News & Update

แปลงขยะอินทรีย์รับเทรนด์ ESG

การลดปริมาณและแยกประเภทขยะอินทรีย์ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของชุมชนและองค์กรต่อไป อันจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและนำไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดมลพิษของประเทศ ซึ่ง ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS เห็นว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะพลาสติกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกชีวภาพไทย เพื่อตอบรับเทรนด์รักษ์โลก

ซึ่ง พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ตลาดพลาสติกชีวภาพโลกยังเติบโตได้อีกมาก โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

หรือ Single-use Plastics, ความตื่นตัวของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการเร่งปรับตัวของภาคธุรกิจตอบรับกับกระแสการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ Environment, Social และ Governance (ESG) และลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในอนาคต

ขณะที่ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพทำให้สามารถนำขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรที่มีมูลค่าน้อย มา Upcycle เป็นพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid หรือ PLA และ Polyhydroxyalkanoate หรือ PHA ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติกทั่วไปที่ผลิตจากปิโตรเคมี

อย่างไรก็ตาม หากจะผลักดันอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ PLA และ PHA ของไทยให้สามารถผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกได้มากขึ้น การนำขยะอาหารและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นวัตถุดิบ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการขยายศักยภาพการผลิต เพราะนอกจากสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ในภาคเกษตรได้มากถึง 3-12 เท่าแล้ว ยังเพิ่มโอกาสในการขยายศักยภาพการผลิตโดยไม่สร้างภาระให้กับภาคเกษตรเพิ่มขึ้น คาดมูลค่าตลาด PLA และ PHA ของไทยมีโอกาสเติบโตสูงเฉลี่ยปีละ 40% หรือแตะระดับ 1.9 หมื่นล้านบาทในปี 2026

นอกจากนี้ การนำขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษที่เกิดจากการฝังกลบขยะอินทรีย์และการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งช่วยสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ของประเทศ และเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy สอดรับกับเทรนด์ ESG

ด้านนักวิเคราะห์อย่าง ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีขยะอินทรีย์จำพวกขยะอาหารจำนวนกว่า 12 ล้านตันต่อปี และมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากถึง 160 ล้านตันต่อปี นับเป็นแหล่งคาร์บอนที่น่าสนใจ หากจะนำมาแปรรูปเป็นสารสำคัญสำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA และ PHA อีกทั้งเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับพืชอาหารต่างๆ ที่นิยมใช้กัน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย

นอกจากจะช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบ ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาพืชอาหารจำนวนมากเป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาปริมาณผลผลิตของพืชอาหารเหล่านั้นค่อนข้างผันแปร มีความไม่แน่นอนสูงเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนในแต่ละปี และที่สำคัญช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะอินทรีย์และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น การใช้ขยะอินทรีย์จำพวกเศษผักและผลไม้มาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ PLA อาจเพิ่มมูลค่าได้ราว 3-12 เท่าเทียบกับการขายเป็นอาหารสัตว์

แม้ว่าประเทศไทยจะมีความพร้อมด้านวัตถุดิบทางเลือก แต่ผู้ประกอบการในธุรกิจพลาสติกชีวภาพไทยจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการเติบโตธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือ มุ่งเน้นทำการวิจัยและพัฒนา กับการหาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตให้แข่งขันกับพลาสติกทั่วไปได้ดียิ่งขึ้น

รวมทั้งค้นหานวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ที่สำคัญสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เร็วและใช้ได้จริง ตลอดจนสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในห่วงโซ่การผลิตทั้งด้านการจัดหาวัตถุดิบและตลาดที่มีศักยภาพรองรับ รวมไปถึงการทดสอบและการขอรับรองมาตรฐานสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค.

บุญช่วย ค้ายาดี
Source : ไทยโพสต์
Photo : https://www.ccacoalition.org/

แบงก์ลุยสู่ ESG อะไรบ้าง ? ปล่อย “สินเชื่อสีเขียว” ให้ภาคธุรกิจหนุนรักษ์โลก

พามาดู ธุรกิจแบงก์ที่เดินหน้าลุยสู่ ESG ว่าทำอะไรกันบ้าง ? พร้อมเดินเครื่องปล่อยสินเชื่อสีเขียว ให้ภาคธุรกิจหนุนรักษ์โลก แบงก์ไหนมีพันธกิจอะไรบ้าง ? นาทีนี้ใครจะทำธุรกิจต้องมีแผนธุรกิจสีเขียวไปคุย…

‘ดิน’ ใน ‘ออสเตรเลีย’ ปล่อย ‘ก๊าซคาร์บอน’ ภัยคุกคามใหญ่ ตัวการทำ ‘โลกร้อน’

การศึกษาใหม่พบว่า ความร้อนและความแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้นเนื่องจาก “วิกฤตสภาพภูมิอากาศ” จะทำให้ดินของ “ออสเตรเลีย” กลายเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ ที่จะทำให้ “ภาวะโลกร้อน” แย่ลงกว่าเดิม แผ่นดินเป็นหนึ่งใน…

‘นิวยอร์ก’ เก็บ ‘ภาษีรถติด’ รับปีใหม่ เข้าเมืองเสีย 300 บาท หวังแก้ปัญหารถติด

ขณะที่เมืองไทยกำลังถกเถียงกันเรื่อง “ภาษีรถติด” นิวยอร์กก็เริ่มเก็บ “ค่าธรรมเนียมรถติด” (Congestion Pricing) ไปเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มเก็บตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม…

Leave a Reply