News & Update

ฟิล์มห่ออาหารกินได้ เทคโนโลยียกระดับการเกษตร

มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึงพัฒนาแผ่นฟิล์มกินได้และย่อยสลายได้ เพื่อใช้ห่อหุ้มอาหารและสินค้าเกษตรได้นานถึง 4 เดือน รวมถึงสารละลายโปรตีนเคลือบผิวสินค้าเกษตรช่วยป้องกันแมลง ที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และระบบนิเวศ ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้มหาศาล

ปัจจุบันการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนในอย่างกว้างขวางทั่วโลก การลดใช้พลาสติกอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติมาใช้ให้มากที่สุด 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึงจึงได้พัฒนาสารเคลือบและแผ่นฟิล์มชนิดบริโภคและย่อยสลายได้ในธรรมชาติที่ผลิตจากเจลาตินเป็นส่วนผสมหลัก และเติมโปรตีนไฮโดรไลเซสจากหลายแหล่ง อาทิ นม สาหร่าย และกากถั่วเหลือง โดยนำโปรตีนดังกล่าวไปผ่านกระบวนการย่อยให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลงด้วยเอนไซม์โปรติเอส แล้วผสมกับกลีเซรอลเพื่อเชื่อมผสานให้เกิดเป็นโพลิเมอร์ โดยต้นแบบที่ได้มี 2 แบบ คือ ของเหลวหนืดเพื่อใช้เคลือบ และ แผ่นฟิล์ม 

การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับแผ่นฟิล์มชนิดบริโภคและย่อยสลายได้ในธรรมชาติส่วนใหญ่ใช้แป้งเป็นส่วนผสมหลัก ด้วยคุณสมบัติของโพลิเมอร์จากแป้งทำให้ฟิล์มมีความเหนียวและยืดหยุ่น ขณะที่ฟิล์มจากโปรตีนมีคุณสมบัติด้อยกว่าในทุกแง่มุม แต่งานวิจัยได้ค้นพบว่าเปปไทน์โปรตีนไฮโดรไลเซสสามารถช่วยเพิ่มการละลาย ทำให้การจัดเรียงโมเลกุลในขณะสร้างโพลิเมอร์มีความสมบูรณ์มากขึ้น สารเคลือบมีความหนืด โปร่งใส และยึดเกาะที่ผิวของผลไม้ได้เป็นอย่างดี หากเติมสารเติมแต่งในกระบวนการผลิตพลาสติก และปรับสภาวะการเตรียมที่เหมาะสม จะทำให้ขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มที่มีความยืดหยุ่นสูง

ฟิล์มห่ออาหารกินได้  เทคโนโลยียกระดับการเกษตร

ฟิล์มต้นแบบมีลักษณะใกล้เคียงกับฟิล์มพลาสติกจนแยกไม่ออกด้วยสายตา เมื่อนำไปจำลองสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรในห้องปฏิบัติการและในพื้นที่จริง พบว่าสารเคลือบสามารถใช้ฉีดเพื่อปกป้องผิวของผลไม้ที่ต้นได้ดี ส่วนแผ่นฟิล์มนำไปหีบห่อบรรจุผัก ผลไม้สด และผักผลไม้แปรรูปได้ เพื่อปกป้องผลไม้จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น แมลง แสง แรงกระแทก และฝุ่นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 120 วันโดยไม่เสียสภาพ จึงช่วยถนอมอาหารได้ดี 

ฟิล์มห่ออาหารกินได้  เทคโนโลยียกระดับการเกษตร

ส่วนแผ่นฟิล์มสามารถรับน้ำหนักและแรงกดทะลุได้มากถึง 4 กิโลกรัม แม้จะไม่ทนต่อความร้อนจากแดดจัดและน้ำ แต่คุณสมบัติบางประการเหล่านี้เป็นจุดเด่นของวัสดุห่อหุ้มอาหารในยุคของเทคโนโลยีชีวภาพ แผ่นฟิล์มสามารถละลายน้ำได้หมดโดยไม่มีเศษหลงเหลือ สิ่งที่ละลายออกไปเป็นสารประกอบอินทรีย์ทั้งหมด จึงปลอดภัยต่อมนุษย์และระบบนิเวศหากนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง โดยเริ่มต้นจากภาคครัวเรือน ชุมชน และขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรม จะช่วยลดการใช้พลาสติกได้มหาศาล  

ฟิล์มห่ออาหารกินได้  เทคโนโลยียกระดับการเกษตร

Source : โพสต์ทูเดย์

นิเวศอุตสาหกรรมอ้อย ไร้ของเหลือทิ้ง นวัตกรรมเพิ่มรายได้-ลดโลกร้อน

KTIS ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ สร้างระบบนิเวศตามธรรมชาติ หนุนรับรองคาร์บอนเครดิตไร่อ้อย บวกเพิ่มราคารับซื้อแก้ปัญหาเผาใบก่อนเก็บเกี่ยว พร้อมวิจัย 5 สายพันธุ์อ้อยทางเลือกป้องโรคระบาด เป้านำไปสู่ความยั่งยืน “อ้อย” เป็นทั้งพืชเศรษฐกิจจากภาคการเกษตร…

SWISS AIR ประกาศเป็นสายการบินแรกของโลก ที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานแสงอาทิตย์

สายการบินนานาชาติแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (SWISS) และบริษัทแม่อย่าง Lufthansa Group เป็นหนึ่งในหลายองค์กรที่คำนึงถึงความสำคัญของการลดการปล่อยคาร์บอน จึงปฏิวัติวงการการบินด้วยการนำเชื้อเพลิงที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กับเครื่องบินเป็นครั้งแรก ปัญหาพลังงานขาดแคลน และการตะหนักถึงความขาดแคลนของทรัพยากรน้ำมัน ดูจะเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะมันคือปัญหาที่กำลังจะคืบคลานมาเล่นงานคนทั่วโลกในอนาคตอันใกล้…

สศช.แนะเอกชน เลิกปลูกต้นไม้เพื่อ CSR แต่หันไปลงทุนในตลาดคาร์บอนแทน

ตลาดคาร์บอนเครดิตกำลังเติบโต การปลูกต้นไม้ต้องไม่เป็น CSR หรือกิจกรรมเพื่อสังคมอีกต่อไป มันสามารถเป็นการลงทุนได้ ขึ้นอยู่กับมุมมอง ชมวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมของ สศช. วันนี้ 20…

Leave a Reply