News & Update

“โลกเดือด” เตรียมทางรอด “เอลนีโญ” กระทบไทย

“โลกเดือด” ได้เข้ามาเเทนที่ “โลกร้อน” ขณะที่ประเทศไทย เร่งรับมือ เตรียมทางรอดสำหรับ “ปรากฎการณ์เอลนีโญ” ที่กระทบไทย

ยุค “โลกเดือด” หรือ Global Boiling กำลังเข้ามาแทนที่ ยุค “โลกร้อน” เพิ่มระดับความรุนแรงกว่าเดิมเรียกว่า “หายนะของโลก” ได้เลย นี่คือตามคำกล่าวของ “อันโตนิโอ กูเตียเรส” เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่เพิ่งประกาศไม่นาน เห็นได้จากอุณภูมิโลกสูงขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม จนถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เชื่อได้ว่า ผลกระทบจะแพร่กระจายไปทุกพื้นที่ของโลกใบนี้

ขณะเดียวกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปได้เผชิญกับคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม ทำให้สภาพอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนเกิดไฟป่าในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่กรีซ เกิดไฟป่ารุนแรง เเละล่าสุด ไฟป่าฮาวาย เเม้ยังไม่มีการระบุถึงสาเหตุเเต่ก็มีการตั้งคำถามว่า “โลกร้อน” เป็นต้นเหตุหรือไม่ 

ขณะที่โลกเผชิญปรากฎการณ์เอลนีโญมาแล้ว 5 ครั้ง ไล่มาตั้งแต่ ปี 2515-2516 ปี 2525-2526 ปี 2534-2535 ปี 2540-2541 ปี 2558-2559 ปี 2566-2567 (เริ่ม ต.ค.นี้) และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น คาดสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรไทยรวมราว 48,000 ล้านบาท  จากข้อมูล ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย ล่าสุด 16 ส.ค.66 คณะกรรมการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประชุมเตรียมความพร้อม รับมืออิทธิพลจาก ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” จากปริมาณฝนที่ตกน้อยในหลายพื้นที่ และแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำจำกัดโดยเฉพาะ น้ำอุปโภคบริโภค แม้ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตาม “12 มาตรการรับมือฤดูฝน” อย่างต่อเนื่องและเต็มที่ จึงยังคงต้องเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาภัยแล้ง อย่างรุนแรงได้ และขณะเดียวกันปรากฏการณ์เอ็นโซ่ (ENSO) อยู่ในสภาวะเอลนีโญ และจะมีแนวโน้มที่มีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.66  ทำให้ประเทศไทยช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.66 จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าปกติ

โดยพิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์ “เอลนีโญ”  3 มาตรการที่สำคัญ 

  • มาตรการที่ 1 จัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เกี่ยวกับการวางแผนการระบายน้ำ
  • มาตรการที่ 2 ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง (ตลอดช่วงฤดูฝน) และให้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร
  • มาตรการที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ (ตลอดช่วงฤดูฝน) ได้แก่ การใช้น้ำภาคการเกษตร เช่น การปลูกพืชใช้น้ำน้อย  การปรับปรุงระบบการให้น้ำพืช และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น รวมถึงการประหยัดน้ำของทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมใช้ระบบ 3R เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งต่างๆ และการลดการสูญเสียน้ำในระบบประปา และระบบชลประทาน 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. กำชับ สทนช.และหน่วยงานต่างๆ เร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้ประชาชน รับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วถึง ทันเวลา เพื่อเตรียมความพร้อมและจัดลำดับความสำคัญในการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค อย่างเพียงพอของประชาชนเป็นอันดับเเรก  รวมถึงพื้นที่ EEC ที่มีความสำคัญ รณรงค์ขอให้ประชาชน เกษตรกรและทุกภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.คุมเข้มเตรียมรับมือ "เอลนีโญ"
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม.คุมเข้มเตรียมรับมือ “เอลนีโญ”

Source : ฐานเศรษฐกิจ

“โคเวสโตร” ทุ่ม 2 หมื่นล้าน ลดก๊าซเรือนกระจก 60% ปี 73

โคเวสโตร เป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์และส่วนประกอบทางโพลิเมอร์คุณภาพสูงชั้นนำของโลก ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และวิธีการที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตในหลายแง่มุม โคเวสโตร ให้บริการลูกค้าทั่วโลกในอุตสาหกรรมหลัก เช่น การเดินทางและการขนส่ง อาคารและที่อยู่อาศัย ตลอดจนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์…

ไอเดียสร้างไฟฟ้าแบบใหม่ แค่ปล่อยลอยไว้ให้คลื่นทะเลหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การใช้คลื่นทะเลมาสร้างกระแสไฟฟ้าเริ่มเป็นทางเลือกที่มีการพูดถึงมากขึ้น โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีเครื่องสร้างกระแสไฟฟ้าจากคลื่นใต้ทะเล (Ocean Swell) จากบริษัทสตาร์ตอัปในออสเตรเลีย และล่าสุด สตาร์ตอัปจากไซปรัส ประเทศเกาะที่ตั้งทางตอนใต้ของประเทศตุรกี ได้เปิดเผยไอเดียในการสร้างกระแสไฟฟ้าจากคลื่นทะเลที่แหวกแนวกว่าใคร ด้วยการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ให้คลื่นทะเลช่วยหมุนแกนแม่เหล็กสำหรับสร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งบริษัทเคลมว่ามีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติอีกด้วย บริษัทดังกล่าวมีชื่อว่าซีเวฟ…

เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่?

มีคำถามสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า บรรดาเทคโนโลยีขั้นสูงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า (Big Data) วิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced…

Leave a Reply