News & Update

“พลังงาน” เร่งปตท.สผ.ผลิตก๊าซฯ อ่าวไทยเพิ่ม 800 ล.ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กดค่าไฟ

“พลังงาน” เร่งปตท.สผ.ผลิตก๊าซฯอ่าวไทยเพิ่ม 800 ล.ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กดค่าไฟ ตามแผนเพิ่มกำลังการผลิตโครงการจี 1/61 วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นแหล่งจัดหาก๊าซที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งอื่น

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย โครงการจี 1/61 วันที่ 1 เมษายน 2567 ให้อยู่ในระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 

ทั้งนี้ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซในประเทศซึ่งถือเป็นแหล่งจัดหาก๊าซที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งอื่น ไม่ว่าจะเป็นก๊าซที่นำเข้าจากเมียนมา และก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าในรูปของ LNG 

โดยที่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการโครงการจี 1/61 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2565 ภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต ซึ่งบริษัทได้ทำงานร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มอัตราการผลิตก๊าซฯ 

ซึ่งได้ติดตั้งแท่นหลุมผลิต 12 แท่น เจาะหลุมผลิตเพิ่มกว่า 300 หลุม วางท่อก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งเชื่อมต่ออุปกรณ์การผลิตและระบบต่าง ๆ เพื่อทำให้อัตราการผลิตก๊าซฯ เพิ่มขึ้น

"พลังงาน" เร่งปตท.สผ.ผลิตก๊าซฯอ่าวไทยเพิ่ม 800 ล.ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กดค่าไฟ
“พลังงาน” เร่งปตท.สผ.ผลิตก๊าซฯอ่าวไทยเพิ่ม 800 ล.ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน กดค่าไฟ

และในปี 2567 ปตท.สผ. มีแผนจะติดตั้งแท่นหลุมผลิตเพิ่มอีก 7 แท่น และเจาะหลุมผลิตเพิ่มอีกประมาณ 300 หลุม เพื่อเพิ่มและรักษาอัตราการผลิตก๊าซฯ ของโครงการจี 1/61 ให้ได้ในอัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตามสัญญาแบ่งปันผลผลิต 

“ล่าสุดได้ลงพื้นที่ตรวจมความพร้อมของการผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการจี 1/61 ในอ่าวไทย ซึ่งมีแผนจะเพิ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติในอัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านค่าไฟฟ้า และเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยได้สั่งการให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานของ ปตท สผ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามแผน”

นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า จากปัจจัยในเรื่องการเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ และราคา LNG ตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำลงเมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติไปเมื่อเดือนธันวาคม 2566 เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ต้นทุนก๊าซธรรมชาติในภาพรวมของประเทศที่เข้าภาคไฟฟ้าลดลง

และส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าของประเทศที่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติประมาณ 50-60 % มีต้นทุนลดลง ซึ่งช่วยให้กระทรวงพลังงานสามารถรักษาระดับราคาค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนได้

Source : ฐานเศรษฐกิจ

เนื้อหาน่าสนใจ :  “สิทธิประโยชน์-พลังงานสะอาด” ดึงการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

แผนสํารองสําหรับสภาพอากาศมีประสิทธิภาพแค่ไหน

เดือนมิถุนายนในปี 1991 ภูเขาไฟในฟิลิปปินส์ระเบิด Mount Pinatubo ส่งเมฆเถ้าถ่านขึ้นสู่บรรยากาศ 35 กิโลเมตร คร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อยคนและส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้าน ก่อนที่ฝุ่นจะตกลงมาอย่างสมบูรณ์…

แบงก์เดินหน้าหนุนลูกค้าสู่ “เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ” ใน 4 อุตสาหกรรม 130 บริษัท

สถาบันการเงิน ยังคงเดินหน้าสนับสนุนลูกค้าภาคธุรกิจสู่ "เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ" ล่าสุด กสิกรไทย ลุยให้ความรู้ Decarbonize Now เจาะลึก 4…

“SME Green Bond” เคลื่อนพลังงานสะอาดด้วยการเงินสีเขียว

ข้อมูลจาก EXIM BANK ระบุว่า หลังการเสนอขายพันธบัตรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อ SMEs (SME Green Bond) ครั้งแรกภายใต้กรอบการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน…

Leave a Reply