 24,000 ล้านบาท โดยจะลงรายละเอียดงบประมาณที่สนับสนุนในแต่ละปี และกำหนดวงเงินที่สนับสนุนตั้งแต่ระดับ 1-8 กิกะวัตต์
เหตุผลสำคัญของการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครั้งนี้ เพราะบอร์ด EV พิจารณาเห็นว่าหลังจากที่ออกมาตรการอุดหนุนการซื้อรถไฟเมื่อปี 2565 ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และความต้องการภายในประเทศยังมีอีกมาก
Source : กรุงเทพธุรกิจ